ประชาคมอาเซียน
ASEAN community 1. เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ 2. เพิ่มความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาสู่อาเซียน - ปัญหาการก่อการร้าย - ภาวะโลกร้อน
ความเป็นมา ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เมื่อ พ.ศ.2546 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน เมื่อ พ.ศ.2550 ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนต่างเห็นพ้องกันเร่งรัดการเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 5 ปี คือ ในปี พ.ศ.2558
เสาหลักประชาคมอาเซียน การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political Security Community : APSC การมีเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน การส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกัน มีพลวัตรและมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community : AEC การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ของอาเซียน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว การนำร่องรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสินค้าและบริการ 12 สาขา ไทย การท่องเที่ยวและการบิน ฟิลิปปินส์ อิเล็กทรอนิกส์ มาเลเซีย ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมียนมาร์ ผลิตภัณฑ์เกษตรและประมง เวียดนาม โลจิสติกส์ สิงคโปร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสุขภาพ อินโดนีเซีย ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ลดช่องว่างทางการพัฒนา
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน
บทบาทของไทยในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
การสร้างประชาคมอาเซียน 1) การลงนามในปฏิญญาชะอำ – หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552 – 2558) 2) การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันในภูมิภาค การประชุมครั้งที่ 15 เสนอวิสัยทัศน์ให้เป็นประชาคมที่มีการติดต่อเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด 3) การลดช่องว่างทางการพัฒนาของอาเซียน โดยจัดทำแผนงานริเริ่มเพื่อรวมตัวอย่างอาเซียนฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 – 2558 เพื่อลดช่องว่างทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน
การดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียน 1) การจัดตั้งคณะมนตรีประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก 2) การจัดตั้งคณะมนตรีประสานงานอาเซียน (รมต.ต่างประเทศ) 3) การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา 4) การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
5) จัดทำข้อตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน (ทำให้ อาเซียนมีนิติฐานะถูกต้องตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์) 6) การจัดทำร่างสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน 7) ปรับโครงสร้างสำนักงานเลขาธิการอาเซียน 8) การมีเพลงประจำชาติอาเซียน (เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน) เพลงที่ชนะเลิศ คือ The ASEAN Way
การฟื้นฟูให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง 1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) การจัดตั้งสมาคมอาเซียน - ประเทศไทย 3) การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์อาเซียน (ASEAN TV)
การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงสำหรับมนุษย์ 1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของโลก (เข้าร่วมการประชุม สุดยอด G – 20) 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน (ในกรอบอาเซียน + 3) 4) ปัญหาโรคระบาดต่าง ๆ (ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน + 3 ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่)
คำถาม ประเทศไทยมีบทบาทอย่างไรใน การจัดตั้งประชาคมอาเซียน