ผู้วิจัย อภิเชษฐ เพ็ชรอินทร์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต การปรับพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาของนักศึกษา ระดับชั้น กต.101 และสกต.101 สาขาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ผู้วิจัย อภิเชษฐ เพ็ชรอินทร์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
ปัญหาการวิจัย ผู้สอนได้ทำการสอนในรายวิชา กิจกรรมชมรม ในภาคเรียนที่ 2/54 กลุ่มผู้เรียนได้แก่นักศึกษาระดับ ชั้น ปวส.ปีที่ 1 ห้อง กต.101 และสกต.101 สาขาการตลาด จำนวน 15 คน ปรากฎว่ามีนักศึกษากลุ่มที่เข้าเรียนสาย 15-30 นาที เป็นประจำ จำนวน 5 คน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก หากไม่ดำเนินการแก้ไข จะทำให้นักศึกษากลุ่มนี้ไม่มีสิทธิ์สอบอย่างแน่นอน ผู้วิจัยซึ่งเป็นครูผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษา จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนเพื่อทำการปรับพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนของผู้เรียนให้ตรงต่อเวลาด้วยวิธีการเสริมแรงทางบวก
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อปรับพฤติกรรมให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลามากขึ้น
ผังสรุปสำคัญ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างประชากร นักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1 สาขาการตลาด ที่เรียนในรายวิชา กิจกรรมชมรม ภาคเรียนที่ 2/24 จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาที่เข้าชั้นเรียนสายเป็นประจำ จำนวน 5 คน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น การเสริมแรงบวกด้วยการให้คะแนนเพิ่มพิเศษ ตัวแปรตาม พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยตนเองจากการบันทึกพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ แบบบันทึกพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน
ผังสรุปสำคัญ (ต่อ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบบันทึกพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน โดยการเสริมแรงบวก ด้วยวิธีการนับจำนวนครั้งที่เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แล้วเสริมแรงบวกด้วยการให้คะแนนเพิ่มพิเศษ ทำการหาค่าร้อยละ โดยกำหนดค่าของคะแนนออกเป็น 5 ช่วง ๆ ละ 2 คะแนน ดังนี้ เข้าเรียนตรงเวลา 5 ครั้ง อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม 10 คะแนน เข้าเรียนตรงเวลา 4 ครั้ง อยู่ในระดับ ดี 8 คะแนน เข้าเรียนตรงเวลา 3 ครั้ง อยู่ในระดับ ปานกลาง 6 คะแนน เข้าเรียนตรงเวลา 2 ครั้ง อยู่ในระดับ น้อย 4 คะแนน 0 ครั้ง หมายถึง ไม่มาเรียน 0 คะแนน
สรุปผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง การปรับพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาของนักศึกษา ระดับชั้น กต.101 และ สกต.101 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต เพื่อปรับพฤติกรรมให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลามากขึ้น โดยวิธีการเสริมแรงบวกด้วยการให้คะแนนเพิ่มพิเศษ ดำเนินการโดย 1. สังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาระดับชั้น กต.101 และ สกต.101 จำนวน 15 คน ใช้เวลา 5 สัปดาห์ พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมที่เข้าชั้นเรียนตรงเวลา จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และนักศึกษามีพฤติกรรมที่เข้าชั้นเรียนไม่ตรงเวลา 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 2. พูดคุยข้อตกลง และบันทึกพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนโดยวิธีการเสริมแรงทางบวก ด้วยการให้คะแนนทุกครั้งที่นักศึกษาสามารถเข้าชั้นเรียนได้ตรงเวลาครั้งละ 2 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 10 คะแนนโดยใช้เวลา 5 สัปดาห์ พบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 คน เข้าชั้นเรียนตรงเวลาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนั้นการเสริมแรงบวกด้วยวิธีการให้คะแนนเพิ่ม จึงเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการเข้าเรียนไม่ตรงเวลาของนักศึกษาได้ดีอีกแนวทางหนึ่ง เพราะนักศึกษามีความพึงพอใจที่ได้รับคะแนนเป็นแรงเสริม ทำให้มีความกระตือรือร้นในการเข้าชั้นเรียนเร็วขึ้น เพื่อจะได้รางวัล หรือคำชมเชย จึงสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้กับการปรับพฤติกรรมของนักเรียนคนอื่นๆ ได้ต่อไป
ขอบคุณครับ