นางสาว ดวงเดือน สุธรรมมา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
Advertisements

การประชุมแผนแม่บทพัฒนาลุ่มน้ำในเขตอำเภอแม่จัน 31 มีนาคม 2553 ณ ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง แผนพัฒนาลุ่มน้ำในเขตอำเภอแม่จัน.
งานนำเสนองานวิจัย. เรื่อง พฤติกรรมการใช้จ่าย. ของประชาชนในเขตชุมชน
ปทิตตา มีชิตสม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
โดย โครงการช่วยกันสานเพื่อส่งเสริมคุณค่าผู้สูงอายุ
รายชื่อผู้ศึกษาดูงาน
ด.ช. กิตติธัช แก้วนิลกุล
นำเสนองาน my mapping เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์ จัดทำโดย
โครงงาน โรงเรียนฝางวิทยายน ผู้จัดทำ 1.นายสุทิน สีละโคตร เลขที่11
สมาชิกในกลุ่ม การพัฒนาหรือการดำเนินการ
ชีวิตและวัฒนธรรมไทย
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
ชื่อโรงเรียนบ้านหนองเฒ่า
ลานวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน สร้างอาชีพ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550
หน่วยการเรียนที่ 5 แหล่งสารสนเทศ.
การศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยงและการส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ผู้นำหมู่บ้านและเกษตรกรหมู่บ้านเป้าหมายสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ครั้งที่ 1) ภายใต้โครงการพัฒนาการเลี้ยงปลาในชนบทแขวงจำปาสักและแขวงเซกอง.
ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดลพบุรี วิทยฐานะ เชี่ยวชาญ
วันที่ 10 ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุม ส.ส.ส.
ภาพรวมการจัดสรรงบประมาณในแต่ละโครงการของศูนย์ สช. ภาคกลาง ปี 2555
โรงเรียน อสม. ตำบลหนองไม้แก่น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูล จปฐ. และ ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2557
ของฝากจากอาจารย์ อ้อ ชุดที่ 36 อาจารย์อ้อ ภูมิใจเสนอ
โครงการเรดด์พลัส (REDD Plus)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ
งานศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.3.2 การวิเคราะห์ การเรียกใช้ข้อมูล และการทำรายงานจากฐานข้อมูล
โครงการ ส่งเสริมการออม.
สมาชิกกลุ่มที่ 1 นางวันเพ็ญ มหาชัย อ.วังวิเศษ จ.ตรัง ประธาน
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ
ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ นายอามะ แวดราแม
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ
วิจัยอย่างไร ไม่ให้เป็นภาระ แต่เป็นส่วนหนึ่ง ของการเรียนการสอน
จังหวัดชลบุรี.
ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ปี 2550 กรมส่งเสริมการเกษตร
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง
กิจกรรมเด่น ประจำเดือน สิงหาคม 2554
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและ ได้มาตรฐาน ปีงบประมาณ 2553
โครงการพัฒนา ห้องเรียนในฝัน
ยินดีต้อนรับ สู่ กศน.ตำบลส้มผ่อ.
My school.
แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชนในเขตตำบลพนางตุง - ทะเลน้อย
My school.
จุดเน้น/กลยุทธ์ ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555
ผลการดำเนินงาน โครงการ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ปี 2557
โครงการข้อมูลท้องถิ่น ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
อุปกรณ์และขั้นตอนการทำขนมจีนสมุนไพร
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2550 – 2552) องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียน
สร้างแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี พฤศจิกายน 2557 โรงแรมเรือนแพ รอยัลปาร์ค พิษณุโลก.
จัดทำโดย นายธีรภัทร บัวเนียม เสนอต่อ อาจาร์ยสมคิด มีมะจำ
โครงการข้อมูล ท้องถิ่น
ประวัติความเป็นมา บ้านหัวหนอง หมู่ที่ 8 เมื่อประมาณ 195 ปีมาแล้ว ชาวบ้าน ได้อพยพมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด ประมาณปี พ.ศ มาตั้ง บ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองปลิงใหญ่
การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ จังหวัดอุบลราชธานี นางปริญญา ผกานนท์ นักวิชาการสาธารณสุข 8 ว.
กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น เขตพื้นที่การศึกษา เชียงรายเขต 1
กิจกรรม อชท. 1/2554 ระหว่างวันที่ สิงหาคม และ 1 กันยายน พ. ศ.2554 จัดทำโดย นักศึกษาแผนกช่าง กลโรงงาน ห้อง พิเศษเทคนิคการผลิต 401 ( พผ.401)
การจัดทำแผนชุมชน.
เกษตรอินทรีย์ชีวภาพบ้านตะโกสิงห์หมู่ 9 ตำบลอีสานเขต
ผู้รับผิดชอบ 1 นางสาว มณฑกานต์ กันทาพัน เลขที่ 39 2 นางสาว จิราพรรณ เจริญพล เลขที่ 40 3 นางสาว ธนนันท์ไทยกรรณ์ เลขที่ 41 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ครูที่ปรึกษา.
คำขวัญประจำจังหวัด เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา
CIPP Model : การประกันคุณภาพ
ตัวอย่าง การเขียนโครงการ
ผลสัมฤทธิ์ของปราชญ์ : กรณีประเมินผล ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

