การใช้กิจกรรมกลุ่มเกมแข่งขันเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านไวยากรณ์และความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 Use of Team Game Tournament to Develop English Grammar Knowledge and Writing Ability of The Second Year Diploma Student นายสุชาติ กองกูล วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา นักเรียนที่เข้ามาเรียนในวิชานี้ส่วนใหญ่จะมีความแตกต่างกัน ผลการเรียนของนักเรียนมีความแตกต่างกันมาก นักเรียนไม่รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ เกิดทักษะเพียงด้านเดียว คือสามารถปฏิบัติงานตามครูกำหนดให้เท่านั้น ในการทำงานกลุ่ม นักเรียนมักประสบปัญหา คือคนที่มีผลการเรียนดีมักจับคู่กันเสมอ ส่วนคนที่มีผลการเรียนต่ำมักจะหากลุ่มได้ยาก และเกิดความไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเป็นวิธีการเรียนที่มีการจัดกลุ่มการทำงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มแรงจูงใจทางการเรียน การแข่งขันเป็นทีม ( Team –Game-Tournaments: TGT) เป็นวิธีการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนับสนุนซึ่งกันและกันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมีลักษณะเป็นทีมจุดเน้นที่สำคัญของทีมคือทำให้ดีที่สุดให้กำลังใจเพื่อร่วมทีมให้ประสบความสำเร็จทางวิชาการ
วัตถุประสงค์ - เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มเกมแข่งขัน - เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมกลุ่มเกมแข่งขัน
แนวคิด ทฤษฏี การแข่งขันเป็นทีม TGT 1. การสอน เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอด อาจเป็นการสอนตรงหรือจัดในรูปแบบของการอภิปราย หรือกลุ่มศึกษา 2. การจัดทีม เป็นขั้นตอนการจัดกลุ่ม หรือจัดทีมของนักเรียน โดยจัดให้คละกันทั้งเพศ และความสามารถและทีมจะต้องช่วยกันและกัน 3. การแข่งขัน การแข่งขันมักจัดในช่วงท้ายสัปดาห์หรือท้ายบทเรียน 4. การยอมรับความสำเร็จของทีม ให้นำคะแนนโบนัสของแต่ละคนในทีมมารวมกันเป็นคะแนนของทีม
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 ปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ เชียงใหม่ สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ทค. 5103) จำนวน 32 คน ตัวแปรต้น ได้แก่ วิธีการสอนโดยกิจกรรมกลุ่มเกมแข่งขัน ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถด้านไวยากรณ์และ ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ
ขั้นตอนการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล วัดความสามารถด้านไวยากรณ์และความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษก่อนการทดลอง 2. ดำเนินการทดลองตามแผนการสอน 3.วัดความสามารถด้านไวยากรณ์และความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษหลังการทดลอง
สรุปผลการวิจัย ความรู้ด้านไวยากรณ์ จำนวนนักศึกษา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ก่อนทำการเรียนการสอน 32 50 24.68 6.40 หลังการทำการเรียนการสอน 30.03 4.82
สรุปผลการวิจัย ความสามารถด้านการเขียน จำนวนนักศึกษา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน ก่อนทำการเรียนการสอน 32 20 12.78 1.80 หลังการทำการเรียนการสอน 16 1.31
อภิปรายผลการศึกษา กิจกรรมกลุ่มแข่งขัน ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านไวยากรณ์และความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษสูงขึ้น การช่วยเหลือกันในกลุ่ม ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและมีแรงจูงใจจากการแข่งขัน บรรยากาศในการเรียนรู้เป็นไปอย่างสนุกสนาน ไม่เครียด สมาชิกในกลุ่มจะมีการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม ร่วมกัน แก้ปัญหาตัดสินใจ นักเรียนที่เก่งจะช่วยเหลือเพื่อนร่วมกลุ่มที่อ่อนกว่า