ผู้วิจัย นายถนอมศักดิ์ บุญแฟง สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
รายงานการศึกษาวิจัย การศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2556 ปัญหาการวิจัย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นับวันปัญหาจะมีความซับซ้อน และ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง ตระหนักถึง ความสำคัญของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยครูที่ปรึกษา ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีความ เสี่ยงในด้านต่างๆ ผู้วิจัย จึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานดูแล ช่วยเหลือนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง ว่ามีสภาพปัญหาการดำเนินงานเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคใดที่ ควรจะแก้ไขปรับปรุงพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอส โกบ้านโป่ง ปีการศึกษา 2556
กรอบแนวคิดของการวิจัย จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย พบว่า แนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษา(2554) กล่าวถึงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา หรือครูประจำชั้น ผู้วิจัยได้นำมาใช้กับการกำหนดตัวแปรของงานวิจัยฉบับนี้ เนื่องจากสอดคล้องกับบริบทของสภาพปัญหาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของวิทยาลัย ตัวแปรต้น - ปวช. 1 - ปวช. 2 - ปวช. 3 - สาขาช่างเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง - สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง - สาขางานยานยนต์ ตัวแปรตาม สภาพปัญหาการดำเนินงาน ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปวช. - การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล - การคัดกรองนักเรียน - การส่งเสริมนักเรียน - การป้องกันและการแก้ไขปัญหา - การส่งต่อ
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ประชากรได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปี ที่ 1 , 2 และ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง จำนวน 619 คน ปีการศึกษา 2556 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนจำนวน 234 คน พิจารณาจาก การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยตาราง เครซี่ และมอร์แกน การเลือกสุ่ม นักเรียนทุกชั้นปีทั้งหมด 18 ห้อง ห้องละ 13 คนโดย วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (N = 210) โดยภาพรวม X S.D ระดับความ คิดเห็น อันดับที่ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 3.21 0.88 ปานกลาง 4 2. การคัดกรองนักเรียน 3.72 มาก 2 3. การส่งเสริมนักเรียน 3.89 1.04 1 4. การป้องกันและการแก้ไขปัญหา 3.41 1.16 3 5. การส่งต่อ 3.05 1.12 5 รวม 3.46 1.02
สรุปผลการวิจัย อันดับที่ 1 คือ การส่งเสริมนักเรียน พบว่า อยู่ใน ระดับมาก ครูที่ปรึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ จัดให้มีการยกย่อง ชมเชยนักเรียนที่ได้กระทำคุณงามความดีให้เป็นแบบอย่างแก่ นักเรียนทั่วไป อันดับที่ 2 คือ การคัดกรองนักเรียน พบว่า อยู่ใน ระดับมาก การดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างมีระบบ สร้างสาย สัมพันธ์ที่เหนี่ยวรั้งไม่ให้เด็กกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่การใช้ยาเสพติด
อันดับที่ 3 คือ การป้องกันและการแก้ไขปัญหา พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ครูมีบทบาทในการส่งเสริมความมีวินัย ที่มีคุณลักษณะไม่พึงประสงค์ โดยนักเรียนต้องการได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันดับที่ 4 คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่เหมาะสมรายบุคคล ควรมีการประสานงานกับงานแนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น
อันดับสุดท้าย คือ การส่งต่อ พบว่า อยู่ในระดับปาน กลาง ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญ และมีทัศนคติที่ดี ต่อนักเรียน มีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนทุกด้าน ต้องมีการ ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากร สำคัญในการดำเนินการ
ข้อเสนอแนะการทำวิจัยครั้งต่อไป จากผลการวิจัย คือ ให้ครูที่รับผิดชองงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนให้มากขึ้น เช่น การพูดคุย การทำความรู้จักกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งจะทราบข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคนอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการผิดระเบียบวินัย หรือกลุ่มที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ข้อเสนอแนะการทำวิจัยครั้งต่อไป จากผลการวิจัยฉบับนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยดี จึงเสนอให้ ทำวิจัยกับวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นสถานศึกษาในเครือข่ายเดียวกันแต่อยู่คนละจังหวัด