นางสาว ดวงเดือน สุธรรมมา โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านติ้ว หมู่ที่ 12 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสาคาม นางสาว ดวงเดือน สุธรรมมา

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านติ้ว หมู่ที่ 12 ต. เขวา อ. เมือง จ โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านติ้ว หมู่ที่ 12 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสาคาม 1. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว ดวงเดือน สุธรรมมา 2. หลักการและเหตุผล บ้านติ้ว เป็นบ้านที่ดิฉันมีความสนใจที่จะศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน รวมถึงศึกษาเรื่อง สินค้าประจำหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และสถานที่สำคัญ เพื่อที่จะนำไปทำเป็นข้อมูลท้องถิ่นของจังหวัดมหาสารคาม และตรงตามวัตถุประสงค์ในรายวิชาสารสนเทศท้องถิ่น ดิฉันจึงเลือกที่จะศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของบ้านติ้ว เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและรู้จักบ้านติ้วต่อไป

3.วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านติ้ว ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านติ้ว ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามผ่านเว็บไซต์ข้อมูลท้องถิ่น 3.เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการออกศึกษานอกสถานที่ และเพิ่มพูนความรู้ในการทำงาน 4.กลุ่มเป้าหมาย หมู่บ้านติ้ว หมู่12 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

5.วิธีดำเนินการ ลำดับ กิจกรรม ระยะเวลา 1.สำรวจ เก็บข้อมูล 3เดือน 2.จัดทำข้อมูล ทำ PowerPoint 1 วัน 3.เผยแพร่ นำเสนอ 4.เผยแพร่สู่สาธารณะชน จัดทำเว็บไซต์ 3 วัน 5.ประเมินผลโดย อาจารย์ สอบถาม ตรวจสอบความถูกต้อง

6.เครื่องมือ/อุปกรณ์/ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน 1.กล้อง 2.คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก   7.งบประมาณที่ใช้จ่าย 1.ค่าน้ำมัน 300 บาท 2.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 100 บาท 3.อื่นๆ 100 บาท 4.รวม 500บาท

8.สถานที่ดำเนินงาน บ้านติ้ว หมู่ 12 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม   9.ระยะเวลาดำเนินงาน 28 สิงหาคม 2557- 6 พฤศจิกายน 2557 10.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน 11.การติดตามการประเมินผล 11.1ประเมินจากอาจารย์ 11.2ประเมินจากเพื่อนในห้อง

13.ผู้ดำเนินงาน นางสาว ดวงเดือน สุธรรมมา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   14.ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว ดวงเดือน สุธรรมมา หลักสูตรสาขาวิชาสารนเทศศาสตร์ รหัส 563130060104และ อาจารย์นัยนา ประทุมรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 12.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 12.1.บุคคลที่สนใจได้รับความรู้จากโครงการและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงาน 12.2.ข้อมูลที่จัดทำได้เผยแพร่สู่ประชาชนและบุคคลที่สนใจมากขึ้น 12.3.นักศึกษามีความรู้ มีความสามารถในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ประวัติหมู่บ้าน บ้านติ้ว หมู่ที่ 12 ตำบลเขวา เดิมชื่อบ้านโคกกลาง อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ ชาวบ้านทนความแห้งแล้งของหมู่บ้านไม่ได้ จึงอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่ กลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านสระแก้ว (บ้านเชียนเหียนในปัจจุบัน) อีกกลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหินตั้ง และกลุ่มสุดท้ายอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แม่น้ำ เนื่องจากบริเวณในหมู่บ้านมีป่าหนาทึบและมีต้นไม้ที่เกิดขึ้นเยอะคือต้นติ้ว ชาวบ้านจึงเรียกบ้านแห่งนี้ว่า บ้านป่าติ้ว ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้น้อยใหญ่ในหมู่บ้านก็เริ่มน้อยลง ป่าติ้วที่เคยหนาทึบก็หมดไป ชื่อบ้านป่าติ้วจึงเหลือเพียงแค่ บ้านติ้วใน ในปัจจุบันนี้

ที่ตั้งของหมู่บ้าน 1.ทิศเหนือ จดบ้านลาด ตำบลลาดพัฒนา 2.ทิศใต้ จดบ้านดงน้อยและบ้านร่วมใจ ตำบลแวงน่าง 3.ทิศตะวันออก จดบ้านกุดซุย ตำบลลาดพัฒนาและบ้านเชียง เหียน หมู่ที่ 3 4.ทิศตะวันตก จดบ้านหม้อ หมู่ที่ 11

ประวัติหมู่บ้าน 1.นายหมื่น ปาละนิตย์ 2.นายคำ ไชยโคตร บ้านติ้วมีผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้ 1.นายหมื่น ปาละนิตย์ 2.นายคำ ไชยโคตร 3.นายหาญพรม ไชยพรม 4.นายสมร ไชยโคตร 5.นายประนอม ศรีบัว 6.นายอภิชาต ปาละนิตย์ 7.นายกฤติเดช สุจันทร์ (ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน)

