ผู้วิจัย นางประชุมพร รุ่นประพันธ์ วิจัยเรื่อง การใช้เกมพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้น ปวช .1 ผู้วิจัย นางประชุมพร รุ่นประพันธ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู www.mbk.ac.th
ปัญหาการวิจัย ปัญหาการเขียนสะกดคำผิดอยู่โดยทั่วไปเช่น ที่สาธารณะ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเขียนคำผิด มักจะพบคำที่ใช้ ไม่ถูกต้อง เมื่อนักเรียนได้เห็นบ่อย ๆ ก็จะเกิดความเคยชิน และจำไปใช้อย่างผิด ๆ และมักถูกปล่อยปละละเลย นับว่าเป็นปัญหาที่แก้ยาก เรื่อง การใช้วรรณยุกต์ ตัวการันต์ ไม้ทัณฑฆาต และคำที่ ประวิสรรชนีย์ ใช้เกมส์ในการฝึกการเขียนสะกดคำ เป็นการปลูกฝัง และพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ คงทนในการจำเกี่ยวกับ การเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ทักษะการเขียนในระดับสูงต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 2. เพื่อเปรียบเทียนผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำภาษาไทยก่อนและหลังเรียนโดยใช้เกมของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางภาษาไทย สูง ปานกลาง และต่ำ
ผลการวิเคราะห์ ตาราง สรุป ผลการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ของคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัด แบบฝึกหัดที่ คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ 1 2 3 4 10 5.56 6.64 7.54 8.54 55.60 66.64 75.30 85.30 รวม เฉลี่ยรวม 40 28.28 7.07 282.80 70.70
ผลการวิเคราะห์ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียน t – test รายการ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน Sd. t Prob. คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย 539 32.07 1,352 39.13 3.73 -34.89* .000
สรุปผลการวิจัย 1.คะแนนแบบฝึกหัดของนักเรียนที่มีความสามารถทางภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในขอบเขต ชุดที่ 1 มีค่าเท่ากับ 5.56 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 55.60 ชุดที่ 2 มีค่าเท่ากับ 6.64 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 66.64 ชุดที่ 3 มีค่าเท่ากับ 7.53 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.30 ชุดที่ 4 มีค่าเท่ากับ 8.53 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.30 ค่าเฉลี่ยรวมได้เท่ากับ 7.07 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.70
สรุปผลการวิจัย คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ ภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนกลุ่ม ตัวอย่างที่เรียนโดยใช้เกมการเขียนสะกดคำแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนใช้เกม มีผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำก่อนเรียน
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