งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ลักษณะของพุทธศาสนานิกายเถรวาท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ลักษณะของพุทธศาสนานิกายเถรวาท"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ลักษณะของพุทธศาสนานิกายเถรวาท

2 เถรวาทไม่เน้นคำสอนในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อช่วยมหาชนให้มากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงตนเอง
นิกายเถรวาทต้องการการหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์อย่างรีบด่วน นิกายเถรวาทปฏิเสธเรื่องราวของพระพุทธองค์หลังปรินิพพานว่ามีอยู่หรือไม่มีอยู่

3 นิกายเถรวาทไม่ยอมรับในเรื่องสัตว์ทั้งหลายมีจิตเป็นสากล หรือพุทธภาวะที่แจ่มจรัสปราศจากกิเลส
เถรวาท ยึดมั่นอยู่ในธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแบบเดิมตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยกพระธรรมวินัยไว้ในฐานะอันสูงส่งและศักดิสิทธิ์ แม้พระไตรปิฎกก็ไม่เปลี่ยนแปลง คงรักษาของเดิมซึ่งเป็นภาษามคธเอาไว้เป็นหลักเป็นธรรมนูญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใครจะแปลเป็นภาษาอะไรก็แปลไป แต่ไม่ทิ้งของเดิมคงรักษาของเดิมภาษามคธเป็นหลัก

4 เถรวาทตั้งเป้าหมายและวิธีเพื่อบรรลุเป้าหมายไว้สูงและยาก ต้องอาศัยความตั้งใจจริง ๆ จึงจะกล้าดำเนินการตามเป้าหมายและบรรลุตรงเป้าหมายนั้น ทำให้สามัญชนโดยทั่วไปมองพระพุทธศาสนาในสิ่งสูงสุดยากที่จะเข้าถึง เกี่ยวกับอุดมคติในการดำเนินงาน การเผยแพร่เถรวาทมุ่งที่ตนเองก่อน คือตนเองต้องรู้ก่อนแล้วจึงสอนจึงช่วยผู้อื่น มิฉะนั้นจะนำอะไรไปช่วยเขาเมื่อตนเองยังไม่มีอะไร ยังไม่รู้อะไร

5 เถรวาท ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ
ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมีพระสงฆ์เป็นแกนกลางในการยึดมั่นของประชาชน พระสงฆ์จรรโลงพระพุทธศาสนา เป็นผู้นำ พุทธบริษัทอื่นเป็นผู้ตาม เถรวาท ถือเรื่องอริยสัจเป็นสำคัญ เถรวาท มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว คือ พระสมณโคดม หรือ พระศากยมุนี เถรวาท มีความมุ่งหมายเพื่อบำเพ็ญอัตตัตถาจริยา คือ ประโยชน์ส่วนตน ญาตัตถจริยาประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โลกัตถจริยา คือ ประโยชน์ต่อสัตว์โลก โดยเห็นว่าการที่เราจะช่วยผู้อื่นได้ เราต้องช่วยตัวเองให้มีหลักก่อน

6 เถรวาทมี บารมี ที่จะให้สำเร็จบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า 10 ประการมี ทาน, เนกขัมมะ, ปัญญา ,วิริยะ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา, ขันติ เถรวาท ในกายสาม เถรวาทยอมรับแต่ ธรรมกาย กับ นิรมาณกายบางส่วน นอกนั้นไม่รับ เถรวาท อาศัยพระไตรปิฎก คือธรรมวินัย ยุติตาม ปฐมสังคายนาเป็นหลัก

7 หลักธรรมของสายเถรวาทมักมีพื้น ฐานจากพระไตรปิฎกเป็นหลัก โดยเฉพาะอภิธรรมปิฎกเพราะรูปแบบของพระธรรมเชิงวิเคราะห์ (วิภัชชวาท) ที่เป็นส่วนสำคัญของพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกถึงกับว่านักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า แท้ที่จริงแล้ว เถรวาท ก็คือ นิกายวิภัชชวาทนั้นเอง พุทธศาสนาเถรวาทกำหนดลักษณะของนิกายด้วยการสืบต่อสายการอุปสมบท บนพื้นฐานของพระวินัยปิฎกเป็นหลัก พระเถรวาทในปัจจุบันปฏิบัติตามพระปาฏิโมกข์ 227 ข้อที่มีมาในพระวินัยปิฎกบาลี เป็นหลัก

8 หลักฐานเชิงคัมภีร์ของพระไตรปิฎก มีการต่อยอดด้วยคัมภีร์รุ่นหลังที่เรียกว่า อรรถกถาและฎีกา ซึ่งเป็นงานเขียนส่วนใหญ่ของท่านพระพุทธโฆสาจารย์ พระนักวิชาการชาวอินเดียที่มีชีวิตอยู่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 การปฏิบัติทางศาสนาของพุทธศาสนาเถรวาทมักจะวนเวียนอยู่กับพระรัตนตรัย คือพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์ การปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อพระรัตนตรัย เป็นจุดสำคัญของการบุญหรือการทาบุญ ซึ่งเป็นหลักสำคัญหลักใหญ่ของการปฏิบัติของเถรวาท


ดาวน์โหลด ppt ลักษณะของพุทธศาสนานิกายเถรวาท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google