การบริหารการจัดเก็บ ข้อมูล จปฐ. ปี 2558
เป้าหมาย จปฐ. ปี 2558
ทุกครัวเรือนในเขตชนบท ระยะเวลาในการจัดเก็บ พื้นที่เป้าหมาย ในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ทุกครัวเรือนในเขตชนบท (อบต. และเทศบาลตำบลที่ยกฐานะจาก อบต.) ระยะเวลาในการจัดเก็บ ในระดับครัวเรือน หมู่บ้าน และตำบล ธันวาคม – 31 มกราคม 2558
จัดเก็บและบันทึกประมวลผล ทุกครัวเรือนเสร็จแล้ว จัดเก็บและบันทึกประมวลผล ทุกครัวเรือนเสร็จแล้ว ต้องนำเสนอในที่ประชุมระดับตำบล การจัดส่งข้อมูล จปฐ. ทุกระดับ ต้องส่งแบบคำรับรองข้อมูล จปฐ. ด้วย ระดับตำบล แบบคำรับรองฯ หมายเลข 1 ระดับอำเภอ แบบคำรับรองฯ หมายเลข 2 ระดับจังหวัด แบบคำรับรองฯ หมายเลข 3
แนวทางการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. 1. เตรียมการและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล (ต.ค. – ธ.ค. 57) 1.1 จัดทำ ปรับปรุงคำสั่งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ และคณะทำงานติดตามฯ ทุกระดับ (จังหวัด/อำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน) ปี 2558 จังหวัดให้แต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับหมู่บ้าน ประกอบด้วย ๑. ประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) หัวหน้าคณะทำงาน ๒. ประธาน กพสม. หรือ ผู้แทน คณะทำงาน ๓. ผู้แทนคณะกรรมการ กทบ. หรือผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ คณะทำงาน ๔. ผู้แทนสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน คณะทำงาน ๕. ผู้แทนอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) คณะทำงานและเลขานุการ
แนวทางการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. โดยมีหน้าที่ ดังนี้ ๑) สำรวจและจัดทำทะเบียนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน แล้วจำแนกเป็นครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงในรอบปีที่ผ่านมา ๒) บริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และข้อมูล กชช. ๒ค ในระดับหมู่บ้าน ตามที่คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล มอบหมายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เสร็จทันตามระยะเวลาที่กำหนด ๓) พิจารณาเสนอรายชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล จปฐ. (ผู้จัดเก็บ ๑ คนรับผิดชอบจัดเก็บข้อมูลฯ จำนวน ๒๐ ครัวเรือน) เพื่อให้อำเภอจัดทำคำสั่งแต่งตั้ง ๔) นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ของหมู่บ้านทุกตัวชี้วัด ต่อเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ๕) งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
แนวทางการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. 1.2 แต่งตั้งผู้จัดเก็บฯ /ผู้บันทึกข้อมูลฯ 1.3 คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ทุกระดับ ประชุมเตรียมการ วางแผนการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ทุกระดับ 1.4 ประชุมชี้แจงผู้จัดเก็บข้อมูลฯ /คัดเลือกหัวหน้าทีมฯ และจัดทำแผน การจัดเก็บข้อมูลฯ ของผู้จัดเก็บฯ 1.5 ฝึกอบรมโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ให้ผู้บันทึกฯ และจัดทำแผนการบันทึกข้อมูลฯ ของผู้บันทึกฯ
