Unix: basic command
find เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับค้นหาแฟ้มข้อมูล โครงสร้างคำสั่ง find [path].. expression ลักษณะของ expression เช่น -name [pattern] เพื่อใช้หาชื่อ file ตาม pattern ที่ระบุ ตัวอย่าง find -name “*.doc”
ls เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับ dir) มากจากคำว่า list โครงสร้างคำสั่ง ls [option]... [file]... โดย option ที่มักใช้กันใน ls คือ -l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย -a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด -F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้ ตัวอย่าง ls -l ls -F ls /usr/bin
rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory โครงสร้างคำสั่ง rmdir แก[file]... ตัวอย่าง rmdir /home
chmod : change permissions เป็นคำสั้งที่ใช้เปลี่ยนสิทธิของไฟล์ 0 หมายถึง ทำอะไรไม่ได้กับแฟ้มนั้นเลย 1 หมายถึง ประมวลผลอย่างเดียว 2 หมายถึง เขียนได้อย่างเดียว 3 หมายถึง เขียนและประมวลผลได้ 4 หมายถึง อ่านได้อย่างเดียว 5 หมายถึง อ่านและประมวลผลได้ 6 หมายถึง อ่านและเขียน แต่ประมวลผลไม่ได้ 7 หมายถึง ทำได้ทุกอย่าง ทั้งอ่าน เขียน และประมวลผล เช่น # chmod 751 test (Absolute Permission ) 751 คือ ค่าของสิทธิของไฟล์
1 2 4 1 2 4 1 2 4
mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory โครงสร้างคำสั่ง mkdir [file]... ตัวอย่าง mkdir /home
cd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยน directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับ cd) มาจากคำว่า change directory โครงสร้างคำสั่ง cd directory โดย directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง cd /usr cd ~ (เป็นการเข้าสู่ home directory) cd - (เป็นการยกเลิกคำสั่ง cd ครั้งก่อน) cd .. (เป็นการออกจาก directory 1 ชั้น ข้อควรระวัง : คำสั่ง cd บน UNIX จะต้องมีเว้นวรรคเสมอ
pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory โครงสร้างคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd
rm เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับลบแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับ del) มาจากคำว่า remove โครงสร้างคำสั่ง rm [option]... [file]... โดย option ที่มักใช้กันใน rm คือ -r ทำการลบข้อมูลใน directory ย่อยทั่งหมด -i โปรแกรมจะถามยืนยันก่อนทำการลบ ตัวอย่าง rm –r test/ rm test.doc
mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ move) มาจากคำว่า move โครงสร้างคำสั่ง mv source target ตัวอย่าง mv *.tar /backup mv test.txt old.txt mv bin oldbin
cp เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (ในทำนองเดียวกับ copy) มาจากคำว่า copy โครงสร้างคำสั่ง cp source target ตัวอย่าง cp test.txt test1.bak
cat เป็นคำสั่งที่ใช้ดูข้อมูลของไฟล์ คล้ายกับ type ใน dos และยังใช้สร้างไฟล์ได้ด้วย ใน ตัวอย่าง # cat named.conf การสร้างไฟล์ # cat > ชื่อไฟล์ พิมพิ์ข้อความลงไป Ctrl+D เพื่อจบไฟล์
head จะแสดงส่วนหัวของแฟ้มข้อมูล ตามจำนวนบรรทัดที่ต้องการ โครงสร้างคำสั่ง head [option] file โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ -n เพื่อทำการระบุบรรทัดที่ต้องการ (หากไม่ระบุจะเป็น 10 บรรทัด) ตัวอย่าง head data.txt head -n 10 data.txt
tail จะแสดงส่วนท้ายของแฟ้มข้อมูล ตามจำนวนบรรทัดที่ต้องการ โครงสร้างคำสั่ง tail [option] file โดย option ที่มักใช้กันใน chown คือ -n เพื่อทำการระบุบรรทัดที่ต้องการ (หากไม่ระบุจะเป็น 10 บรรทัด) -c เพื่อระบุจำนวน byte ตัวอย่าง tail data.txt tail -n 10 data.txt
whoami ใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร โครงสร้างคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami
who ใช้เพื่อแสดงว่ามีผู้ใช้ใดบ้างที่กำลังทำงานอยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง/ตัวอย่าง who
finger ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดของผู้ใช้ โครงสร้างคำสั่ง กรณีไม่ระบุชื่อ finger จะแสดงรายละเอียดของ User ที่กำลัง logon อยู่บนเครื่องนั้นๆ ทั้งหมด ตัวอย่าง finger krerk