ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อย ดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่ อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้อง เผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูก ทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ
และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลาย มากมายหลายแบบทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการ วิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และ แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ระบบที่ แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บาง เครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือ ถูกทำลาย
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มา พัฒนาเป็น INTERNET
ในที่สุด การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ - มหาวิทยาลัยยูทาห์ - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส - สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ. ศ และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จน เป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการ รับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบ ความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน
และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการ พัฒนามาตรฐานใหม่ พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้ คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกัน ได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ จาก ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถ ตอบสนองการสื่อสารได้
เว็บเพจ (Web Page) คือ หน้าพื้นที่สำหรับแสดงข้อมูล มีโครงสร้างหลักเป็นภาษา HTML เว็บไซต์ (Web Site) ประกอบด้วยเว็บเพจหลาย ๆ เว็บเพจรวมเข้าด้วยกัน อาจจะมีการจัดหมวดหมู่เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และสำหรับเว็บเพจที่เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ เราจะเรียกว่า โฮมเพจ (Homepage)
Static : หรือ Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ที่ไม่มีการติดต่อกับ Database และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นการนำเสนอเว็บไซต์แบบทางเดียว เหมือนกับการอ่านหนังสือ(Read Only) ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยภาษา HTML หรือ DHTML ซึ่งยุ่งยากต่อในการดูแลและปรับปรุง จึงทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยได้รับความนิยม
Dynamic : หรือ Web 2.0 เป็นเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ชมได้ มีการติดต่อกับ Database และเก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ประเภทนี้สามารถพัฒนาได้ด้วย Web Programming (ASP, PHP, ASP.Net, etc.) เป็นเว็บไซต์ที่มีระบบจัดการข้อมูล (Backoffice) สำหรับให้ผู้ดูแลเว็บไซต์หรือเจ้าของเว็บไซต์ให้สามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยง่ายผ่านทาง Security Login จากหน้าเว็บไซต์ โดยผู้ใช้งานจะต้องมี Username และ Password ส่วนตัวสำหรับเข้าไปแก้ไขข้อมูลในเว็บไซต์
HTML (HyperText Markup Language) คือ ภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจหรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์สำหรับภาษา SGMLในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTMLซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XMLแบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร