(1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทนำ - วัตถุประสงค์ พื้นที่ศึกษา การดำเนินงาน การวางแผนบริหารจัดการน้ำจังหวัดนครปฐม การวางแผนบริหารจัดการน้ำจังหวัดสมุทรสงคราม ประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ เครื่องมือและข้อมูลสำหรับการวางแผนบริหารจัดการน้ำ (2) เนื้อหาการนำเสนอ
(3)
ข้อมูลที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก เป็นข้อมูลที่มาจากฐานข้อมูลปริภูมิของ thaiwaterplan.org ที่จัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะที่สอง เป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม (environmental scanning) และสถานภาพของทรัพยากรน้ำ ระยะที่สาม เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจากชุมชน และ/หรือ เจ้าหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการน้ำ
จัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในระยะแรกของการดำเนินงานวิจัย เป็นข้อมูลทุติยภูมิซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานราชการ โดยส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่มีขอบเขตทั้งประเทศและนำมาจัดทำ แยกเป็นรายจังหวัด ข้อมูลดิบที่ได้โดยส่วนใหญ่มีโครงสร้างชัดเจนและอยู่ในรูปของ สื่อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประกอบด้วยชั้นข้อมูล (layers) มี 14 กลุ่ม (5) ข้อมูลจากฐานข้อมูลปริภูมิของ thaiwaterplan.org
(6)
เป็นข้อมูลที่จัดหาเพิ่มเติมเพื่อใช้ทำความเข้าใจบริบทของพื้นที่และ สถานการณ์ด้านน้ำของพื้นที่ศึกษา มีขอบเขตที่พิจารณาทั้งจังหวัด/ข้อมูลที่พิจารณาเฉพาะ อปท. ส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่รวบรวมและประมวลผล เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) และข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (qualitative data) ข้อมูลดิบ ส่วนหนึ่งมีโครงสร้างชัดเจนและอยู่ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่ ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่มีการจัดเก็บตามภารกิจของหน่วยงานอยู่แล้ว ส่วนข้อมูลที่ไม่มีการจัดเก็บมาก่อน การรวบรวมใหม่ให้สมบูรณ์ทำได้ ค่อนข้างยากโดยเฉพาะข้อมูลระดับจังหวัด เนื่องจาก ข้อจำกัดทั้งด้าน เวลา งบประมาณ และบุคลากร (7) ข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมของพื้นที่
เป็นข้อมูลปฐมภูมิที่จัดทำโดยชุมชน/เจ้าหน้าที่ อปท. มีขอบเขตพิจารณาเฉพาะขอบเขตของ อปท. ข้อมูลดิบของแต่ละพื้นที่ มีปริมาณไม่มาก แต่มีความหลากหลายตามบริบทของพื้นที่ (8) ข้อมูลที่สร้างจากคณะทำงานในพื้นที่
(9)
ระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อการจัดการน้ำ ระบบสารสนเทศจะทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ข้อมูล (data) กระบวนการ (procedure) ระบบเครือข่าย (network) บุคลากร (peopleware) (10)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำ (Water Management Information System [WaterMIS]) ระบบที่พัฒนาขึ้นระบบฐานข้อมูลปริภูมิ หรือ ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ (GIS) ที่สามารถเรียกค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ฐานข้อมูลปริภูมิระดับประเทศซึ่งเป็นข้อมูลรายจังหวัดที่จัดทำและดูแล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแม่ข่าย [thaiwaterplan.org] ฐานข้อมูลปริภูมิระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ที่จัดทำและดูแลโดย เครือข่ายสถาบันในพื้นที่ศึกษา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน) ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ใน การเรียกค้นข้อมูลแผนที่ผ่านอินเตอร์เน็ต [waterMIS.com] (11)
(12) แนวคิดการออกแบบของ waterMIS.com
(13) ซอฟต์แวร์ของ waterMIS.com
Server-side Client-side Web Server Map Server maps.google.com/ maps.google.com/ ? Data server/Spatial data server (14) Web browser Internet Explorer (version > 6) Firefox Google Chrome GIS Software Quantum GIS (QGIS) ? MapWindows ? Commercial: ArcGIS, ArcView (old), MapInfo IT Tools
(15) หน้าแรกของเว็บไซต์ watermis.com
(16) การวิเคราะห์โดย Google Analytics
สถิติการเข้าเยี่ยมชมเว็บ (17)
(18) ชนิด web browser ของผู้เข้าชมเว็บ
(19) ความละเอียดจอภาพของผู้เข้าชมเว็บ
ข้อมูลในกระบวนการทำงานเกิดขึ้นเป็น 3 ระยะ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในระยะแรกช่วยให้เห็นภาพรวมของพื้นที่ศึกษา ระยะสองช่วยให้เข้าใจบริบทของพื้นที่และสถานการณ์ด้านน้ำ ระยะสามเป็นข้อมูลที่ช่วยหาคำตอบโจทย์ทางด้านน้ำของพื้นที่ ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีรูปแบบหลากหลายผสมผสานกัน ระบบสารสนเทศพัฒนาจากโครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เพียงอย่างเดียวมีความยืดหยุ่นไม่เพียงพอสำหรับจัดการข้อมูล การออกแบบในระยะต่อไปควรพิจารณารูปแบบการสร้าง สารสนเทศของระบบบนเว็บที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก อาทิ Google, Facebook (20) ข้อมูลและระบบสารสนเทศบนเว็บ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำเฉพาะภารกิจของ อปท. อาจออกแบบและจัดทำระบบฐานข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานได้ หากมีกรณีศึกษาที่ครอบคลุมโจทย์ด้านน้ำเพียงพอ การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนจัดการน้ำมีความ แตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในองค์กรโดยทั่วไป เนื่องจาก การกำหนดผู้ใช้งานและความต้องการของผู้ใช้ไม่สามารถทำ ได้อย่างชัดเจน จึงมีผลให้การตั้งโจทย์ด้านการวางแผนจัดการน้ำและ การกำหนดข้อมูลที่ต้องการใช้ไม่สามารถกำหนดรูปแบบที่แน่นอน ดังนั้น ระบบสารสนเทศบนเว็บต้องใช้งานได้ง่าย รองรับการนำเสนอ เนื้อหาได้หลายรูปแบบสำหรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย (21) ข้อมูลและระบบสารสนเทศบนเว็บ