งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
นางศรีสุรินทร์ วัฒนรงคุปต์ ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 22 กุมภาพันธ์ 2555

2 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ความเป็นมา ก่อนปี เคยมีแผนพัฒนาหมู่บ้าน (บางหมู่บ้าน) โดยมีคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน (กพม.) ช่วยจัดทำ ปี กรมฯ ส่งเสริมแนวทางการวางแผนพัฒนาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วม (AIC) ในการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล ในตำบลนำร่อง ปี ขยายผลครอบคลุมทุกหมู่บ้านในเขตชนบท ตามกระบวนการพัฒนาชุมชน

3 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ปี มติ ครม. 10 ก.ย.45 เห็นชอบ “โครงการบูรณาการแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน” ทำให้เกิดการ รวมพลังทุกภาคส่วน ปี ส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน ร่วมกับ สภาพัฒน์และภาคีการพัฒนา 5 หน่วยงาน พื้นที่ 14 จังหวัด ปี 2547 สนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน (ระดับตำบล)

4 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ปี 2548 ส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการจัดทำแผนชุมชน ปี 2549 พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการสร้างกลยุทธ์ การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจน และการปรับปรุงแผนชุมชน ปี 2550 สร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน (โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข”)

5 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ปี 2551 เน้นการสร้างประสิทธิภาพ แผนชุมชน ปี 2552 ส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ทบทวน/ปรับปรุง ประเมินคุณภาพแผนชุมชน ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ปี พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนและพัฒนากระบวนการ บูรณาการแผนชุมชน

6 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวคิดในการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน แผนชุมชนเป็นเครื่องมือสำหรับหมู่บ้าน/ชุมชนใช้ในการพัฒนาตนเอง แผนชุมชนเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานใช้ในการส่งเสริมการพัฒนา ที่มีหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา แผนชุมชนที่ได้มาตรฐานจะได้รับการยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ สามารถใช้แผนชุมชนเชิงบูรณาการในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับจังหวัดและระดับชาติในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินการได้อย่างแม่นยำและประสบผลสำเร็จ

7 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
การดำเนินงานส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน การส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน การพัฒนาแผนชุมชน การทบทวน/ปรับปรุงแผนชุมชน การรับรองมาตรฐานแผนชุมชน การจัดทำกิจกรรมตามแผนชุมชน การบูรณาการแผนชุมชนระดับ การประเมินคุณภาพแผนชุมชน ตำบล, อำเภอ, จังหวัด เป้าหมาย : แผนชุมชนมีคุณภาพเชื่อมโยงไปสู่การบูรณาการ แผนชุมชนในทุกระดับ

8 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวคิดในการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน ปี 2554 การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน กระทรวงมหาดไทยมีการหารือร่วมกันและสั่งการให้ทุกหน่วยงานในระดับพื้นที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยกรมการพัฒนาชุมชน จะรับผิดชอบเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนา วิทยากรกระบวนการ ในการทบทวนปรับปรุงแผนชุมชน และระบบการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนระดับตำบล : ศอช.ต. เป็นหน่วยงานบูรณาการแผนชุมชนในระดับตำบล

9 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวคิดในการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน ปี 2554 การบูรณาการแผนชุมชน สนับสนุนกระบวนการบูรณาการแผนชุมชนทุกระดับ ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ จากการนำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน มาบูรณาการเป็นระดับตำบล มาเป็นแผนพัฒนาอำเภอเชิงบูรณาการ มาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งความคิดเห็นของประชาชน จากการจัดเวทีประชาพิจารณ์แผน เพื่อเสริมให้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

10 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวคิดในการส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน ปี 2554 ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน รวมทั้งส่งเสริมและรับรองมาตรฐานแผนชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนยกระดับแผนชุมชนให้มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ ท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประสานการบูรณาการกิจกรรม โครงการ และให้การสนับสนุนงบประมาณ โดยในปี มีแผนชุมชนได้รับการรับรองมาตรฐานและนำไปใช้ประโยชน์ฯแล้วทั้งสิ้น 19,595 แผนชุมชน/หมู่บ้าน และในปี 2554 มีเป้าหมายที่จะรับรองให้ได้อีก 20,733 แผนชุมชน

