คำบุพบท เป็นคำที่เขียนนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยคให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน สวัสดีครับผม ด.ช. กันตณัฐ รัตกิจนากร ป.5/8 เลขที่ 45 ด.ช. กิรกฤต ปิณฑวิรุจน์ ป.5/8 เลขที่ 47 ขอนำเสนอ
๑.นำหน้าคำนาม เช่น นักเรียนอยู่ในโรงเรียน ← ใน เป็นคำบุพบท นำหน้าคำนามโรงเรียน ครูเขียนหนังสือบนกระดาน ← บน เป็นคำบุพบท นำหน้าคำนาม กระดาน ๒.นำหน้าคำสรรพนาม เช่น ฉันจะไปกับเธอ ← กับ เป็นคำบุพบท นำหน้าคำสรรพนาม เธอ บ้านของเขาอยู่ไกลมาก ← ของ เป็นคำบุพบท นำหน้าคำสรรพนาม เขา ๓.นำหน้าคำกริยา เช่น นักกีฬาออมแรงไว้สำหรับวิ่งแข่ง ← สำหรับ เป็นคำบุพบท นำหน้าคำกริยา วิ่ง เขาหยุดพักทำงานเพื่อนอน ← เพื่อ เป็นคำบุพบท นำหน้าคำกริยา นอน
๔.นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น วันวิสาข์แต่งหน้าตาจนสวย ← จน เป็นคำบุพบท นำหน้าคำวิเศษณ์ สวย เธอต้องพูดไปตามจริง ← ตาม เป็นคำบุพบท นำหน้าคำวิเศษณ์ จริง ๕.นำหน้าประโยค เช่น ฉันนั่งรอเขาจนกระทั่งเขาทำงานเสร็จ ← จนกระทั่ง เป็นคำบุพบทนำหน้าประโยค เขาทำงานเสร็จ ครูลบกระดานเพื่อลอกโจทย์ข้อใหม่ ← เพื่อ เป็นคำบุพบท นำหน้าประโยค ครูลอกโจทย์ข้อใหม่
คำบุพบทมีหลายชนิด ๑.บุพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น ใช้กำหนดคำนามหรือสรรพนามที่เป็นคำร้องเรียกหรือทักทายเกริ่นให้ผู้ฟังรู้ตัวไม่ได้ใช้สำหรับเชื่อมคำหรือข้อความที่ตามมา ได้แก่ ดูกร ดูก่อน ดูรา ข้าแต่ ซึ่งนำมาจากภาษาบาลี ในปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว -ข้าแต่ ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนามที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่ หรือใช้กับผู้ที่เคารพ ยกย่องนับถือ เช่น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าบรมศาสดา -ดูกร ดูก่อน ดูรา ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนามที่ผู้ใหญ่ใช้พูดกับผู้น้อย หรือใช้ กับผู้ที่เสมอกัน เช่น ดูกร เด็กน้อยเจ้าต้องการให้เราช่วยอะไร ดูก่อน สหายท่านควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน
๒.บุพบทที่ใช้เชื่อมกับคำอื่น เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยคให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ คือ ๒.๑ บุพบทนำหน้ากรรม ได้แก่ สู่ ซึ่ง ยัง แก่ เช่น ท่านนำความเจริญมา สู่บ้านเมือง คนเราต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน
๓.คำบุพบทบอกสถานที่ ได้แก่ ใน นอก บน ใต้ ที่ นอก ใกล้ ไกล เป็นต้น เช่น หนังสืออยู่ใต้ตู้ เขาวิ่งในอาคาร ๔.คำบุพบทบอกเวลา ได้แก่ เมื่อ ตั้งแต่ จน กระทั่ง จนกระทั่ง เป็นต้น เช่น เขามาทำงานตั้งแต่เช้า เมื่อเช้ารถติดมาก ๕.คำบุพบทบอกความประสงค์หรือความเกี่ยวข้อง ได้แก่ แด่ แก่ เพื่อ ต่อ ตาม สำหรับ ด้วย ทั้ง โดย ตาม เป็นต้น เช่น ดอกไม้ดอกนี้ขอมอบแด่คุณ ฉันตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้รับความรู้ ๖.คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ของ แห่ง เป็นต้น เช่น เงินของฉันหาย สภากาชาดแห่งประเทศไทย
คำถามคำบุพบท สู้ สู้ กันนะครับ
๑. “วันหยุดตามประเพณีของปีนี้ตรงกับวันศุกร์หลายวัน” ข้อใดไม่ใช่คำบุพบท ก. ตาม ข. ของ ค. หลาย
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๒. “คนบ้านนอกกำลังเก็บผลไม้ในสวนใส่เข่ง” คำใดเป็นคำบุพบท ๒. “คนบ้านนอกกำลังเก็บผลไม้ในสวนใส่เข่ง” คำใดเป็นคำบุพบท ก. นอก ข. ใน ค. ใส่
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๓. “คนจนต้องต่อสู้ดิ้นรนทำมาหากินจนร่ำรวย” ข้อใดถูกต้อง ก. จนคำแรกเป็นคำบุพบท ข. จนคำหลังเป็นคำบุพบท ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๔. “สินค้าในร้านนี้สั่งมาจากบริษัทของต่างประเทศ” ข้อความนี้มีคำบุพบทกี่คำ ก. 3 คำ ข. 4 คำ ค. 5 คำ
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๕. “ ฉันกับเธอเป็นเพื่อนกันมานานหลายปีแล้ว” คำใดเป็นคำบุพบท ก. กับ ข. กัน ค. นาน
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๖. “เสื้อผ้าที่วางอยู่ชั้นบนมีไว้สำหรับเปลี่ยนเมื่อนอน” คำใด ไม่ใช่คำบุพบท ก. บน ข. สำหรับ ค. เมื่อ
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๗. “ฉันนั่งรอตั้งแต่เช้ากระทั่งเย็น” ข้อใดถูก ก. ตั้งแต่เป็นคำบุพบท ข. กระทั่งเป็นคำบุพบท ค. ทั้งข้อ ก และ ข ถูก
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๘. “เขาเดินทางไปทำงานโดยรถปรับอากาศทุกวัน” ข้อใดถูกต้อง ก. โดยเป็นคำบุพบท ข. ทุกเป็นคำบุพบท ค. ทั้ง ก และข ถูก
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๙. “พนักงานของบริษัทขับรถโดยสารด้วยความประมาท” คำใดไม่ใช่คำบุพบท ก. ของ ข. โดย ค. ด้วย
กลับไปตอบใหม่นะครับ
๑๐. “คนไข้ของโรงพยาบาลแห่งนี้มาตามคำโฆษณา” ข้อใดผิด ก. ของเป็นคำบุพบท ข. แห่งเป็นคำบุพบท ค. ตามเป็นคำบุพบท
กลับไปตอบใหม่นะครับ
เก่งมาก ๆ เลยครับ