ผู้วิจัย นายสุวัฒน์ สุริยาวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยในชั้นเรียน การแก้ปัญหานักศึกษาต่อวงจรลอจิกเกตไม่เป็นด้วยวิธีจัดทำ VDO สาธิต การต่อวงจร ผู้วิจัย นายสุวัฒน์ สุริยาวงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่
ปัญหาการวิจัย ในการเรียนการสอนวิชาดิจิตอลเทคนิค เรื่อง การต่อวงจรลอจิกเกต นักศึกษามักมีปัญหาเรื่องของการต่อวงจรไม่เป็น เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความไม่เข้าใจสะสมเนื่องจากการไม่กล้าถาม ครูสอนเร็วเกินไปนักศึกษาตามไม่ทัน การขาดตัวอย่างในการปฏิบัติ เวลาฝึกปฏิบัติน้อยเกินไปเนื่องจากเรียนแค่ 3 คาบต่อสัปดาห์ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ผลการเรียนของนักศึกษาในวิชาดิจิตอลเทคนิคไม่ค่อยดี และกระบวนการเรียนการสอนก็ทำได้ช้าเนื่องจากครูต้องกลับมาทบทวนให้นักศึกษาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นผู้จัดทำ จึงได้สร้างงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาว่า VDO สาธิต การต่อวงจรลอจิกเกต มีส่วนช่วยให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อต้องการทราบความสามารถของสื่อ VDO สาธิต การต่อวงจรลอจิกเกต ว่ามีส่วนช่วยให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร เพื่อต้องการให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถหาความรู้และฝึกฝนตนเองจากการใช้สื่อการสอนชิ้นนี้ที่บ้าน เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ครูผู้สอนในการพัฒนาสื่อการสอนให้มีความน่าสนใจและมีประสิทธิภาพ ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ ต่อไป เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาดิจิตอลเทคนิค ดีขึ้น
ขั้นตอนในการทำวิจัย การรวบรวมข้อมูล 1. จัดทำสื่อที่จะใช้ในการวิจัยซึ่งก็คือ VDO สาธิต การต่อวงจรลอจิกเกต 2. สอนให้นักศึกษาต่อวงจรลอจิกเกตในคาบเรียน จากนั้นได้ให้ใบงานแก่นักศึกษาไปเตรียมการทดลองที่บ้าน และให้ VDO สาธิต การต่อวงจรลอจิกเกต แก่นักศึกษาไปศึกษาเองที่บ้านด้วย โดยหากนักศึกษาไม่เข้าใจวิธีการต่อวงจรลอจิกเกต ก็สามารถเปิดดูวิดีโอสาธิตการต่อวงจร จากที่บ้านได้ เมื่อนักศึกษาส่งงานก็ทำการตรวจและบันทึกคะแนนแต่ละใบงานลงในแบบบันทึกคะแนนการทำใบงาน เพื่อนำมาสรุปผล 3. ในสัปดาห์ที่ 16 มีการสำรวจความพึงพอใจนักศึกษาทุกคน ในการใช้สื่อการสอน เพื่อนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและปรับปรุงพัฒนาต่อไป
ตารางแสดงผลการวิจัย ที่ ชื่อ สกุล ใบงานที่ 1 (20) ใบงานที่ 2 (30) ใบงานที่ 3 ใบงานที่ 4 ใบงานที่ 5 รวม 120 เก็บ 40 คะแนน สรุป เกิน 60% (24) 1 นายโชคชัย เป็งหมู 14 23 13 17 21 88 29.33 ผ่าน 2 นายยุทธนา อุดทาโม๊ะ 15 26 18 27 99 33.00 3 นายสุรชัย นาแส 16 22 19 102 34.00 4 นายเอกชัย อำภา 10 95 31.67 5 นายธนากร ธิการ 20 12 84 28.00 6 นายธวัชชัย ปันเหลี้ยม 82 27.33 7 นายวีระชาติ นำมะ 24 91 30.33 8 นายยุทธกาล บุญทอง 81 27.00 9 น.ส.ดารุณี ทนงกิจ 97 32.33
สรุปผลการวิจัย จากการวิจัยโดยให้นักศึกษาทดลองใช้สื่อควบคู่ไปกับการเรียนในห้องเรียน ปรากฏว่านักศึกษาสามารถเรียนรู้บทเรียนได้เร็ว เนื่องจากมีทักษะในการทำงานทั้งในห้องเรียน และที่บ้าน การปฏิบัติการต่อวงจรที่เป็นปัญหาว่านักศึกษาทำได้ช้า เนื่องจากขาดทักษะนั้น ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด คือนักศึกษาสามารถทำใบงานได้คะแนนในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งถ้าวัดผลจากคะแนนเก็บการทำใบงานในตารางที่ 1 ก็ปรากฏว่านักศึกษามีคะแนนผ่านเกณฑ์ 60% ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 ในด้านความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ ในตารางที่ 2 และตารางที่ 3 นั้น นักศึกษาได้ให้ความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโอคิดเป็นร้อยละ 91.55 หรือระดับ 4.57 สรุปได้ว่าสื่อสาธิตการต่อวงจรดิจิตอลชิ้นนี้ มีส่วนช่วยให้นักศึกษามีผลการเรียนที่ดีขึ้น และควรนำไปพัฒนาต่อยอดทำเป็นสื่อการสอนในหัวข้ออื่นๆ ต่อไป
ภาพประกอบระหว่างการวิจัย
อภิปรายผลการศึกษา จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าสื่อและเทคโนโลยีมีส่วนช่วยในกระบวนการเรียนการสอนของครูและนักศึกษา ซึ่งในปัจจุบัน นักศึกษาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นสื่อการเรียนแบบออนไลน์หรือสื่อที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าสื่อจะช่วยให้กระบวนการสอนของครูง่ายขึ้นและนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับครูผู้สอนด้วยว่า ให้ความสำคัญกับการสอนและเอาใจใส่นักศึกษามากน้อยเพียงใด เนื่องจากนักศึกษาบางคนต้องอาศัยแรงกระตุ้น และกำลังใจจากครูผู้สอนและคนรอบข้าง ในการปรับปรุงตนเอง หรือพัฒนาตนเอง ดังนั้นกระบวนการเรียนการสอนที่จะประสบผลสำเร็จนั้นก็ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างนักศึกษากับครูเป็นหลัก โดยมีสื่อการสอนเข้ามาช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนสมบูรณ์มากขึ้นนั่นเอง