นายณัฐกร กันทะศรี วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ การปรับพฤติกรรมการเรียนวิชาเครื่องกลไฟฟ้าเบื้องต้น (3104 - 0003) เรื่องการสร้างหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็กโดยใช้กระบวนการกลุ่ม สำหรับนักศึกษาสาขางานติดตั้งไฟฟ้า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ นายณัฐกร กันทะศรี วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย ผู้ศึกษาพบว่า ผู้เรียนเรียนจะมุ่งทำแบบฝึกหัดเพียงอย่างเดียว ตามลักษณะของเด็กเก่ง บางคนจะหวงความรู้บรรยากาศในการเรียนตึงเครียด ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเหนื่อย และไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนนอกจากนั้นผู้เรียนยังขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ขาดทักษะการทำงาน ซึ่งผู้ศึกษาคิดว่าทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทักษะที่สำคัญและเป็นพื้นฐานต่อผู้เรียนสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาการวิจัย ผู้ศึกษาเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงต้องการศึกษาหาวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อปรับพฤติกรรมการเรียนในวิชาเครื่องกลไฟฟ้าเบื้องต้น (3104 – 0003)โดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสำหรับนักศึกษาสาขางานติดตั้งไฟฟ้า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
สรุปสำคัญ จากผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ และแบบกลุ่มมีผู้เรียนที่ได้คะแนนก่อนเรียน ร้อยละ 50 ขึ้นไปมีจำนวน 7 คนคิดเป็นร้อยละ 25.92 และผู้เรียนที่ได้คะแนนก่อนเรียนน้อยกว่า ร้อยละ 50 มีจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 74.08 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 45.18 คะแนนหลังเรียน ร้อยละ 50 ขึ้นไปมีจำนวน 22 .คนคิดเป็นร้อยละ 81.48 และผู้เรียนที่ได้คะแนนก่อนเรียนน้อยกว่า ร้อยละ 50 มีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 18.52 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 59.07
สรุปสำคัญ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบกลุ่ม คะแนนหลังเรียน ร้อยละ 50 ขึ้นไปมีจำนวน 27 คนคิดเป็นร้อยละ 100 และผู้เรียนที่ได้คะแนนก่อนเรียนน้อยกว่า ร้อยละ 50 มีจำนวน.....-.....คน คิดเป็นร้อยละ..-... คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 67.03 ผู้เรียนมีการพัฒนาขึ้นหลังจากผ่านการเรียนการสอนแบบปกติไปแล้ว จาก 45.18 เป็น 59.09 ผู้เรียนมีการพัฒนาขึ้นหลังจากผ่านการเรียนการสอนแบบกลุ่มไปแล้ว จาก 45.18 เป็น 67.03
สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่ามีพฤติกรรมทางการเรียนที่พัฒนาไปในทางที่ดีคือ เรื่อง การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนเอง การทำงานร่วมกัน ความสามัคคีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้นในการเรียนและการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย รูปแบบของกิจกรรมในแต่ละแผนการสอนนี้เหมาะกับนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านสติปัญญาอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป เพราะลักษณะของคำถามที่ใช้ในกิจกรรมมีความซับซ้อน ต้องใช้ทักษะในการแก้ปัญหา ก่อนที่จะจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ ผู้สอนควรศึกษาความสามารถของผู้เรียนก่อนว่าอยู่ในระดับใด และควรปรับระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่ใช้ในกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียน
ประโยชน์ที่ได้จากศึกษาวิจัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานให้ครบทุกหน้าที่เพื่อเป็นการฝึกทักษะการทำงานให้ผู้เรียน