11 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนปี 55 1.สนับสนุนข้อมูลสารสนเทศชุมชนให้แก่แกนนำชุมชน/คณะทำงานด้านแผนฯ ของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และส่งเสริมให้วิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลชุมชนที่มี (จปฐ. กชช.2ค บัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน) 2.สนับสนุนให้แกนนำชุมชน/คณะทำงานด้านแผนฯ ของ กม. นำผลการวิเคราะห์มาหาสาเหตุของปัญหา ความต้องการ/แนวทางแก้ไข จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน และกำหนดเป็นแผนชุมชน/พัฒนาหมู่บ้าน

12 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนปี 55 3.สนับสนุนให้ความรู้กับ ศอช.ต. ในเรื่องวิธีการขั้นตอนการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล และประสานทำความเข้าใจกับ อปท. เพื่อให้มีคำสั่งแต่งตั้ง/มอบให้ ศอช.ต.เป็นองค์กรภาคประชาชนที่จะช่วยหรือร่วมมือกับ อปท. จัดเวทีบูรณาการแผนชุมชน/หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน 4.สนับสนุนให้ ศอช.ต. จัดเวทีบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล ให้เป็นภาพรวมของตำบล โดยจัดเรียงลำดับความสำคัญของกิจกรรมโครงการในแผนบูรณาการระดับตำบลและทำเป็นเอกสารรูปเล่ม 3 เล่ม ส่ง อปท. 1 อำเภอ 1 และสำเนาเก็บไว้ 1

13 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนปี 55 5.สนับสนุนให้ชุมชน/หมู่บ้าน ที่ทบทวนจัดทำแผนชุมชน/หมู่บ้านเสร็จแล้ว ประเมินตนเองว่าแผนชุมชน/หมู่บ้านมีคุณภาพในระดับดีมาก สมัครเข้ารับการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับ อปท. และหน่วยงานต่าง ๆ สามารถสนับสนุนการดำเนินงาน 6.สนับสนุนส่งเสริมให้แผนชุมชน/หมู่บ้าน มีกิจกรรมโครงการที่ชุมชน/หมู่บ้านดำเนินการเอง อย่างน้อยร้อยละ 30 7.สนับสนุนประสานให้ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชน ที่กรมฯ ส่งเสริมอยู่ได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และช่วยเหลืองานในคณะทำงานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้ชุมชน/หมู่บ้าน มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

14 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
เกณฑ์การประเมินคุณภาพแผนชุมชน (6 ตัวชี้วัด) 1.มีกระบวนการวิเคราะห์ตนเองจาฐานข้อมูลชุมชนเช่น การใช้บัญชีรับ-จ่าย ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2.มีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผน ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3.มีส่วนร่วมของอปท. ในการจัดทำแผนตั้งแต่ต้น รวมทั้งมีการนำกิจกรรมในแผนชุมชนไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น และร่างข้อบังคับงบประมาณประจำปีของ อบต.

15 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
4.มีกระบวนการจัดทำแผนชุมชนตาม แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5.มีกิจกรรมพึ่งตนเองอย่างน้อยร้อยละ 30 ของกิจกรรม และนำไปปฏิบัติได้จริง 6.มีแผนชุมชนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นรูปเล่ม หมายเหตุ ผ่านเกณฑ์ 6 ข้อ ระดับดีมาก (A) ผ่านเกณฑ์ 5 ข้อ ระดับดี (B) ผ่านเกณฑ์ 4 ข้อ ระดับพอใช้ (C)

16 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ผลการตรวจสอบคุณภาพแผนชุมชน ณ 31 ม.ค.55 แผนชุมชนคุณภาพระดับดีมาก(A) 53,528 (76.39%) แผนชุมชนคุณภาพระดับดี (B) 14,541 (20.75%) แผนชุมชนคุณภาพระดับพอใช้ (C) 2,004 (2.86%) รวม 70,073