จำนวนครัวเรือนและประชากร จำนวนครัวเรือนและประชากร 1. ครัวเรือนทั้งหมด 161 คน 2. ประชากร 426 คน -หญิง 202 -ชาย 224 คน

วิสัยทัศน์/อัตลักษณ์ของชุมชม วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน ปลูกข้าวพันธุ์ดีการเกษตรปลอดสารพิษ พัฒนาคุณภาพด้วยวิถีพอเพียง คิดอยู่อย่างเอื้ออาทร ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนา อัตลักษณ์ของชุมชม อัตลักษณ์ของชุมชมภูมิปัญญาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของบ้านติ้วหมู่ที่ 12 คือ การทำนาและการเลี้ยงสัตว์

แนวโน้ม/ทิศทางการพัฒนา จากมุมมองตามกระบวนการชุมชนในการกำหนดอัตลักษณ์ของหมู่บ้านเพื่อค้นหาองค์ความรู้ภูมิปัญญา วิถีชีวิตและความเป็นชุมชนของหมู่บ้านเพื่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาอาชีพ พัฒนา คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนให้มีศักยภาพ และกระบวนการในการกำหนดอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเป็นองค์ความรู้ ความสามารถนำไปสู่การกำหนดตำแหน่งการพัฒนา ตำแหน่งทางการตลาด ซึ่งจากลักษณ์ทั่วไป ในด้านอาชีพของชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการทำนาเป็นหลัก อาชีพเสริมคือรับจ้างทั่วไป

ประเพณีวัฒนธรรมของชาวบ้าน ในด้านวัฒนธรรมชุมชนจะดำเนินวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคอีสานคือ “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” เป็นประเพณีสิบสองเดือนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา และนอกจากนี้ก็มีการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ เป็นสิ่งรักษาของหมู่บ้านในชุมชนให้เกิดความสงบร่มเย็น ตามความเชื่อ และการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน

ประเพณีวัฒนธรรมของชาวบ้าน 1. เดือนอ้าย – บุญเข้ากรรม 2. เดือนยี่ – บุญคูณลาน 3. เดือนสาม – บุญข้าวจี่ 4. เดือนสี่ – บุญพระเวส 5. เดือนห้า – บุญสงกรานต์ 6. เดือนหก – บุญบั้งไฟ 7. เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ 8. เดือนแปด – บุญเข้าพรรษา 9. เดือนเก้า – บุญข้าวประดับดิน 10. เดือนสิบ – บุญข้าวสาก 11. เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา 12. เดือนสิบสอง - บุญกฐิน

สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน วัดโพธิ์ศรี บ้านติ้ว

สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน โรงเรียนบ้านติ้วสันติสุข

สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน สถานที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน ดอนปู่ตา

ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานฝีมือ 1.นาย ศรี ศรีสารคาม อายุ 86 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ 24 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานฝีมือ คือ ทำลอบดักปลา ปราชญ์ชาวบ้านด้าน หมอสูตรขวัญ

ปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร นายไพบูลย์ พลเสน อายุ 46 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 33 ม. 12 ต. เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร คือ ยาสมุนไพรต้ม ยาหม้อ

ปราชญ์ชาวบ้านผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น นายธง สุจันทร์ อายุ 49 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 13 ม. 12 ต.เขวา อ.เมือง จ. มหาสารคาม ปราชญ์ชาวบ้านด้าน ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น คือ ตีกลองยาว  

ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร นาง สงวน สุจันทร์ อายุ 60 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 51 ม. 12 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสาคาม ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร คือ เลี้ยงกบ

สินค้า O-TOP การทำกระติบข้าว การทำกระติบข้าวนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพเสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้มีรายได้เสริมจากการทำกระติบข้าว การรวมตัว เนื่องจากชาวบ้านได้ไปอบรมเรื่องงานฝีมือในอำเภอ การหารายได้เสริมรองยามว่างเว้นจากการทำนา จึงรวมตัวกันไปอบรมที่อำเภอ แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมา เพื่อหารายได้เสริมจากการทำกระติบข้าว

อุปกรณ์การทำกระติบข้าว อุปกรณ์การทำกระติบข้าว 1.ไม้ไผ่บ้าน 2.มีดอีโต้ 3.ด้ายไนล่อน 4.เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 1.เตรียมไม้ไผ่ นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 2.ผ่าไม้ไผ่ให้เป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ซ.ม. ขูดให้เรียบและบาง

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 3. นำเส้นตอกที่กว้างประมาณ2-3 ซ.ม. มาผ่าให้เป็นเส้นเล็กๆเพื่อที่จะสานทำกระติบข้าว

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 4.นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 5.การทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายขัด

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 6.นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว 7.ใช้ด้ายไนล่อน เข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

ขอบคุณค่ะ