กลุ่ม ก้าวไกลกับไอทีที่ ศบกต. แนวทางการส่งเสริมการเกษตรโดยใช้ ศบกต. เป็นกลไกในปี 2555-2554
สมาชิกกลุ่ม นางสาวอารีนาถ กุณที พระนครศรีอยุธยา นางวงเดือน มณี สระบุรี นางวงเดือน มณี สระบุรี นางณภัทร ภูริผล ลพบุรี นายถาวร เสงี่ยมวงษ์ ลพบุรี นายสุรชัย มีทอง อ่างทอง นางสาวฉัตรแก้ว จันทร์คง สมุทรสาคร นายณรงค์ สำแดงเดช เพชรบุรี นางศิมาพร แสงอร่าม ราชบุรี นางสาวรัตติญา งามระบำ ราชบุรี นายชัยณรงค์ หงส์ทอง ประจวบคีรีขันธ์ นายสถิต อายุรพรรณ สระแก้ว นายกอบลาภ เขียวอุดม สระแก้ว นางกมลลักษณ์ ปลอดโปร่ง ชลบุรี นายอนันต์ พันสด นครนายก นายธีระ กิจเจริญ ระยอง นายมาฆะ จันทา 2
1. บทบาทและสถานะ ของ ศบกต. ประเด็น - เป็นจุดบริการร่วมด้านการเกษตรสามารถให้บริการแก่เกษตรกรทุกงานในด้านการเกษตร(One stop service) - จัดให้มีระบบสารสนเทศ บริการความรู้และสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตร (E-extention) - ให้ ศบกต. จัดเป็นหน่วยงานหนึ่งในสารบบของ อบต. (ส่วนงานเกษตร) เหตุผลประกอบ - เพื่อความสะดวกในการขอรับบริการของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และศบกต. เพื่อให้ อบต.สามารถดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างถูกต้อง
2. โครงสร้างและบทบาทของ ศบกต. ประเด็น - ให้ ศบกต. มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 15 คน ให้ นายก อบต. เป็นประธานศูนย์บริการฯ โดยตำแหน่ง ให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเป็นเลขานุการ ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยเลขานุการ - ให้คณะกรรมการศูนย์บริการฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ/รับรองข้อมูลด้านการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ เหตุผลประกอบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ศบกต. และเกิดการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาคี เพื่อให้คณะกรรมการศูนย์บริการฯ มีบทบาทในการทำงานในชุมชน มากขึ้น
3. บทบาทและการมีส่วนร่วมของ อปท. กับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน 3. บทบาทและการมีส่วนร่วมของ อปท. กับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ประเด็น - ให้ อบต.ตั้งงบประมาณในการ บริหารงานของ ศบกต. เหตุผลประกอบ - เพื่อให้ ศบกต.มีงบประมาณในการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ และเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
4. บทบาทของอาสาสมัครเกษตรหรือเกษตรหมู่บ้าน กับการมีส่วนร่วมของ ศบกต. 4. บทบาทของอาสาสมัครเกษตรหรือเกษตรหมู่บ้าน กับการมีส่วนร่วมของ ศบกต. ประเด็น ให้อาสาเกษตร เกษตรหมู่บ้าน เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ ให้มีส่วนร่วมในการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตร และการสำรวจภัยธรรมชาติ กำหนดให้อาสาสมัครเกษตร เกษตรหมู่บ้าน เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงานของ เลขานุการศูนย์บริการฯ(นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร) เหตุผลประกอบ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนางานและช่วยเหลือการปฏิบัติงานด้านการเกษตร
5.บทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตรระดับส่วนกลาง ภูมิภาค กับการสนับสนุนการดำเนินงานของ ศบกต. ประเด็น ให้กรมทำหนังสือแจ้ง อบต. และจังหวัด เรื่องการโอนเงินงบประมาณ 20,000 บาท ให้มีหลักฐานชัดเจน ให้กรมและหน่วยงานภาคี จัดประชุมสัมมนา เพื่อทบทวนและซักซ้อมความเข้าใจในการถ่ายโอนภารกิจทุกปี ให้กรมจัดหาสื่อและอุปกรณ์ในการถ่ายทอดความรู้ จัดส่งให้จังหวัด อำเภอ และกำหนดแผนถ่ายทอดความรู้ เป็นแผนประจำปี ให้รางวัลแก่ ศบกต. ดีเด่น โดยให้เลขานุการศูนย์บริการฯ ที่ได้รับรางวัล ได้รับการเลื่อนขั้น/เลื่อนระดับ เป็นกรณีพิเศษเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ควรมีเงินรางวัลเพื่อมอบให้แก่ ศบกต. ในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อให้เพียงพอแก่การนำไปพัฒนาศูนย์บริการฯต่อไป เหตุผลประกอบ เพื่อความชัดเจนในการดำเนินงานการถ่ายโอนภารกิจ ศบกต. และอปท.สามารถรับภารกิจดังกล่าวไปดำเนินการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เป็นเครื่องมือช่วยในการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแรงจูงใจในการพัฒนา ศบกต. อย่างต่อเนื่อง
6. การจัดตั้ง ศบกต.เพิ่มเติม ประเด็น จัดตั้ง ศบกต.เพิ่มเติมได้ ตามความต้องการของชุมชนและตามศักยภาพของพื้นที่ เหตุผลประกอบ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรในพื้นที่ในการรับบริการได้อย่างทั่วถึง
ขอบคุณค่ะ