วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ งานวิจัย การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) ผู้วิจัย นาย พลเทพ จิอู๋ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากปีการศึกษา 2554 ผู้วิจัยได้ทำงานวิจัยการพัฒนา สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง วิธีการลับมีดกลึง วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ กับกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางาน เครื่องมือกล ที่ได้เรียนในกระบวนรายวิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น รหัสวิชา (2100-1007) ซึ่งเป็นวิชาชีพพื้นฐาน ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2546) จากการศึกษาและการสังเกตเบื้องต้นของผู้วิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ที่เรียนรู้ผ่านสื่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง วิธีการลับมีดกลึง ได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ การลับมีดกลึงได้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ และลับมีดกลึงได้ตามมุมและองศาที่ถูกต้องซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้มีดกลึง นำไปใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปีการศึกษา 2556 ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทำงานวิจัยเพื่อต่อยอด ในเรื่อง การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) เพื่อพัฒนาทักษะการกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะ ซึ่งเป็นการต่อยอดทักษะการปฏิบัติงานการกลึงขึ้นรูป ไขควงแบน ในรายวิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) โดยใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆที่มีประสิทธิภาพ เข้ามาช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการของการกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์งานวิจัย 1. เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและการปอกผิวโลหะวิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007)วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ
สมมุติฐานการวิจัย สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูเหนือ ตามค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) มีค่ามากว่า 0.50
ตัวแปรและนิยามตัวแปร ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม สื่อมัลติมีเดีย วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) 1.วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) 2. ผลสัมฤทธิ์โดยการกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชา เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางาน เครื่องมือกล ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 1 กลุ่มเรียน 411 จำนวน 28 คน ที่เรียนในรายวิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ 2. กลุ่มนักศึกษาสาขาวิชา เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางาน เครื่องมือกล ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 1 กลุ่มเรียน 411 จำนวน 28 คน
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะวิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น ประเภทวิดีทัศน์ ภาพ การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะวิดีทัศน์
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการปฏิบัติงานกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะ ภาพ แบบงานกลึงปอกจากโปรแกรมAutoCAD 2007
สรุปผลการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ 1) การเตรียมการ 2) การผลิตวิดีทัศน์ 1 ตอน 3) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์โดยการกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ จำนวน 1 แบบทดสอบ 2. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ จากการคำนวณดัชนีประสิทธิผลคะแนนจากตาราง พบว่า ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนรู้ผ่านสื่อมีค่าท่ากับ 385.5 ผลรวมของคะแนนหลังเรียนรู้ผ่านสื่อเท่ากับ 487.5 เมื่อนำคะแนนมาวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลแล้วพบว่ามีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.5845 โดยดัชนีประสิทธิผลที่ใช้ได้ ควรมีค่า 0.50 ขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า สื่อมัลติมีเดีย วิดีทัศน์การกลึงปาดหน้าและการกลึงปอกผิวโลหะ วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น (2100-1007) วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 58.45
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