ชื่องานวิจัย “แนวทางการบริหารงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงยุติธรรม” คณะวิจัย 1. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย หัวหน้าคณะวิจัย 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ นักวิจัย 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดา ธนาดิเรก นักวิจัย 4. ว่าที่ร.ต.พรินทร์ เพ็งสุวรรณ ผู้ช่วยนักวิจัย พ.ศ.2548
เหตุผลที่เลือกงานวิจัย เป็นกรณีศึกษารูปแบบการบริหารงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง สามารถนำแนวคิด และวิธีการบริหารมาปรับใช้ในหน่วยงานของตัวเองด้านประกันคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานแบบองค์รวม -เป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารการเปลี่ยนแปลงไปสู่สถานภาพมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
วัตถุประสงค์ในงานวิจัย 1. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงยุติธรรม 2. เพื่อศึกษาความพร้อมของข้าราชการในการเปลี่ยนแปลงกาiบริหารงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ทฤษฏี 1.โครงสร้างกระทรวงยุติธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง 3.ตัวแบบการศึกษารูปแบบการบริหารงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และตัวแบบความพร้อมของข้าราชการรองรับการเปลี่ยนแปลง 4. แนวคิดการประเมินตนเองเพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 5. แนวคิดการประเมินความพร้อมของบุคลากรต่อการเปลี่ยนแปลง
กรอบแนวคิดในการวิจัย
วิธีการวิจัย (1) การวิจัยเอกสาร (documentary research) 1.การวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการดังนี้ (2) การสัมภาษณ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ลงลึก (in depth interview) จากผู้เชี่ยวชาญในงานของกระทรวงยุติธรรม 2. การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประเมินสถานภาพองค์การ ผู้บริหารระดับต่างๆ 452 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านความพร้อมต่อการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 4,058 คน
ผลการวิจัย 1) บุคลากรส่วนใหญ่มีความประสงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในองค์การทุกองค์ประกอบของเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแบบองค์รวม MBC ( Malcom Baldrige Criteria)คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านความสำคัญของผู้รับบริการ ด้านข้อมูลและการจัดการความรู้ ด้านความสำคัญของบุคลากร ด้านกระบวนการบริหารงาน และด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน
ผลการวิจัย 2)-บุคลากรส่วนใหญ่มีความพร้อมต่อ “การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนางาน” อยู่ในระดับ “ปานกลาง” -ให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ใน “ระดับสูง” -ความพร้อมด้านบรรยากาศองค์การรองรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ใน ”ระดับสูง -และความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงอยู่ใน“ระดับสูง”