บทที่ 13 การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-time production:- JIT)
JIT เป็นการผลิตสินค้าเฉพาะจำนวนที่จำเป็น ในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น แนวคิดของ JIT คือการกำจัดของเสีย (waste) ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ของเสีย หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุน แต่ไม่ทำให้เกิดมูลค่าใดๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้น ของเสียจึงเป็นสิ่งที่กิจการมีไว้เกินความจำเป็นขั้นต่ำในด้านต่างๆ เช่น สินค้าคงคลัง พื้นที่โรงงาน เวลา ค่าใช้จ่ายที่มีมากเกินไป
ตัวอย่างของระบบการผลิตแบบ JIT ระบบการผลิตแบบดึง (Pull Production System) จะไม่เริ่มกระบวนการผลิตจนกว่าจะมีความต้องการเกิดขึ้น เมื่อพนักงานในสถานีการผลิตลำดับต่อไป (B) เบิกชิ้นส่วนไปใช้แล้ว จะมีการส่งสัญญาณให้สถานีก่อนหน้า (A) ได้รับรู้ถึงการเบิกนั้น สถานีก่อนหน้า (A) จะทำการผลิตเพิ่มเติมเพื่อทดแทนชิ้นส่วนที่ถูกเบิกไป การผลิตที่เป็นระดับเดียวกัน (Uniform Plant Loading) เน้นที่ปริมาณการผลิตของสายประกอบการขั้นสุดท้าย โดยการผลิตในการละครั้งไม่ควรมีความแตกต่างกันมากนัก นั้นคือ ต้องใช้การพยากรณ์ที่มีความแม่นยำสูง การผลิตจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง (Small – Lot Sizes) ลดปริมาณการผลิตลงให้มากที่สุด เพื่อให้มีสินค้าคงคลังจำนวนน้อยทีสุด
ประโยชน์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี ลดจำนวนสินค้าคงคลัง ลดพื้นที่การใช้งาน เพราะไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังมากนัก ลดต้นทุน เช่นต้นทุนสินค้าคงคลัง ต้นทุนปรับตั้งเครื่องจักร ต้นทุนของเสียในการผลิต ปรับปรุงคุณภาพ ฯลฯ
ส่งอาทิตย์หน้าคะ ถ้าเป็นไปได้ขอความกรุณาพิมพ์ด้วยนะคะ ถ้าท่านต้องการเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรม (โดยที่ท่านไม่มีปัญหาทางการเงินเกิดขึ้น) ท่านจะต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ใช้ความรู้ที่ท่านได้รับจากการเรียนวิชาบริหารการผลิตฯ ทั้งหมดมาบรรยาย ตั้งแต่ก่อนเป็นผู้ประกอบการจนถึงผลิตสินค้าจริงสู่ตลาด ส่งอาทิตย์หน้าคะ ถ้าเป็นไปได้ขอความกรุณาพิมพ์ด้วยนะคะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงสอบ Final เสร็จขอความร่วมมือกรอกแบบประเมินผลการสอนวิชา บธ 407 กลุ่มเรียนวันเสาร์และอาทิตย์ www.qa.mju.ac.th ประเมินผลการสอน on line พิมพ์ User name และ Pastword ด้วยรหัสนักศึกษาของตนเอง คลิ๊กเลือก “ประเมินผล” ที่อยู่ท้ายชื่อรายวิชา/กลุ่ม/วันเวลาเรียน ให้ตรงกับรายวิชา/อาจารย์ที่ต้องการประเมิน (คำถามปลายปิด) คลิ๊กค่าคะแนนหน้าข้อคำถาม (คำถามปลายเปิด) พิมพ์ข้อความที่ต้องการ