งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์

2 อวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียง

3 เสียงในภาษาไทย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์

4 เสียงพยัญชนะ ก ค ง จ ช ซ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ร ล ว อ ฮ
ก ค ง จ ช ซ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ร ล ว อ ฮ ข้อสังเกต เสียงพยัญชนะเป็นเสียงที่ออกให้ดังยาวนานไม่ได้เหมือนเสียงสระ มีพยัญชนะบางเสียงที่ออกเสียงไม่ค่อยถูก เช่น [ร] เสียงกระทบ [ช] เสียงกักเสียดแทรก [ซ] เสียงเสียดแทรก [ร] [ล] ในคำควบกล้ำ

5 เสียงพยัญชนะ รูปพยัญชนะ
๑. ก ก ๒. ค ค ๓. ง ง ๔. จ จ ๕. ช ฉ ช ฌ ๖. ซ ซ ศ ษ ส ๗. ด ฎ ด ๘. ต ฏ ต ๙. ท ฐ ฑ ฒ ท ถ ธ ๑๐.น ณ น เสียงพยัญชนะ รูปพยัญชนะ ๑๑. บ บ ๑๒.ป ป ๑๓. พ ผ พ ภ ๑๔. ฟ ฝ ฟ ๑๕. ม ม ๑๖. ย ญ ย ๑๗. ร ร ๑๘. ล ล ฬ ๑๙. ว ว ๒๐. ฮ ห ฮ ๒๑..อ อ

6

7 เสียงสระ เสียงสระเดี่ยว
อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เอือะ เออ เสียงสระประสม เอีย (อี-อา) เอือ (อือ-อา) อัว (อู-อา) ข้อสังเกต เสียงสระออกเสียงได้ยาวนานกว่าเสียงพยัญชนะ สระบางตัวจะมีการออกเสียงต่างจากรูป เช่น น้ำ ความ

8 เสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์ระดับ คือ วรรณยุกต์ที่มีเสียงค่อนข้างคงที่ตลอดพยางค์ สามัญ เอก ตรี วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ คือ วรรณยุกต์ที่มีเสียงเปลี่ยนแปลงมากระหว่างต้นพยางค์กับท้ายพยางค์ โท จัตวา ข้อสังเกต เสียงวรรณยุกต์ช่วยบอกความหมายของคำ แต่บางครั้งเสียงวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ของผู้พูดก็มิได้ทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนไป

9

10 เสียงหนักเบา คำที่พูดเป็นคำพยางค์เดียว และเป็นคำสำคัญในประโยค จะลงเสียงหนัก เมื่อต้องการเน้นคำบางคำเป็นพิเศษ จะลงเสียงหนัก ต้องการเน้นคำพูดเป็นพิเศษอาจลงเสียงหนักทุกพยางค์หรือทุกคำ คำนามเมื่อใช้เป็นคำเรียกผู้อื่น มักลงเสียงหนัก คำซ้ำที่เน้นความหมายว่ามากขึ้น ลงเสียงหนักและยาวที่พยางค์หน้า คำที่เป็นคำประสม คำซ้อน ๒ พยางค์ อาจจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ ๒ หรืออาจจะลงเสียงหนักทั้ง ๒ พยางค์ก็ได้ คำที่มีมากกว่า ๒ พยางค์ มักลงน้ำหนักที่พยางค์สุดท้าย เมื่อนำคำมาประกอบเป็นประโยคถ้าลงน้ำหนักที่คำต่างกัน ความหมายของประโยคอาจเปลี่ยนไป

11 การลงเสียงหนัก เบาของคำ การลงเสียงหนัก-เบาของคำสองพยางค์ ขึ้น มีดังนี้
๑.ถ้าเป็นคำสองพยางค์ จะลงเสียงหนักที่ พยางค์ที่สอง เช่น คนเราต้องมีมานะ (นะ เสียงหนักกว่า มา) ๒.ถ้าเป็นคำสามพยางค์ ลงเสียงหนักที่ พยางค์ที่สาม และพยางค์ที่หนึ่ง หรือ พยางค์ที่สองด้วยถ้าพยางค์ที่หนึ่งและ พยางค์ที่สองมี สระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว (ลงเสียงหนัก ที่ ปัจ,บัน,กิจ,การ) ๓. ถ้าเป็นคำสี่พยางค์ขึ้นไป ลงเสียงหนัก ที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่น ๆ ก็ลง เสียงหนัก-เบาตามลักษณะส่วนประกอบ ของ พยางค์ที่มีสระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะ ท้าย เช่น ทรัพยากร (ลงเสียงหนักที่ ทรัพ, ยา, กร)


ดาวน์โหลด ppt เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google