4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2) นก. (Computer Network System) โดย อ.สมบูรณ์ ภู่พงศกร Chapter 1 Introduction
ประโยชน์ของเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การศึกษาเรียนรู้ ความรู้ใหม่ๆ ด้วยการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบการสื่อสาร การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็ว
ตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่ายความเร็วสูง ระบบโทรศัพท์มือถือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารในรูปแบบมัลติมีเดีย การส่งข้อมูลอื่นๆ ด้วย เช่นการส่งข้อมูลเสียง (Voice Mail) การประชุมทางไกล (Video Conferences) เป็นต้น
ความจำเป็นต้องเรียนรู้ เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูล 1. วิธีการจัดการเครือข่าย 2. ประเภทของเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับเครือข่าย 3. การออกแบบเครือข่ายให้มีความเสถียร (Robust) 4. การขยายเครือข่ายเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ประวัติและพัฒนาการของระบบการสื่อสารข้อมูล การพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการพัฒนาเครื่องจักรกลถือเป็นช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคของเครื่องจักรไอน้ำ เข้าสู่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบันถือว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประวัติและพัฒนาการของระบบการสื่อสารข้อมูล การพัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ในช่วงสองทศวรรษแรก ระบบคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างของการประมวลผลแบบรวมศูนย์โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หนึ่งเครื่อง และมีเทอร์มินอลเชื่อมโยง ค.ศ. 1950 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch) ต่อมาแบบออนไลน์แบตช์ (On-line batch) หรือระบบการรับงานจากระยะไกล ( Remote Job Entry : RJE ) ช่วงปี ค.ศ. 1970 ระบบเรียลไทม์ (Real Time)
ประวัติและพัฒนาการของระบบการสื่อสารข้อมูล การพัฒนาการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อจากปี ค.ศ. 1970 ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database) ช่วงปี ค.ศ. 1975 ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database) ช่วงปี ค.ศ. 1980 การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Processing)
ลักษณะของการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed System)
การสื่อสารข้อมูล จุดประสงค์ของการสื่อสารที่เหมือนกันคือ เป็นการส่งข่าวสาร (Information) จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง การสื่อสารข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านตัวกลางสื่อสาร
ภาพที่ 1.1 ตัวอย่างการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การสื่อสารข้อมูล ภาพที่ 1.1 ตัวอย่างการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ภาพที่ 1.2 ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การสื่อสารข้อมูล ภาพที่ 1.2 ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล ภาพที่ 1.3 องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูลมี 5 องค์ประกอบ คือ 1. ข้อมูล ข่าวสาร (Message) ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้สื่อสาร 2. ผู้ส่ง (Sender) ทำหน้าที่สร้างข้อมูล และนำข้อมูลส่งผ่านตัวกลางออกไปยังผู้รับ 3. ตัวกลาง (Medium) ตัวกลางสื่อสารที่ใช้เป็นเส้นทางหรือช่องทางในการส่งและรับข้อมูล 4. ผู้รับ (Receiver) มีหน้าที่รับข้อมูล แล้วนำมาแปลความหมายเพื่อนำไปใช้ หรือประมวลผลต่อไป 5. โพรโตคอล (Protocol) โพรโตคอลเป็นเกณฑ์วิธีหรือข้อตกลง ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการส่งและรับข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร ภาพที่ 1.3 องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการสื่อสาร ภาพที่ 1.4 ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการสื่อสาร
ตัวอย่างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการคือ 1. การนำส่งข้อมูล ระบบการสื่อสารจะต้องส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางได้ถูกต้อง 2. คุณลักษณะทั้งหมดของระบบการสื่อสาร คุณลักษณะทั้งหมดของระบบการสื่อสารจะถูกกำหนดและจำกัด ด้วยคุณลักษณะเฉพาะตัว 3. ผู้รับปลายทางได้รับข้อมูลถูกต้อง (Accuracy)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร 1. การนำส่งข้อมูล ระบบการสื่อสารจะต้องส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางได้ถูกต้อง 2. คุณลักษณะทั้งหมดของระบบการสื่อสาร คุณลักษณะทั้งหมดของระบบการสื่อสารจะถูกกำหนดและจำกัด ด้วยคุณลักษณะเฉพาะตัว ผู้รับปลายทางได้รับข้อมูลถูกต้อง (Accuracy) ผู้รับข่าวสารสามารถแปลความหมายและเข้าใจได้ถูกต้อง ทันเวลา (Timelines) ระบบจะต้องส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทาง ทันเวลาที่จะใช้งาน การส่งแบบทันทีหรือแบบเรียลไทม์ ( Real-time Transmission )
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร แสดงตัวอย่างการรบกวนที่เกิดขึ้นระหว่างการสื่อสาร
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร ตัวอย่างแสดงความไม่เข้าใจข่าวสารของผู้รับ
ระบบการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การตัดสินใจเลือกสื่อกลางแบบใด มีเหตุผลที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ 1.ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ มีความถูกต้องรวดเร็ว และค่าใช้จ่ายต่ำ 2.สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้ระบบการสื่อสารเกิดล้มเหลว หรือหยุดการทำงาน โดยมีการจัดเก็บข้อมูลสำรองที่ดี และมีระบบสำรองที่สามารถเข้ามาทำงานแทนที่ระบบเดิมได้ทันท่วงที เมื่อระบบเดิมเกิดความเสียหาย
ระบบการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องที่เชื่อมต่อด้วยสายสื่อสาร (Communication lines) ไปยังเทอร์มินอลหนึ่งตัว หรือหลาย ๆ ตัวก็ได้ โดยผ่านตัวควบคุมการสื่อสาร (Communications Controller)
ระบบการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ หน้าที่ประมวลผล ทั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์ 2.ตัวควบคุมการสื่อสาร หน้าที่ควบคุมระบบการสื่อสาร แทนคอมพิวเตอร์ 3.เทอร์มินอล หน้าที่เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทาง 4.สายสื่อสาร
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายมักจะใช้การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Processing) คือใช้การแบ่งงานให้คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องประมวลผลร่วมกัน แทนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพียงเครื่องเดียว รับผิดชอบในการประมวลผลหลายๆ งาน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ข้อดีของการประมวลผลแบบกระจาย มีดังนี้คือ 1. ซ่อนข้อมูลได้ดี (Security / Encapsulation) 2. จัดเก็บข้อมูลแบบกระจายฐานข้อมูล (Distributed Database) 3. แก้ปัญหาได้รวดเร็ว (Faster Problem Solving) 4. ระบบความปลอดภัยภายใต้ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Security through Redundancy) 5. การประมวลผลร่วมกัน (Collaborative Processing)