ผู้วิจัย นางสาวพิลาวรรณ พิริยะโภคัย ชื่อเรื่องวิจัย วิธีการสอนแบบ 4 MAT ต่อผลความคิดรวบยอดการปฏิบัติงาน วิชา การเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์เบื้องต้นของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ ผู้วิจัย นางสาวพิลาวรรณ พิริยะโภคัย
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ 4 MAT ในนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม เพื่อศึกษาความคิดรวบยอดในการเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ก่อนและหลังการเรียน โดยใช้ 4 MAT
กรอบแนวความคิดในการวิจัย การเรียนการสอนแบบ 4 MAT เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความคิดรวบยอดและนำไปสู่การพัฒนาการการเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาได้ ทั้งนี้เพราะการเรียนการสอนวิธีนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการใช้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวามาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรม ได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่น ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของนักศึกษาที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่แตกต่างกันได้อย่างเต็มที่
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรมโรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ที่เรียนวิชาการเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ จำนวน 51 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองสอน คือ แผนการสอนโดยการใช้ 4 MAT จำนวน 4 แผน แผนที่ 1 สอนจำนวน 4 คาบ แผน 2-4 สอนแผนละ 4 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งหมด 16 คาบ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์
สรุปผลการศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ 4 MAT ในนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม ได้เพิ่มความสามารถของนักศึกษาในการเรียน การคิดวิเคราะห์ปัญหา และการหาวิธีการแก้ไขโดยใช้ความรู้และหลักการที่เรียนรู้มาได้จริง ความคิดรวบยอดในการเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้ 4 MAT นักศึกษา มีคะแนนความคิดรวบยอดสูงขึ้นและอยู่ในระดับดี หลังจากการเรียนแบบ 4 MAT
ผลกระทบที่เกิดขึ้น นักเรียนมีความสามารถในการเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ หลังจากการเรียนแบบ 4 MAT ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดี เนื่องจากขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ส่งเสริมให้ นักศึกษามีความสามารถในการเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ เพิ่มมากขึ้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้น นักเรียนมีคะแนนความคิดรวบยอด หลังจากการเรียนแบบ 4 MAT สูงกว่าก่อนการเรียนแบบ 4 MAT เนื่องจากแต่ละขั้นของการเรียนการสอนแบบ 4 MAT โดยเฉพาะขั้นที่ 1-4 เป็นขั้นที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เกิดความคิดรวบยอดมากที่สุด ส่วนขั้นที่ 5-8 นั้นนักศึกษาได้นำความคิดรวบยอดที่ตนเองมีอยู่ นำไปสู่การเขียนแบบก่อสร้างเชิงสร้างสรรค์
ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรสร้างแผนการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่คำนึงถึงระดับความสามารถ และความสนใจของนักศึกษา ตลอดจนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ก่อนการเรียนการสอน ผู้สอนควรมีการปฐมนิเทศนักศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทำวิจัยกับนักเรียนโรงเรียนอื่นๆ ควรเน้นการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ในวิชาอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันของความคิดรวบยอดของนักศึกษา