กระเบื้องดินเผา กระเบื้องดินเผาค้นพบที่แรกในพิษณุโลกคือที่ใด?
แนวทางการศึกษา 1. ต้องการศึกษาคุณสมบัติที่แท้จริงของหลังคากระเบื้องดินเผาที่สามารถสร้างงานสถาปัตยกรรม 2. ต้องการศึกษาการแปรรูปของหลังคากระเบื้องดินเผาว่ามีประโยชน์กับชาวพิษณุโลกอย่างไร 3. ชาวพิษณุโลกนำหลังคากระเบื้องดินเผาไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบตัวอาคารประเภทใดบ้าง 4. การสร้างตัวอาคารด้วยหลังคากระเบื้องดินเผามีผลดีกับชาวพิษณุโลกอย่างไร เหตุผลที่มา เนื่องจากกว่า หลังคากระเบื้องดินเผาถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่บรรพบุรุษนำมาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งก็สามารถทนแดด ลม ฝนได้เป็นอย่างดีจนถูกตกทอดมายังคนรุ่นหลังซึ่งก็มีความนิยมไม่แตกต่างกันเลย การใช้งานก็สร้างประโยชน์ได้เป็นอย่างดี จึงอยากทราบคุณสมบัติของหลังคากระเบื้องดินเผา นอกจากนี้ถือได้ว่าชาวพิษณุโลกก็นิยมมาสร้างอาคารบ้านเรือนเเละวัดด้วยเช่นกัน และก็เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลกเป็นอย่างมาก กระบวนการศึกษา 1. ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับในกระเบื้องดินเผาจังหวัดพิษณุโลก 2. สำรวจการใช้หลังคากระเบื้องดินเผาในสถานที่สำคัญ 3. สำรวจการนำหลังคากระเบื้องดินเผาไปแปรรูปเป็นวัสดุต่างๆ การนำไปใช้งานในอาคารประเภทต่างๆ 4. ศึกษาการใช้วัสดุในท้องตลาดของชาวพิษณุโลกที่ใกล้เคียงกับการใช้งานของ หลังคากระเบื้องดินเผาเช่น หลังคา 5. ทำการเปรียบเทียบเพื่อหาข้อเหมาะสมกับจังหวัดพิษณุโลก 6. สรุปข้อมูล
วัดวิหารทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก พระวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระปรางค์ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระปรางค์ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา
วัดนางพญา&วัดราชบูรณะมีการนำกระเบื้องดินเผามามุงหลังคา
ด้านหน้ามีรูปปั้นหุ่นกองทัพดินเผาของจิ๋นซีฮ่องเต้จำลอง ทำหน้าที่เป็นทวารบาลคอยปกป้องรักษาคุ้มครองพระวิหาร ในภาพผมว่าเก๋ดีครับ ทางวัดเอาธงชาติมาให้หุ่นทหารถือธงชาติแทนถืออาวุธ พระวิหารก็จะเจอกับหอไตร ซึ่งปัจจุบันเป็นหอคอนกรีตใต้ถุนสูง มีเสาปูนกลมเรียง 4 แถว แถวละ 4 ต้น ชั้นล่างเป็นหอระฆัง ชั้นบนเป็นหอไตร ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ต่างๆ ตัวหอไตรนั้นทำด้วยไม้ ยอดของหอไตรเป็นยอดแหลมมีจั่ว หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา
พระราชวังจันทน์ มีการขุดพบซากกระเบื้องดินเผา ประวัติความเป็นมา เดิมชื่อวัดสุคต เป็นวัดในสมัยสุโขทัย และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ความสำคัญต่อชุมชน สันนิษฐานว่า เป็นวัดหลวงในเขตพระราชวังจันทน์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ๑. ซากพระวิหารและพระอัฏฐารส มีสภาพปรักหักพัง ส่วนพระอัฏฐารส สุคตทศพลฌาณบพิตร เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยรุ่นแรกประมาณปี พ.ศ. ๑๗๐๐ ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ที่วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร ๒. ซากพระอุโบสถ เดิมมีพระอุโบสถศิลปสุโขทัย ปัจจุบันสำนักงานที่ดินจังหวัดพิษณุโลก สร้างอาคารทับบนฐานพระอุโบสถ ๓. การสำรวจขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดี พบหลักฐานสำคัญ ดังนี้ ๓.๑ พบปรางค์รูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปอยุธยา สร้างซ้อนทับสถาปัตยกรรมเจดีย์ในสมัยสุโขทัย รอบฐานพระปรางค์ปูด้วยกระเบื้องดินเผาอย่างดีสีขาว ๓.๒ หลักฐานโบราณวัตถุ ได้ขุดพบซากพระพุทธรูปสุโขทัย อยุธยา พบเครื่องถ้วยสุโขทัย อยุธยา และเครื่องถ้วยจีนด้วย ๓.๓ พบชิ้นส่วนรูปแบบสถาปัตยกรรมตกแต่งโบราณสถานศิลปสุโขทัย และศิลปอยุธยา พระราชวังจันทน์ มีการขุดพบซากกระเบื้องดินเผา
การทำกระเบื้องดินเผา บ่อดินสำหรับมาทำกระเบื้องดินเผา
เครื่องจักรพิมพ์แบบในการผลิต เครื่องตัดกระเบื้องให้ได้ขนาด
นำมาเผาด้วยเตาดินเผา เผาเสร็จแล้วนำมาพักไว้
ขอขอบคุณ นายอภิชาติ สุจริตรักษ์ กรรมการผู้จัดการ“บริษัท โอม.เซรามิค รูฟ จำกัด” ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้านอุตสาหกรรมกระเบื้องมุงหลังคา อ้างอิง : http://www.ksmecare.com/News_Popup.aspx?ID=3494 : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=manchu&month=12-2007&date=10&group=2&gblog=9