การนำเสนอสารด้วยวาจา นางสาว ภัสราภรณ์ ผอมทอง รหัส ๕๓๑๕๐๖๖๐๐๑๐๕๕ กลุ่มเรียน ๕๓๐๗ .๑๕๑
ความหมายของการนำเสนอสารด้วยวาจา การนำเสนอสารด้วยวาจา คือ การพูดให้คนฟังอย่างรู้เรื่อง เข้าใจ ซึ้งผู้นำเสนอจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างมาก ทั้งเตรียมตนเอง เตรียมเนื้อหา เตรียมวิธีนำเสนอ ฯลฯ
ความหมายของการพูด การพูด คือ การแสดงพฤติกรรมในการสื่อสารความหมายของมนุษย์โดยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เสียง ภาษา อากัปกิริยาท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง
องค์ประกอบของการพูด ผู้พูด ผู้ฟัง คำพูดหรือเนื้อเรื่อง สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสาร ผลที่เกิดจากการพูด
การแบ่งการพูดตามลักษณะต่างๆ การพูดตามวิธีการ การพูดตามวัตถุประสงค์ของการพูด การพูดตามจำนวนผู้พูด การพูดตามวิธีการจัด
ประเภทของการพูดเพื่อนำเสนอสาร การบรรยาย คือ การพูดอธิบายเรื่องราว หรือเหตุการณ์ ความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมถึงการชี้แจงเหตุผล ตลอดจนเสนอข้อมูล ความคิดเห็นหรือแถลงนโยบายต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นการพูดที่มีผู้พูดเพียงคนเดียว อาจมีผู้ช่วยเหลือระหว่างการบรรยาย เช่น ช่วยหยิบเครื่องมือหรือสื่อต่างๆ
การอภิปราย คือ การที่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาร่วมกันพิจารณา ปรึกษา ประชุมหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อหาแนวทาง ข้อเสนอแนะ และวิธีแก้ปัญหา
ขั้นตอนในการนำเสนอด้วยวาจา 1.การปฏิสันถารผู้ฟัง คือการทักทายผู้ฟัง 2.การเกริ่นนำ เป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ ติดตามฟัง อาจใช้ คำถาม บทกวี คำคม สถิติ หรือข่าวจากหนังสือพิมพ์ แล้วตากรณี 3.การนำเสนอเนื้อหา ควรจัดลำดับให้มรความต่อเนื่อง ใช้ถ้อยคำกระชับ การทิ้งท้าย ในการพูดจะช่วยย้ำให้ผู้ฟังได้แนวคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและประทับใจ 4.ช่วงการซักถาม ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเสมอ
ข้อแนะนำในกานำเสนอด้วยวาจา 1.การตรงต่อเวลา โดยมารยาทแล้ว ผู้พูดควรไปถึงสถานที่พูด ก่อนเวลา เพื่อเตรียมความพร้อมและควรรักษาเวลาในการพูดให้ตรงตามกำหนด 2.การก้าวขึ้นเวที เมื่อได้รับเชิญให้ขึ้นเวทีพูด ควรเดินอย่างมั่นใจและให้เกียรติผู้ฟัง ถ้ารู้สึกประหม่าให้หายใจลึกๆหรือจัดวางเอกสารต่างๆชั่วครู่ พร้อมแล้วจึงเริ่มต้นพูด
3.การแสดงท่าทางประกอบ ท่าทางของมนุษย์เป็น “อวัจนภาษา”ที่สื่อสารได้ ควรศึกษาภาษากายให้เข้าใจเพื่อนำไปใช้ประกอบการพูด 4.ภาษาและน้ำเสียง การนำเสนอสารด้วยวาจา ควรใช้ภาษาที่สุภาพอาจแทรกข้อคิด คำคม หรืออารมณ์ขันเพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังสนใจ รวมทั้งการใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ไม่ควรใช้เสียงลักษณะเดียวกันตลอดการพูด
5.การใช้สายตา การใช้สายตาเป็น “อวัจนภาษา”ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพูด ขณะพูดจึงต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังสนใจ รวมทั้งการใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ไม่ควรใช้น้ำเสียงลักษณะเดียวกันตลอดการพูด 6.การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีข้อแนะนำในการพูดประการหนึ่ง คือ ให้สังเกตปฏิกิริยาตอบรับ จากผู้ฟังเสมอ