(Hypertext Transport Protocol) HTTP (Hypertext Transport Protocol) กฎการขนส่งไฮเปอร์เท็กซ์
ความเป็นมา ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ทำให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสารสนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการสื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง
ความหมาย กฎเกณฑ์การส่งไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext Transport Protocol : HTTP) เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตที่กำหนดขึ้นมาไว้ใช้สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ (www.) โดยการกำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน (Uniform Resoure Locators : URLs) และวิธีการใช้ ในการสืบค้นข้อมูลที่ใดก็ได้ในอินเตอร์เน็ท โดยไม่เพียงแต่เอกสารในเว็บเท่านั้น แต่รวมถึงแฟ้ม ที่เข้าถึงได้ในกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol : FTP), กลุ่มอภิปรายในยูสเนต, และรายการเลือกในโกเฟอร์ (Gopher) ด้วย นอกจากนี้ กฎเกณฑ์การส่งไฮเปอร์เท็กซ์ยังให้ผู้เขียนในเว็บสามารถฝังจุดเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ในเอกสารในเว็บได้อีกด้วย เมื่อคลิกแล้ว จุดเชื่อมโยงจะเริ่มกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลซึ่งเข้าถึงและค้นคืนเอกสารให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำสิ่งใดให้ยุ่งยากเลย (หรือกล่าวได้ว่าโดยไม่ต้องทราบว่าเอกสารนั้นมาจากที่ใดหรือเข้าถึงได้ อย่างไร) กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ กฎเกณฑ์การส่งไฮเปอร์เท็กซ์ได้วางรากฐานสำหรับการเข้าถึง อินเทอร์เน็ตอย่างโปร่งใสเข้าใจได้ง่ายมากนั่นเอง
Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นโปรโตคอลเพื่อใช้ในการติดต่อกับ Web โดยมีลักษณะการทำงานคือ โปรแกรม Web Browser จะส่งความต้องการ (Request) ในการเข้าถึง Web ไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง
http://www.sut.ac.th/SUTWEB/index.html Object ที่ต้องการ โปรโตคอลที่ใช้ (Protocol) ติดต่อกับแหล่งที่ต้องการ (Internet Resource) ติดต่อกับ Web Server ที่ต้องการ ติดต่อกับ Directory ที่ต้องการ Object ที่ต้องการ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เป็นเพราะกฎเกณฑ์การส่งไฮเปอร์เท็กซ์เป็นแบบการส่งทางเดียว ซึ่งบางครั้งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เพียงพอ ดังนั้น การที่จะทำให้เว็บที่ทำหน้าที่ให้บริการนั้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ซึ่งมีหลากหลายไม่เหมือนกันได้นั้น เราอาจจะนำเทคโนโลยีอื่นๆ มาปรับใช้กับกฎเกณฑ์การส่งไฮเปอร์เท็กซ์ เช่น การนำเครื่องมือเสริม หรือการฝังภาษาย่อย เช่น Java script ลงในเอกสาร เพราะสิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ กฎเกณฑ์การส่งไฮเปอร์เท็กซ์ให้สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้มากขึ้นกว่าเดิม
นายกิจเกษม แก้วม่วงพะเนา B4970118 สมาชิกกลุ่ม นายกิจเกษม แก้วม่วงพะเนา B4970118 นายทศพล อ่วมจันทร์ B4973522 นายเรวัตร วรรณจงคำ B497386 นายพงษ์พันธุ์ สมผล B4973720