สถานีตำรวจภูธร แหลมฉบัง ปรับเปลี่ยนแนวคิดตำรวจ สู่การบริหารจัดการที่ดี เพื่อพัฒนาการบริการประชาชน
ประวัติความเป็นมา สภ.แหลมฉบัง ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เขต 2 และ สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ทำการรวบรวมข้อมูลจัดทำแผนเพื่อจัดตั้ง สถานีตำรวจภูธรตำบลแหลมฉบัง เสนอไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาดำเนินการ และกระทรวงมหาดไทย เห็นชอบตามที่เสนอจึงได้อนุมัติให้จัดตั้ง สถานีตำรวจภูธรตำบลแหลมฉบัง โดย กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ได้มีคำสั่งที่ 1/2534 ลงวันที่ 11 มกราคม 2534มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก ประจักษ์ จักกะพาก รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีราชา เป็นหัวหน้าชุด พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 2 นาย และ กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวน - พลตำรวจ จากทุกสถานีตำรวจในจังหวัดชลบุรี จำนวน 68 นาย มาปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้อาคารที่ทำการของการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นที่ทำการชั่วคราว จนกว่าจะสร้างที่ทำการ หลังใหม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์
ประวัติความเป็นมา สภ.แหลมฉบัง ต่อมาได้มีพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 228 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2536 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2536 ให้ยกฐานะ สถานีตำรวจภูธรตำบลแหลมฉบัง ให้มีอำนาจการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ในขณะนั้นอาคารที่ทำการยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ ยังคงขึ้นการปกครอง อยู่กับ สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีราชา ไปก่อน และเมื่อต้นปี พ.ศ.2537 อาคารที่ทำการหลังใหม่ ซึ่งเป็นอาคาร 2ชั้น พร้อมอาคารที่พักอาศัย จำนวน 6 อาคาร รวม 180 ห้อง ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์ราชการเมืองใหม่แหลมฉบัง สร้างเสร็จสมบูรณ์ จึงย้ายที่ทำการจากอาคารท่าเรือแหลมฉบัง มายังที่ทำการปัจจุบัน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 เป็นต้นมา
งานที่ได้รับมอบหมาย บันทึกคดีอาญา ต่าง ๆ ลงในระบบฐานข้อมูล Royal Thai Police ของปี 2549 - 2554 เช่น คดียาเสพติด , ชิงทรัพย์ , พยายามฆ่า , การพนัน , ฉ้อโกง ฯลฯ ตรวจสอบทะเบียนราษฏร ของผู้ต้องหา , ผู้เสียหาย ตรวจสอบทะเบียนรถยนต์ , รถจักรยานยนต์ ในคดีความต่าง ๆ ถ่ายเอกสาร เอกสารต่าง ๆ เช่น เอกสายพิมพ์ลายนิ้วมือ เอกสารส่งตัวผู้ต้องหา , เอกสารสั่งฟ้องผู้ต้องหา สำเนาทะเบียนราษฏร , บัตรประชาชน
งานที่ได้รับมอบหมาย เขียนบันทึกใบสั่งค่าปรับ และ ใบเสร็จค่าปรับ ส่งเอกสารไปยังฝ่ายต่าง ๆ ลงโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Driver เครื่อง Print , Adobe Cs เกมส์ ต่าง ๆ , MicroSoft Office 2007 จัดเรียงเอกสารการตรวจตู้แดงต่าง ๆ ของสายตรวจ ติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้ตามปกติ
ประโยชน์ของการฝึกงาน ได้รับทราบถึงกระบวนการความยุติธรรมทางกฎหมาย ได้รับทราบถึงตั้งตอนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน ได้รับทราบถึงระบบฐานข้อมูลของตำรวจ ( Royal Thai Police ) ได้รับทราบถึงหน้าที่ ของหน่วยงานต่าง ๆ
อุปสรรคของการฝึกงาน มีปัญหาเรื่องลายมือของตำรวจ ซึ่งจะอ่านยากมาก มีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารของตำรวจ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่ตำรวจเจอ เอกสารที่มีความเก่ามาก จนแทบจะอ่านตัวอักษรไม่ได้