ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ รศ. จรัสวัฒน์ ไตรรัตน์
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ ภาษาพูดมักใช้คำพูดในลักษณะเอ้อ อ้า คำสร้อย คำอุทาน และนิยมใช้ question tag ท้ายประโยค แต่ภาษาเขียนมักใช้คำเชื่อม และนิยมใช้ประโยคบอกเล่า เช่น ภาษาพูด About the accident? Well, I couldn’t help it, could I? The child just ran right in front of me. ภาษาเขียน Apparently, the accident was unavoidable. The child dashed across the road without warning.
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ ภาษาพูดอาจไม่คำนึงถึงความสมบูรณ์ของประโยค ความถูกต้องของ tense การใช้เครื่องหมาย วรรคตอน หรือตัวอักษรเล็กหรือตัวอักษรใหญ่ เพราะในการสนทนากับคู่สนทนา สีหน้า กิริยาท่าทาง น้ำเสียงของผู้พูด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้เองทั้ง ๆ ที่ผู้พูดอาจกล่าวประโยคที่มีข้อความไม่สมบูรณ์ พูดไม่จบประโยค หรือเปลี่ยนคำพูดบางคำกลางประโยค
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ (ต่อ) หรือบางครั้งก็พูดซ้ำเพื่อย้ำหรือเน้นน้ำหนักของข้อความหรืออธิบายเพิ่มเติมโดยนำเรื่องอื่นมาพูดคั่นก่อนที่จะพูดเรื่องเดิมต่อไป แต่ภาษาเขียนมีความเคร่งครัดในเรื่องลีลาการเขียน ความสมบูรณ์ของประโยค ความถูกต้องของ tense และตัวสะกด การใช้เครื่องหมาย วรรคตอน หรือตัวอักษรเล็กหรือตัวอักษรใหญ่ เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้เขียนจะไม่มีโอกาสได้อธิบายเพิ่มเติมข้อความใดที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชัดเจนให้กับผู้อ่าน
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ ภาษาพูด You’ll never guess what happened to me last night. After I left you all, I was cutting through the park – you know, by the lake there, -- when this man comes up to me and asks me the time and well er then he pulls his knife and er says if I don’t give him the er money he’s gonna carve me up into little pieces. Well, I had to give it to him, didn’t I? ภาษาเขียน After I had left my friends, I had decided to take a short-cut through the park. As I was walking by the lake, I was approached by a stranger who pretended to ask me the time. He threatened me with physical violence if I refused to surrender my money. I had no alternative but to comply.
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ ในภาษาพูดนั้น ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อคืนก่อน ผู้พูดก็ใช้ present tense ในการเล่า สลับกับการใช้ past tense นอกจากนี้ยังมีคำอุทานเสริม Well หลายครั้ง รวมทั้งการใช้ you know ซึ่งเป็นวลีที่ติดปากในภาษาพูด ส่วน er เป็นลักษณะของภาษาพูดเหมือนคำภาษาไทย ‘เอ่อ’
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ 3. ภาษาพูดมักใช้ประโยคสั้น ๆ เป็นลักษณะโครงสร้างแบบ simple sentence ส่วนภาษาเขียนมักใช้ประโยคยาว เป็นลักษณะโครงสร้างแบบ compound sentence และ complex sentence มากกว่าทั้งนี้เพื่อความกระชับและความสละสลวยของข้อความ อย่างไรก็ดี บางครั้งประโยคที่มีโครงสร้างแบบ simple sentence ก็พบได้บ้างในการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการความสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และเข้าใจง่าย
ความแตกต่างด้านไวยากรณ์ ภาษาพูด A: Have you heard the latest? Ann is getting married. B: Hey, that’s great news! ภาษาเขียน Ann’s friends were delighted to hear of her impending marriage.