น้ำหนักแสงเงาหุ่นนิ่ง
ศ 41201 การเขียนภาพวาดเส้น โดยนายสมพงษ์ ถาวรโชติวงศ์ ศ 41201 การเขียนภาพวาดเส้น โดยนายสมพงษ์ ถาวรโชติวงศ์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง - ให้ผู้เรียนประยุกต์และนำวิธีการลงน้ำหนักมาใช้เปรียบเทียบแสงเงาของวัตถุมาสร้างสรรค์ ถ่ายทอดเป็นผลงานได้
เทคนิคการลงแสงเงา ภาพที่ร่างเสร็จและตรวจแก้ไขความผิดพลาดจนถูกต้องดีแล้ว เป็นภาพที่เหมาะสมสำหรับการแรเงาเป็นอย่างยิ่ง การกำหนดแสงและเงาบนวัตถุอาจลำดับเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1. กำหนดขอบเขตทั้งหมดของแสงและเงาด้วยน้ำหนักเส้นร่างที่เบา
2. ลงน้ำหนักเบา ๆ ที่กำหนดขอบเขตไว้แล้ว โดยเว้นส่วนที่เป็นแสงไว้
3. เพิ่มเติมส่วนของน้ำหนักกลางทั้งหมด 4. เริ่มตกแต่งรายละเอียด
5. เพิ่มน้ำหนักเข้ม และน้ำหนักในส่วนของเงาวัตถุ 6 5. เพิ่มน้ำหนักเข้ม และน้ำหนักในส่วนของเงาวัตถุ 6. เน้นน้ำหนักในส่วนที่เข้มจัด และเน้นเส้นบางจุดที่อยู่ด้านหลังแสง 7. เปรียบเทียบในส่วนของแสงสว่างจัดกับแสงสว่าง น้ำหนักที่แรเงาลงไปควร แตกต่างกัน
8. การลงเงาตกกระทบ โดยการสังเกตทิศทางของแสงว่าเข้ามาทางด้านใด เงาที่เกิดขึ้นจะอยู่ด้านหลังแสงเสมอ เงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีน้ำหนักเข้ม ส่วนเงาที่ไกลออกไปจะเริ่มจางลง 9. ตรวจทาน และเก็บรายละเอียดทั้งหมดอีกครั้ง พร้อมตกแต่งและเน้นเพิ่มเติมใน ส่วนที่น้ำหนักยังไม่เพียงพอ
วัตถุผิวมัน วาดโดยใช้น้ำหนักอ่อนแก่ การเว้นขาวในส่วนที่ถูกแสงจัด หรือเป็นแสงสะท้อน การตัดกันอย่างชัดเจนของน้ำหนักเข้มและอ่อน
วัตถุผิวหยาบ ใช้วิธีการกดดินสอ ขูดขีด จุด เส้นประสาน วัตถุผิวหยาบ ใช้วิธีการกดดินสอ ขูดขีด จุด เส้นประสาน
วัตถุที่มีลวดลาย อาจต้องวาดลวดลายของวัตถุนั้นต่ำลงไป การกำหนดสีของวัตถุ จึงควรอ่านสีของวัตถุให้ออกว่าสีใดมีน้ำหนักเช่นไร เมื่อนำมาแปลงเป็นภาพขาวดำ สีแดง ม่วง น้ำเงิน เขียวน้ำทะแล จัดเป็นสีที่มีน้ำหนักเข้ม สีเหลือง ส้ม ชมพู ครีม เขียวอ่อน จัดเป็นสีที่มีน้ำหนักอ่อน