17 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
การรับรองมาตรฐานแผนชุมชน เกณฑ์การรับรอง 5 ด้าน 19 ตัวชี้วัด 1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 20 คะแนน 6 ตัวชี้วัด 2.การมีส่วนร่วม 20 คะแนน 3 ตัวชี้วัด 3.กระบวนการเรียนรู้ 25 คะแนน 2 ตัวชี้วัด 4.การใช้ประโยชน์ 25 คะแนน 3 ตัวชี้วัด 5.รูปเล่มของแผน 10 คะแนน 5 ตัวชี้วัด

18 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ผลการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ปี 2552 แผนชุมชนที่ผ่านการรับรองและนำไปใช้ประโยชน์ 8,430 แผน ปี 2553 แผนชุมชนที่ผ่านการรับรองและนำไปใช้ประโยชน์ 11,165 แผน ปี 2554 แผนชุมชนที่ผ่านการรับรองและนำไปใช้ประโยชน์ 21,246 แผน รวม 40,841 แผน

19 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
งบประมาณปี 55 พัฒนาแผนชุมชน  พัฒนากระบวนการแผนชุมชน บูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล 878 อำเภอ 23,881,900.-  พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบ 878 อำเภอ 5,663,100.- ประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน 76 จังหวัด 2,584,000.- ประชุมคณะทำงานประเมินคุณภาพแผน 76 จังหวัด 2,466,200.-

20 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ตัวชี้วัด (งบประมาณ 55) ร้อยละ 30 ของหมู่บ้านที่มีและใช้แผนชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (21,339)

21 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ตัวชี้วัดตามคำรับรอง 1.1.2 ระดับความสำเร็จของการ สนับสนุน/ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

22 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ระดับคะแนน 1. มีการสรุปสถานะของแผนทุกหมู่บ้าน พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ช่องทาง 2. คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน จัดเวทีประชาคม เพื่อทบทวน ปรับปรุงและบูรณาการ โดยใช้แผนชุมชนเดิม เพื่อ ให้ได้แผนที่เป็นปัจจุบัน 3. ตัวแทนองค์กร/เครือข่ายภาคประชาชน ร่วมดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนโดยไม่ใช้งบประมาณอย่างน้อย 2 โครงการ 4. มีการจัดเวทีประชาคมระดับตำบล เพื่อพิจารณาโครงการ อย่างน้อย 1 โครงการ/กิจกรรมต่อหมู่บ้าน และนำเข้าบรรจุ ในแผนพัฒนาท้องถิ่น หรือแผนของหน่วยงานอื่นๆ 5. มีโครงการ/กิจกรรมในแผนพัฒนาหมู่บ้าน ในระดับ 4 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือร่วมดำเนินการจาก อปท. หรือหน่วยงานอื่น ๆ ในแต่ละปี อย่างน้อยร้อยละ 20 ของโครงการ/กิจกรรม

23 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
ตัวชี้วัดตามคำรับรอง กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชน และส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตัวชี้วัด 3.2 ร้อยละของเทศบาล และ อบต.ต้นแบบที่นำแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

24 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน
การนำแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่น ตามเกณฑ์ที่กำหนด 1. เทศบาลและ อบต.ต้นแบบ ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการแผนชุมชน โดยตั้งคณะทำงานร่วมกัน 2. สนับสนุนให้คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน จัดเวทีประชาคม ทบทวน ปรับปรุงแผนชุมชนให้ครอบคลุมมิติการพัฒนาอย่างน้อย 3 ด้าน โดยใช้ข้อมูลชุมชน จปฐ. กชช.2ค 3. สนับสนุนให้ ศอช.ต. และ สอช. หรือองค์กรภาคประชาชนอื่นระดับตำบลร่วมกับแกนนำ จัดเวทีประชาคมระดับตำบล เพื่อบูรณาการที่มีมิติการพัฒนาอย่างน้อย 3 ด้าน 4. นำโครงการ/กิจกรรมจากแผนชุมชนที่เกิดจากเวทีประชาคม ข้อ 3 ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามลำดับความสำคัญ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 กำหนดไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นของปีถัดไป 5. โครงการ/กิจกรรมในแผนชุมชนที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นของปีถัดไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ได้รับการบรรจุไว้ในร่างข้อบังคับงบประมาณของเทศบาล หรือ อบต.ต้นแบบในปีถัดไป

25 Q&A


ดาวน์โหลด ppt กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google