ตามอาตมาไปอ่านภาษาบาลีกัน
การอ่านคำบาลีไม่ยากเลย โดย ครูชุติมา นาคเอี่ยม คลิกเข้าไปเลย
จุดประสงค์ เพื่อให้นักเรียนรู้จักคำที่มีจากภาษาบาลีมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านคำที่มาจากภาษาบาลีได้ถูกต้อง คลิก
ประวัติของภาษาบาลี ความหมาย " บาลี " หรือ " ปาลิ " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2475 คือ ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท , พระพุทธพจน์ ( ป. , ส. , ปาลิ ) และตามปทานุกรม บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษแสดงไว้ 2 รูป คือ ปาลิ, ปาฬิ ให้ความหมาย 2 นัย คือ คลิก
1. แถว , แนว เช่น ทนตปาลิ แปลว่า แถวแห่งฟัน 1. แถว , แนว เช่น ทนตปาลิ แปลว่า แถวแห่งฟัน ปริยัติธรรม , ตำราธรรมของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักดั้งเดิมและใช้เป็นภาษาที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์ เช่น อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และโยชนา ตามลำดับ นักปราชญ์ทางภาษาและนักการศาสนาให้ความเห็นว่า คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ และเป็นภาษาที่รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ในปัจจุบันเรียกว่าพระไตรปิฎก คลิก
การอ่านพยัญชนะภาษาบาลี พยัญชนะในภาษาบาลี มี 36 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะวรรค 5 วรรค คือ กะ วรรค คือ ก ข ค ฆ ง มีฐานเสียงเกิดที่คอ จะ วรรค คือ จ ฉ ช ฌ ญ มีฐานเสียงเกิดที่เพดานปาก ฏะ วรรค คือ ฏ ฐ ฑ ฒ น มีฐานเสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ตะ วรรค คือ ต ถ ท ธ น มีฐานเสียงเกิดที่ฟัน ปะ วรรค คือ ป ผ พ ภ ม มีฐานเสียงเกิดที่ริมฝีปาก พยัญชนะเศษวรรค หรือ วรรค มี 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ( มีเสียงเกิดจากฐานต่างกันไป ) หมายเหตุ พยัญชนะทุกตัวสระ "อะ" อยู่ในตัว เวลาอ่านต้อง อ่านว่า กะ ขะ คะ ฆะ งะ เป็นต้นเหมือนกันทุกวรรค คลิก
การอ่านสระในภาษาบาลี สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เมื่อนำไปใช้ก็เขียนรูปสระคงตัว อ่านออกเสียงเหมือนในภาษาไทย คลิก
หลักการอ่านภาษาบาลี มีหลักกว้าง ๆ ดังนี้ 1 หลักการอ่านภาษาบาลี มีหลักกว้าง ๆ ดังนี้ 1. พยัญชนะตัวใดที่เขียนโดด ๆ โดยไม่มีสระ ให้อ่านออกเสียง " สระอะ " ( การสะกดแบบบาลีจะไม่ใช้สระอะ ) พยัญชนะที่สระอื่นกำกับก็ออกเสียงตามนั้น เช่น โลภ อ่านว่า โล -พะ ภควา อ่านว่า ภะ - คะ - วา สุคติ อ่านว่า สุ -คะ - ติ สุข อ่านว่า สุ -ขะ จิต อ่านว่า จิด- ตะ คลิก
2. การสะกดแบบบาลี มีการใช้ " พินทุ " โดยเขียนเป็นจุดใต้พยัญชนะ( ฺ )มีหลักการ ดังนี้ 2.1 เมื่อใช้พินทุจุดใต้พยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ไม่ต้องออกเสียง เช่น โหนฺตุ อ่านว่า โหน - ตุ มหนฺตา อ่านว่า มะ - หัน - ตา สุขิตตฺตา อ่านว่า สุ - ขิ - ตัด - ตา องฺควรสฺส อ่านว่า อัง - คะ - วะ - รัด- สะ คลิก
พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม - มะ - ณะ 2.2 บางครั้งใช้พินธุจุดใต้พยัญชนะ เพื่อให้เป็นตัวควบกล้ำ ในกรณีนี้ให้อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น กตฺวา อ่านว่า กัด - ตวา ( เสียง ตะ หน้า วา ออก กึ่งมาตรา ) พฺยาธิ อ่านว่า พยา - ธิ ( เสียง พะ หน้า ยา ออกกึ่งมาตรา ) พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม - มะ - ณะ ( เสียง พะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา คลิก
2.3 ในการสะกดแบบบาลี มีการใช้ “นิคหิต” 2.3 ในการสะกดแบบบาลี มีการใช้ “นิคหิต” ( เขียนเป็นวงกลมเล็ก ๆ ) ถือว่าเป็นพยัญชนะ ออกเสียง แม่กง คือใช้ตัว ง เป็นตัวสะกด เช่น ปริยาวรุ อ่านว่า ปะ- ริ- ยา- วะ- รุง ปรํ อ่านว่า ปะ - รัง ชีวิตํ อ่านว่า ชี - วิ - ตัง องฺคํ อ่านว่า อัง - คัง อรหํ อ่านว่า อะ -ระ -หัง ทุติยํ อ่านว่า ทุ -ติ – ยัง ทิวารตฺตึ อ่านว่า ทิ- วา- รัด- ติง คลิก
ลองอ่านคำเหล่านี้ อทํ อ่านว่า................................... อทํ อ่านว่า................................... อํสโต อ่านว่า................................... พฺยคฺฆสฺส อ่านว่า.................................. ตฺยชฺช อ่านว่า.................................. สลฺลวิทฺโธ อ่านว่า.................................. กีฬึสุ อ่านว่า................................. ปุถุ อ่านว่า................................ ชิญฺชโรทกํ อ่านว่า............................... คลิกไปดูเฉลย
เฉลย อทํ อ่านว่า อะ -ทัง อํสโต อ่านว่า.อัง –สะ-โต อทํ อ่านว่า อะ -ทัง อํสโต อ่านว่า.อัง –สะ-โต พฺยคฺฆสฺส อ่านว่า..พฺยัก-คัด-สะ ตฺยชฺช อ่านว่า ตฺยัด -ชะ สลฺลวิทฺโธ อ่านว่า.สัน-ละ-วิด-โท กีฬึสุ อ่านว่า..กี-ลิง-สุ ปุถุ อ่านว่า..ปุ-ถุง. ชิญฺชโรทกํ อ่านว่า...ชิน-ชะ-โร-ทะ-กัง.... ถูกหรือเปล่า
เท่านี้ก็อ่านภาษาบาลีได้แล้วนะโยม ไปอ่านเรื่อง เวสสันดร กัณฑ์มัทรีกันได้แล้วนะคะ
สวัสดี