การศึกษาผลการเรียนรู้ด้านการพิมพ์ไทยด้วย คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 1 แผนกบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี The education of Thai-Typing result by Computer for the fiest year of Vocational Cerlificate Degree, Business Deparlment Chonburi Technological Collage By using teaching model “STAD” to compare with normal model ผู้วิจัย : นางสาวเฉลิมขวัญ นามประดิษฐ์
ปัญหาการ วิจัย จากผลการจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ปีการศึกษา 2554 โดยมีข้อมูล การประเมินผลจากครูผู้สอนใน ภาคเรียนที่ 2/2553 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในด้านการ พิมพ์ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่ควรดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำรูปแบบการเรียนการสอน วิธีการ ร่วมมือแบบ STAD เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน จากการศึกษาวิธีการสอนรูปแบบการเรียนการสอนนี้พบว่า เป็นการเน้น การวางแผน การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในการ หาความรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยกิจกรรมการ เรียนและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายของ ผู้สอน คาดว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพตามเป้า หมายของหลักสูตรต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้านการพิมพ์ไทยด้วย คอมพิวเตอร์ที่เรียนโดยวิธีการร่วมมือแบบ Stad. 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยรูปแบบการสอน Stad. กับ กลุ่มที่เรียนแบบปกติ
ตาราง แสดงผล N กลุ่มทดลอง N กลุ่มควบคุม 30XX230XX2X = 1005 = = 914 = ตาราง 1 แสดงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
สรุป ผลการวิจัย 1. จากการใช้รูปแบบการสอน STAD ทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วย วิธีการสอนแบบปกติ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่ม 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการ สอนรูปแบบ STAD กับนักเรียน ที่เรียนโดยการสอนแบบปกติ แตกต่างกัน
อภิปรายผล จากผลการวิจัยเรื่องการศึกษาผลการเรียนรู้ด้านการ พิมพ์ไทยด้วยคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แผนก บริหารธุรกิจ โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี โดยใช้รูปแบบการสอน STAD เรื่องทักษะการพิมพ์ พบว่า นักเรียนที่เรียนในวิชาพิมพ์ไทยด้วย คอมพิวเตอร์ โดยรูปแบบ STAD กับการสอนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่าง กัน และมีค่าคะแนนเฉลี่ย จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน STAD สูง กว่านักเรียนที่เรียนโดยการ สอนแบบปกติ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน รูปแบบการเรียนการสอน STAD ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้ใช้ทักษะการคิด ในการ แก้ปัญหาตามขั้นตอนต่างๆ ที่ เน้นถึงการคิดอย่างเสรีโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็น เหตุเป็นผล
ข้อเสนอแนะ 1. ในระหว่างดำเนินการสอน ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ ใช้ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และ นำไปใช้ในการทำผลงานชิ้นงานหรือโครงงาน และ สามารถสร้างองค์ความรู้ที่ ถ่ายโยงไปยังเนื้อหาใหม่โดยผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือ ปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้อย่าง เป็นระบบ 2. การเตรียมตัวของผู้สอนนับว่ามีความสำคัญในการสอน รูปแบบ STAD ได้แก่การหา กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ การบอกที่มาของแหล่งสืบค้น ข้อมูล เพื่อสะดวก และ ประหยัดเวลาในการสืบค้นข้อมูล 3. เวลาที่ใช้ในการสอนรูปแบบ STAD สามารถปรับให้ เหมาะสมกับเวลา สภาพทั่วไป และเนื้อหาที่ใช้สอน
จบการนำเสนอ ผลงานวิจัย ในชั้นเรียน ขอบคุณค่ะ