ผลงานวิจัยเรื่อง “ การพัฒนาทักษะการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติกระบอกสูบแบบสองทางใน วิชางานนิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ โดยวิธีการใช้วงจรฝึกปฏิบัติพร้อมแบบประเมินผลของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขาเครื่องกลช่างอุตสาหกรรม โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ปีการศึกษา 2553 ” โดย นายปรีชา จันทร์ใหม่
วัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาทักษะการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติของกระบอกสูบสองทางในวิชางานนิวแมติกส์และ ไฮดรอลิกส์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขาเครื่องกลช่างอุตสาหกรรม โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี
กรอบแนวคิดในการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาทักษะการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติของกระบอกสูบสองทาง โดยการออกแบบวงจรแบบต่างเพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติต่อวงจร พร้อมเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติและใช้ตารางบันทึกการปฏิบัติงาน เมื่อผู้เรียนผ่านการฝึกครบทุกวงจร โดยมีเซ็นชื่อในตารางบันทึกการต่อวงจรสามารถสอบต่อวงจรแบบอัตโนมัติได้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ที่เรียนอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 คณะช่างอุตสาหกรรม สาขางานยานยนต์ จำนวน 50 คนที่สอบไม่ผ่านการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ วงจรแบบต่างๆที่ออกแบบมาเพื่อใช้ฝึกปฏิบัติ พร้อมเครื่องมือประเมินผลและใช้ตารางบันทึกการปฏิบัติงาน
ตารางเกณฑ์ให้คะแนนปฏิบัติการต่อวงจร ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ ตารางเกณฑ์ให้คะแนนปฏิบัติการต่อวงจร ลำดับ รายการประเมิน คะแนน เต็ม ได้ 1 บอกชื่อและอธิบายการทำงานของอุปกรณ์ได้ถูกต้อง 10 2 ติดตั้งอุปกรณ์ตามวงจรที่กำหนดได้ถูกต้อง 3 เช็คลมที่ต่อจากแหล่งจ่ายลมก่อนต่อเข้ารู P ของวาล์วแต่ละตัว 4 ปฏิบัติการต่อวงจรได้ถูกต้องตามแบบและตรงต่อเวลาที่กำหนดให้ ( 5 นาที ) เกิน 2 นาที ตัด 2 0 คะแนน 30 5 วงจรทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ถูกต้อง 6 เลือกขนาดความยาวของสายต่อลมที่เหมาะสม 7 ปิดวาล์วลมก่อนถอดสายออกจากอุปกรณ์ 8 เก็บสายต่อลมเป็นระเบียบเรียบร้อย รวม 100
ตารางบันทึกการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติของ ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ ตารางบันทึกการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติของ กระบอกสูบสองทาง ครั้งที่ การควบคุมกระบอกสูบสองทางแบบต่างๆ ผ่าน ไม่ผ่าน ผู้ตรวจ 1. งานควบคุมกระบอกสูบสองทางด้วยวาล์ว 5/2 ทำงานด้วยลมและกลับด้วยสปริง อ. ปรีชา 2 งานควบคุมกระบอกสูบสองทางด้วยวาล์ว หน่วงเวลา 3 งานควบคุมกระบอกสูบสองทางด้วยวาล์ว 5/2 ทำงานด้วยลมและกลับด้วยลม 4 งานควบคุมกระบอกสูบสองทางแบบอัตโนมัติ
สรุปผลการวิจัย สรุปผลคะแนนหลังจากนักเรียนผ่านการฝึกปฏิบัติต่อวงจรตามแบบที่กำหนด พบว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่ 70 เปอร์เซ็น จำนวน 8 คน คิดเป็น ร้อยละ 16 ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่ 80 เปอร์เซ็น จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 24 ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่ 90 เปอร์เซ็น จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 32 และผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่ 100 เปอร์เซ็น จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 36
ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการใช้วงจรฝึกปฏิบัติพร้อมตางรางการประเมิน และ ตารางบันทึกการปฏิบัติงานการต่อวงจร กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ทั้งหมดมีทักษะการต่อวงจรควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ คือนักเรียนสามารถต่อวงจรได้อย่างถูกต้องและเม้นยำภายในเวลาที่กำหนดและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนสะสมอยู่ระหว่าง ร้อยละ 70-100
ข้อเสนอแนะการวิจัย การเรียนแบบการฝึกปฏิบัติแบบมีขั้นตอนและมีเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติที่มีมาตรฐาน สามารถใช้เป็นแบบอย่างกับรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติซึ่งผู้สอนต้องออกแบบฝึกให้สอดคล้องกับรายวิชานั้นๆ ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนด ชี้แจงกรอบของกิจกรรมให้นักเรียนแต่ละคนเข้าใจวิธีการกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติ และสร้างบรรยากาศที่เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