การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ Constructionism พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาโครงการ ภาควิชาอุตสาหกรรม โดย นางสาวบุญส่ง ศรีอนุตร์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาวิชาการ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ปัญหาการวิจัย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งพัฒนาคนไทยให้มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพในการพัฒนาสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ ในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge-based Economy) นั้น ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีแสวงหาความรู้ ของผู้เรียน ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 66 หมวด 9 ว่า “ผู้มีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีในการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต(รุ่ง แก้วแดง:2542)
ปัญหาการวิจัย (ต่อ) นอกจากนี้บทบาทของครูที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา Holland(1993) ได้สะท้อนความคิดไว้ว่าสิ่งที่ Seymour papert กระตุ้นให้คิดอยู่เสมอก็คือ การทำให้ครูเป็นนักวิจัยและเป็นผู้เรียนไปด้วยในตัว สามารถปรับหรือพิจารณาจัดทำหลักสูตร คู่มือเรียน แผนการสอน และจัดอบรมครูให้สอนไปตามแบบที่กำหนด จนนักเรียนไม่มีทางเลือกใด ๆ เหลืออยู่เลยนั้นไม่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี และไม่นำไปสู่ การปฏิรูปการศึกษาได้แต่อย่างใด การพัฒนาบุคลากรในทางการศึกษาให้เข้าใจในทฤษฎีConstructionisim
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบ Constructionism เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในรายวิชาโครงการ ภาควิชาอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน
ตารางวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน . ตารางวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสอบ คะแนน เฉลี่ย ก่อนเรียน 617 19.3 หลังเรียน 1,129 35.4 กลุ่ม ค่าเฉลี่ย S.D. t Sing.(p) ตัวอย่าง 35.38 5.278 47.830 .000
ตารางการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ข้อที่ รายละเอียดการประเมิน เฉลี่ย ระดับความ พึงพอใจ ด้าน กระบวนการการเรียนการสอน 1 ผู้สอนมีการแนะนำข้อมูลรายวิชาโครงการอย่างถูกต้องสมบูรณ์ 4.28 มาก 2 มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 3 มีการบอกเกณฑ์การประเมินผล 4 มีการกำหนดระยะเวลาตามที่วางแผนไว้ 4.31 5 อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 4.44 6 มีโอกาสในการประเมินเพื่อร่วมงาน ด้าน กิจกรรม 7 มีการนำผลงานเข้าร่วมกิจกรรมภายในโรงเรียนและภายนอก 4.25 8 กิจกรรมที่เสริมในระหว่างเรียนช่วยให้มองเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนความสามัคคี การมีสมาธิในการทำงาน 4.47 9 ให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เฉลี่ยรวม 4.33
สรุปผลการวิจัย การใช้ทฤษฎี Constructionism พัฒนากระบวนการสอนรายวิชาโครงการ นั้นส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งด้าน พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังพบว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ p<α (.05)
ผลกระทบหรือประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 1. การนำทฤษฎี Constructionism มาใช้เป็นแนวทางการเรียนรู้ในรายวิชาโครงการในชั้นปีสุดท้าย ควรชี้แจงแนวทางการเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เรียนยังไม่มีพื้นฐานในเรื่องนี้ 2. ควรมีการเตรียมความพร้อมด้านกิจกรรม และ Infrastructure อื่น ๆให้พร้อมซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
กิจกรรม:หนังสือทำมือ
กิจกรรม:ลูกปัดร้อยใจ
กิจกรรม:ต่อ 7 มหัศจรรย์
กิจกรรม:การเตรียมนำเสนอผลงาน
กิจกรรม:วันนักประดิษฐ์