งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำวิเศษณ์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำวิเศษณ์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คำวิเศษณ์

2 คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อให้มีความหมายชัดเจนหรือต่างกันออกไปอาจใช้ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยก็ได้

3 คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด
๑)ลักษณะวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะของคำนั้นได้ชัดเจน ซึ่งแยกได้เป็น ๙ ลักษณะ - ลักษณะบอกชนิด เช่น ชั่ว ดี แก่ หนุ่ม สาว ฯลฯ - ลักษณะบอกสัณฐาน เช่น กลม รี แบน ฯลฯ - ลักษณะบอกขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ กว้าง ยาว ฯลฯ - ลักษณะบอกสี เช่น ขาว ดำ ชมพู ส้ม ฯลฯ - ลักษณะบอกเสียง เช่น ดัง เบา สูง ต่ำ ฯลฯ

4 - ลักษณะบอกกลิ่น เช่น หอม ฉุน เหม็น ฯลฯ - ลักษณะบอกรส เช่น หวาน มัน เค็ม เปรี้ยว ขม ฯลฯ - ลักษณะบอกสัมผัส เช่น นิ่ม นุ่ม ฯลฯ - ลักษณะบอกอาการ เช่น ช้า เร็ว ฯลฯ ๒) กาลวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์บอกเวลา เพื่อประกอบให้คำนั้นมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น จะมีคำว่า เช้า สาย บ่าย เย็น ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น วันนี้อ๊าทมาโรงเรียนแต่เช้า แม็กตื่นสายเลยมาโรงเรียนไม่ทัน

5 ๓) สถานวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์บอกสถานที่ มักจะมีคำว่า ไกล ใกล้ ห่าง ชิด ริม ขอบ เหนือ ล่าง ใต้ บน ดังตัวอย่างเช่น บ้านของพิมพ์ขวัญใกล้กับบ้านของจิรพนธ์ บ้านของสุพลอยู่ทางทิศเหนือ ๔) ประมาณวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนนับ หรือจำนวนประมาณ เช่น ๑ ๒ ๓ ที่๑ ที่๒ ที่๓ ฯลฯ ดังตัวอย่าง นรีลักษณ์สอบได้ที่๑ ส่วน พิชชาพรสอบได้ที่๓ กิติพลซื้อกางเกงยีนส์ ๓ ตัว

6 ๕) ประติเสธวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์แสดงปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ มักจะมีว่า ไม่ ไม่ใช่ มิ มิใช่ ไม่ได้ หามิได้ เช่น เขามิได้มาคนเดียว เขาพาพรรคพวกมาด้วย เขาไม่ทำก็ไม่เป็นไร เพราะเขาไม่ใช่ลูกของฉัน ๖) ประติชญาวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ มักจะมีคำว่า ครับ ขอรับ ค่ะ เช่น คุณครูคะหนูส่งงานค่ะ ใต้เท้าขอรับ รถมาแล้วขอรับ

7 ๗) นิยมวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ มักจะมีคำว่า นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เฉพาะ แน่นอน จริง เป็นต้น เช่น วิชาเฉพาะอย่างเป็นวิชาชีพ ฉันจะมาหาเธอแน่ๆ ๘) อนิยมวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ มักจะมีคำว่า ใด ไหน อื่น อะไร ใคร ฉันใด เช่น เธอพูดอย่างไร คนอื่นๆก็เชื่อเธอ เธออ่านหนังสืออะไรก็ได้

8 ๙) ปฤจฉาวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย มักจะมีคำว่า ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด ทำไม เช่น เธอจะทำอย่างไร อะไรอยู่บนชั้น ๑๐) ประพันธวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน มักจะมีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ ชนิดที่ ที่ว่า เพื่อว่า ให้ เช่น เด็กคนนี้เป็นเด็กฉลาดอย่างที่ไม่ค่อยได้พบ เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้เงินมาก

9 หน้าที่ของคำวิเศษณ์ ๑) ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
คนอ้วนกินจุ ( อ้วน เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม คน ) ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย ( หลาย เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม ตำรวจ )

10 (๒) ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น
เราทั้งหลายจงช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย ( ทั้งหลาย เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม เรา ) ฉันเองเป็นคนพูด ( เอง เป็นคำวิเศษณ์ขยายสรรพนาม ฉัน )

11 (๓) ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น
คนแก่เดินช้า ( ช้า เป็นคำวิเศษณ์ขยายกริยา เดิน ) นักกีฬาว่ายน้ำเก่ง ( เก่ง เป็นคำวิเศษณ์ขยายกริยา ว่ายน้ำ )

12 จัดทำโดย เด็กชาย กิติพล นิ่มวรรณ์ เลขที่ ๑ เด็กชาย กิตติวัฒน์ กล่อมสุภาพ เลขที่ ๒ เด็กชาย จิรพนธ์ รุ่งเรืองศรี เลขที่ ๔ เด็กชาย วัชรพล มุ่งมาตร์ เลขที่ ๑๑ เด็กชาย สมโภชน์ โสภา เลขที่ ๑๓ เด็กชาย สุพล สัญญาใย เลขที่ ๑๔ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒


ดาวน์โหลด ppt คำวิเศษณ์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google