องค์ประกอบศิลป์ : รูปร่าง และรูปทรง
รูปร่าง (Shape) บริเวณเนื้อที่ของสี เนื้อที่ของแสงและเงา มีลักษณะเป็น 2 มิติ รูปนอกหรือเส้นรอบนอก ที่แสดงความกว้างกับความยาวไม่มีความหนาหรือ ความลึก
ตัวอย่าง
ตัวอย่างการใช้รูปร่างในงานศิลปะ
รูปทรง (Form) บริเวณรูปร่างของวัตถุสิ่งของที่มีลักษณะ 3 มิติ คือ มีทั้งความกว้าง ความ ยาว และความลึก ใช้เรียกสิ่งที่เป็นรูปและเกิดขึ้นจริง มีความทึบตัน กินเนื้อ ที่ในอากาศและสัมผัสได้ เช่น งานประติมากรรม
เส้นที่นำมาประกอบกันให้เกิดความกว้าง ความยาว และความลึก ที่มองเห็น เป็น 3 มิติในงานจิตรกรรม
ความแตกต่างระหว่างรูปร่าง กับ รูปทรง
รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท รูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปทรงที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ รูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี รูปทรงเหล่านี้แสดงความกว้าง ความยาว และมิติในความลึกหรือหนา มีความเป็นมวลและปริมาตร
รูปทรงธรรมชาติ หมายถึง รูปทรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ รูปทรง คน สัตว์ พืช โดยนำมาถ่ายทอดเป็นงานศิลปะในลักษณะ 3 มิติ และให้มี ความรู้สึกมีชีวิต
รูปทรงอิสระ หมายถึง รูปทรงที่เกิดขึ้นเองอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้าง แน่นอน ได้แก่ รูปทรงหยดน้ำ เปลวไฟ ก้อนเมฆ ควัน ฯลฯ ส่วนใหญ่จะมี รูปทรงที่แปลกให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวและเป็นอิสระ
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงกับพื้น รูป หมายถึง รูปร่างหรือรูปทรงที่เกิดจากส่วนประกอบทางศิลปะรวมตัวกัน ปรากฏเป็นภาพคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ พื้น หมายถึง บริเวณที่ว่าง 2 มิติ หรือ 3 มิติ ที่ล้อมรอบรูปทรง
แบ่งได้เป็น 2 แบบ แบบรูปทรงปิด คือ รูปทรงที่ถูกกำหนดบริเวณโดยเส้นหรือสี เป็นรูปทรงที่ ถูกตัดจากส่วนพื้นอย่างชัดเจน ภาพรูปทรงปิดมีลักษณะภาพที่ชัดเจน เส้น รอบนอกคมชัด โดยมีเส้นหรือสีตัดกับส่วนพื้นภาพ
แบบรูปทรงเปิด คือ ภาพรูปทรงจะเปิดเส้นรอบนอกหรือพร่าเลือน โดยไม่ ปิดกั้นบริเวณทั้งหมด แต่จะปล่อยให้เกิดช่องว่างระหว่างรูปกับพื้นภาพ ลักษณะของภาพจะดูผสมผสาน และมีบรรยากาศ
ตัวอย่างการใช้รูปทรงในงานศิลปะ
งาน ให้นิสิตออกแบบตัวอักษรที่เป็นชื่อของนิสิตเอง โดยใช้องค์ประกอบศิลป์ รูปร่างหรือรูปทรง จัดวางด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้สวยงาม