การตัดเกรด โดย อาจารย์ ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น jketchatturat@hotmail.com
ตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดเกรด ข้อความถูกข้อความผิด นักศึกษาสอบได้คะแนนต่ำ แสดงว่า ข้อสอบมีคุณภาพดี นักศึกษาสอบได้คะแนนสูง แสดงว่าอาจารย์มีคุณภาพในการสอน นักศึกษาที่สอบได้ 0 คะแนน แสดงว่าไม่มีความรู้เลย นักศึกษาที่สอบได้คะแนนเต็ม แสดงว่ามีความรู้ทั้งหมดทุกเรื่อง การรวมคะแนนจากงานแต่ละส่วนย่อยแล้วเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์จะทำให้ตัดเกรดมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อาจารย์ควรแปลงคะแนนให้เป็นคะแนนมาตรฐานก่อนนำไปตัดเกรดทุกครั้ง นักศึกษาที่ได้ A ยกชั้น แสดงว่า อาจารย์สอนในวิชานั้นจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐาน การประเมินอิงกลุ่มในวิชาหนึ่ง นักศึกษาได้ A ในปีการศึกษา 2553 กับ นักศึกษาได้ A ในปีการศึกษา 2554 มีคุณภาพระดับเดียวกัน การประเมินอิงเกณฑ์ในวิชาหนึ่ง นักศึกษาได้ A ในปีการศึกษา 2553 กับ นักศึกษาได้ A ในปีการศึกษา 2554 มีคุณภาพระดับเดียวกัน การตัดเกรดควรอิงเกณฑ์ มากกว่า อิงกลุ่ม
ท่านคิดว่า 1 คะแนนจาก Task A เท่ากับ 1 คะแนนจาก Task B หรือไม่ ชวนคิดชวนคุย ท่านคิดว่า 1 คะแนนจาก Task A เท่ากับ 1 คะแนนจาก Task B หรือไม่
กรณีศึกษาที่ 1 ในรายวิชาหนึ่งของคณะพยาบาลศาสตร์อาจารย์ญาญ่าตัดเกรดโดยรวมคะแนนจากการสอบ multiple-choice questions, Objective Structured Clinical Examination (OSCE), และคะแนนรายงานผู้ป่วย หากมีนักศึกษาทำคะแนนสอบ multiple-choice questions และ OSCE ได้ดี แต่ไม่ส่งรายงานผู้ป่วยเลย เมื่อเอาคะแนนมารวมกันจะส่งผลต่อการตัดเกรดของนักศึกษาอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กรณีศึกษาที่ 2 ในรายวิชาหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์อาจารย์เคน เก็บคะแนนสองส่วน ได้แก่ ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ผลการทดสอบพบว่า คะแนนสอบภาคทฤษฎีของนักศึกษามีคะแนนต่างกันมาก (มีค่า standard deviation (SD) สูง) ในขณะที่คะแนนสอบภาคปฏิบัติใกล้เคียงกันมาก หากอาจารย์เคนกำหนดให้คะแนนภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีน้ำหนักเท่ากัน โดยทำคะแนนสอบทฤษฎีให้เต็ม ๕๐ คะแนน และทำคะแนนปฏิบัติให้เต็ม ๕๐ คะแนน แล้วรวมคะแนนเข้าด้วยกัน ผลการตัดเกรดจะเป็นเช่นใด ……………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………………..
เกรดที่มีคุณภาพเป็นผลมาจากปัจจัยใดบ้าง คุณภาพผู้เรียน (ความรับผิดชอบ เจตคติต่อการเรียน) ผลการวัด (เครื่องมือที่มีคุณภาพ Validity, Reliability) เกณฑ์การประเมิน (เป็นที่ยอมรับ และได้มาตรฐาน) ผู้ประเมิน (ยุติธรรม โปร่งใส รับผิดชอบ) กระบวนการทดสอบที่มีมาตรฐาน ฯลฯ