2. จัดเก็บ/บันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. (ธ.ค. 2557 – ก.พ. 2558) 2. จัดเก็บ/บันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. (ธ.ค. 2557 – ก.พ. 2558) 2.1 เริ่มจัดเก็บข้อมูล จปฐ. เดือน ธันวาคม 2557 1) จัด D-Day การจัดเก็บข้อมูลฯ ในช่วงสัปดาห์รณรงค์การจัดเก็บข้อมูลฯ (๓-๙ ธันวาคม ๒๕๕๗) 2) ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทุกครัวเรือน ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๑ มกราคม ๒๕๕๘ 3) หัวหน้าทีมผู้จัดเก็บ จปฐ. ของหมู่บ้าน รวบรวมแบบสอบถามทั้งหมดส่งให้พัฒนากร/ผู้บันทึกข้อมูล
2.2 บันทึกประมวลผล และนำเสนอระดับตำบล 1) ผู้บันทึกฯ บันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ทุกครัวเรือน และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 2) พัฒนากร และผู้บันทึกข้อมูล จปฐ. นำเสนอผลข้อมูล จปฐ. ต่อที่ประชุมระดับตำบล เพื่อรับทราบและร่วมตรวจสอบ/ปรับปรุง/แก้ไข/ยืนยันผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. นำไปใช้ประโยชน์และสำเนาข้อมูลทั้งหมด ส่งให้อำเภอ พร้อมคำรับรองข้อมูล จปฐ. หมายเลข1 ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 3) พัฒนากร และผู้นำ อช. นำผลข้อมูลกรองลงในโปสเตอร์สรุปผล จปฐ. ระดับหมู่บ้าน เพื่อนำไปติดไว้ที่หมู่บ้าน/ชุมชน
3. ติดตาม ตรวจสอบ และประมวลผลข้อมูล 3.1 อำเภอ ติดตามตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน และประมวลผลข้อมูล จปฐ. เป็นภาพรวมของอำเภอ แล้วสำเนาข้อมูลทั้งหมดส่งให้จังหวัด และคำรับรองฯ หมายเลข 2 ภายใน 28 ก.พ. 2558 3.2 จังหวัด ติดตามตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน และประมวลผลข้อมูล จปฐ. เป็นภาพรวมของจังหวัด แล้วสำเนาข้อมูลทั้งหมดส่งให้กรมฯ และคำรับรองฯ หมายเลข 3 ภายใน 15 มี.ค. 2558 4. รายงานผลความก้าวหน้าในการจัดเก็บ และการบันทึกข้อมูลฯ รายงานแบบ Online Real Time ได้ตลอดทุกวัน/เวลา ผ่านทางเว็บไซต์ สพจ.พิษณุโลก http://phitsanulok.cdd.go.th
งบประมาณที่กรมฯ สนับสนุนจังหวัด/อำเภอ 1) ค่าจัดเก็บข้อมูลฯ (เล่มละ 10 บาท) 2) ค่าบันทึกและประมวลผลข้อมูลฯ (เล่มละ 6 บาท) 3) ค่าประชุมชี้แจงผู้จัดเก็บฯ (1 คน : 20 คร.) 4) ฝึกอบรมผู้บันทึกข้อมูล จปฐ. (ตำบลละ 1 คน) 5) งบฯ ติดตามนิเทศ จปฐ. ระดับจังหวัด 6) งบฯ ติดตามนิเทศ จปฐ. ระดับอำเภอ 7) ประชุมคณะทำงานบริหารจัดเก็บฯระดับจังหวัด 8) นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯระดับตำบล 9) นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯระดับจังหวัด 10) ส่งเสริมประสิทธิภาพจัดเก็บและใช้ประโยชน์ของ อปท.
กิจกรรมเชิดชูเกียรติ 1) อำเภอคัดเลือกผู้จัดเก็บข้อมูลฯ ดีเด่น 1 คน 2) อำเภอคัดเลือกผู้บันทึกข้อมูลฯ ดีเด่น 1 คน 3) อำเภอคัดเลือก อปท. ดีเด่น 1 แห่ง 4) จังหวัดคัดเลือกผู้จัดเก็บข้อมูลฯ ดีเด่น 1-3 คน 5) จังหวัดคัดเลือกผู้บันทึกข้อมูลฯ ดีเด่น 1-3 คน 6) จังหวัดคัดเลือก อปท. ดีเด่น 1 แห่ง 7) มอบโล่รางวัล แก่ อปท.ดีเด่น ระดับจังหวัด 8) มอบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้จัดเก็บฯ ดีเด่น ระดับจังหวัด
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก สวัสดี กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก