ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ นายวิเชียร อารยะสมสกุล เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์ นายสมุทร มากพันธ์
กิจกรรมเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์ การจัดทำข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ฯ โดยได้มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการของแต่ละคนตามความเหมาะสม ของงานที่มอบหมายและเฉพาะกิจ ดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ทุกเดือน ๆ ละ 1 - 2 ครั้ง เมื่อมีงานหรือภารกิจเร่งด่วนหรือตามความจำเป็น ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล โดยผ่านกระบวนการเวทีประชาคมประชาชนมีส่วนร่วม ร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการฯ อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์ (ต่อ) การประสานงานเพื่อจัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์บริการฯ สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้กับเกษตรกรและกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในตำบล เช่น ปัจจัยการผลิต การตลาด เป็นต้น จัดทำข้อมูลพื้นฐานประจำตำบล โดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูล เพื่อบริการแก่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน แปลงสาธิต ตามความต้องการของเกษตรกร สนับสนุนการทำวิสาหกิจชุมชน ร่วมกันผลิตและจำหน่าย การเตือนภัย แจ้งข้อมูลข่าวสาร ภัยธรรมชาติ และภัยจากศัตรูพืช การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทุกกิจกรรมของศูนย์บริการฯ ให้ประชาชนได้รับทราบ
กิจกรรมเด่นด้านกิจกรรมศูนย์บริการฯ ดีเด่น เรื่อง การเกษตรพอเพียง ชื่อกิจกรรม การเพาะเห็ดภูฐาน การเลี้ยงปลากินพืช การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาดุก การทำปุ๋ยหมักและการผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เอง และการขยายพันธุ์พืช สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผลผลิต /ผลิตภัณฑ์ เห็ดภูฐาน ปลากินพืช ไข่ไก่ ปลาดุก ปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพ และการขยายพันธุ์พืช
กิจกรรมเด่นด้านจุดถ่ายทอดวิทยากรเกษตรกรดีเด่น จุดถ่ายทอดเรื่อง การเกษตรผสมผสาน สถานที่ตั้ง 24 หมู่ 1 ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ชื่อวิทยากรประจำจุดถ่ายทอด นายวิรังโก ดวงจินดา ความเชี่ยวชาญของวิทยากรเกษตรกร การผสมพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืชและการตลาด ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรทั่วไป และเป็นผู้ที่เสาะแสวงหาพันธุ์พืชใหม่ ๆมาสู่ชุมชน ตลอดจนตำบลใกล้เคียง
กิจกรรมเด่นด้านการให้บริการความรู้การเกษตร ที่เกษตรกรพึงพอใจมากที่สุด กิจกรรมเด่นด้านการให้บริการความรู้การเกษตร ที่เกษตรกรพึงพอใจมากที่สุด การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ การผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เกษตรพอเพียง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าเพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้กับครัวเรือน การตรวจวิเคราะห์ดิน
ผลงานด้านการจัดการความรู้ (KM) การบังคับแก้วมังกรให้ออกนอกฤดู โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปโดยใช้ฮอร์โมนกระตุ้นตาดอก โดยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้ เลือกตาที่สมบูรณ์ที่มีลักษณะนูนและสมบูรณ์ แกะหนามที่ตาออก ใช้พู่กันเบอร์ 0 จุ่มฮอร์โมนเร่งตาดอกและป้ายตาที่เตรียมไว้ ควรปฏิบัติช่วงเช้า และให้น้ำช่วงเช้า – เที่ยง หลังจากป้ายฮอร์โมน ประมาณ 7 - 10 วันตาดอกจะเริ่มแตกตาดอกออกมา ผลผลิตตั้งแต่เริ่มทำการบังคับจนหมดฤดูกาล ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – ธันวาคม ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 – 2,500 กก./ไร่
ผลงานด้านการจัดการความรู้ (KM) (ต่อ) การทำเชื้อไตรโครเดอร์มาใช้เอง เตรียมหัวเชื้อไตรโครเดอร์มา หุงข้าวสวยอย่าให้สุกเกินไป เตรียมถุงพลาสติก ขนาด 4 + 6 นิ้ว ตักข้าวสวยที่สุกใหม่ๆประมาณ 2 .5 ขีด ใส่ในถุงพลาสติก ขนาด 4 + 6 นิ้ว ใส่เชื้อไตรโครเดอร์มา พอประมาณ แล้วเขย่าถุงข้าวคลุกเคล้าให้ทั่ว มัดปากถุงให้สนิทแล้วใช้เข็มเจาะรูบนปากถุงเพื่อระบายอากาศ นำไปไว้ในสถานที่มีอุณหภูมิปกติอากาศถ่ายเทสะดวก ประมาณ 7 วันเชื้อเจริญเต็มถุงสามารถนำไปใช้ได้
ผลงานอื่นๆ โครงการหนึ่งตำบล 1 ฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงไก่ไข่ไว้บริโภคในครัวเรือน การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด การปลูกผักพื้นบ้าน การทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว การปลูกไม้ดอก การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม (ต่อ)