ความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
รายละเอียดกิจกรรมโครงการฯ
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
ชี้แจงการสัมมนากลุ่มย่อย
วิสัยทัศน์ มุ่งสู่สังคมคุณภาพบนพื้นฐานความรับผิดชอบร่วมกัน
วิสัยทัศน์จังหวัดพะเยา “เมืองเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
แนวคิด ในการดำเนินงาน
การพัฒนาสังคม Social Development 5 : 16 ธ.ค. 54.
แผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยุทธศาสตร์จังหวัดกระบี่
HR Way Organization Chart HRM HR Strategy Job Description HR Scorecard
วิสัยทัศน์ สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร มีความเข้มแข็ง เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ และสมาชิกอยู่ในสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข.
สรุปการประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 4-5 เมษายน 2555 สรุปการประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 4-5 เมษายน 2555.
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ (Vision) ปี
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
สรุปโครงสร้างของ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์
นโยบายด้านการบริการวิชาการ
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สวัสดิการสังคมไทย ในแผนฯ 11
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประชุมพิจารณา ร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556
การสัมมนา การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี คณะเทคโนโลยีพ. ศ
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
กรอบทิศทางการพัฒนา เด็กและเยาวชน
แผนปฏิบัติการยะลาเข้มแข็ง ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
ยุทธศาสตร์การวิจัยฉบับที่ 8 ( ) vs ยุทธศาสตร์และแผนวิจัยระบบสาธารณสุข
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ 30 มิถุนายน 2549
แผนปฏิบัติราชการการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
การประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย/คณะ
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภายในปี 2554 (ระยะ 4 ปี) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า) ประชาชน.
ผังจุดหมายปลายทางการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และ ภัยสุขภาพ ของจังหวัดในพื้นที่ สปสช.เขต 4 จังหวัดสระบุรี ภายในปี 2556 (ระยะ 4 ปี)
สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
องค์กรนำการปศุสัตว์ไทย
สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
แผนปฏิบัติราชการ พ.ศ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
การบริหารงานจังหวัดลพบุรีแบบ บูรณาการ กพร.- TRIS 18/05/2549.
วัตถุประสงค์ และผลผลิตหลักโครงการ
“การพัฒนาสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง”
ยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดมหาสารคาม.
นโยบายด้านบริหาร.
นโยบายสาธารณะกับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร
“ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
(ร่าง) แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
กรอบยุทธศาสตร์กระทรวงในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ พ. ศ ของ วท
- อาจารย์ - บุคลากร - นักศึกษา ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภท งานวิจัยตามพันธกิจ และอัตลักษณ์ของ มหาวิทยาลัย.
สรุปการประชุมระดมความคิด
ยุทธศาสตร์จังหวัดชัยนาท
หลักการ และแผนงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2551 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 กรกฎาคม 2550.
"วาริชภูมิน่าอยู่ ผู้คนสุขภาพดี ภาคี เข้มแข็ง"
4. ด้านการสื่อสาร 5. ด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะ
แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศ
ผู้สอน อ.ศรีวรรณ ปานสง่า
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ความเสี่ยงและการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศ
“สังคมคุณภาพเพื่อผู้สูงอายุ”
วิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอ ภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
หน่วยที่ ๗ แนวโน้มสังคมไทย และแนวทางเลือก.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จิระพันธ์ กัลลประวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2554 ได้นำไปใช้ประกอบการจัดทำนโยบายรัฐบาลและการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน มีตัวชี้วัดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจนหลายเรื่อง อาทิ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นไปอย่างกว้างขวาง เศรษฐกิจมีภูมิคุ้มกันหลายด้าน การจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาสังคมเพิ่มขึ้น ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 อย่างต่อเนื่อง สำหรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่กำลังจัดทำในปีนี้เป็นแผนระยะปานกลาง 5 ปี ที่มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยมีสาระสำคัญของแผนฯ สรุปได้ดังนี้

กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559)     ส.ค. 51 – ส.ค. 52 ก.ย. 52 – ก.ย. 53 ต.ค. 53 – มิ.ย. 54 ก.ค. – ก.ย. 2554  ร่างกรอบวิสัยทัศน์ และทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11  การจัดทำร่างทิศทาง การพัฒนาของแผนฯ 11  ยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11  อนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ปรังปรุงร่างแผนฯ 11นำเสนอคณะ กก.สศช. (ก.ค. 54) แต่งตั้งคณะกก. จัดทำแผนฯ 11 คณะทำงานจัดทำเอกสารฯ และจัดประชุมระดมความคิดเห็น แผนฯ 11 ประชุมหารือศิษย์เก่า สศช. ศึกษาวิจัยเฉพาะด้าน ประชุมระดมความคิดเห็นระดับชุมชน/หมู่บ้าน ระดับภาค รายงานความก้าวหน้าคณะกก.สศช. (7 มิ.ย. 53) เสนอร่างทิศทางแผนฯ 11 ต่อ กก.สศช. พิจารณา (12 ก.ค. 53) ยกร่างรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 รายงานความก้าวหน้า คณะ กก.สศช. ประชุมประจำปี 2551 “วิสัยทัศน์ประเทศไทย..สู่ปี 2570” ประเมินผล 2 ปี แผนฯ 10 ประชุมประจำปี 2552 “จากวิสัยทัศน์ …สู่แผนฯ 11 รายงานความก้าวหน้า กก.สศช. เสนอร่างแผนฯ 11 ให้ ค.ร.ม.พิจารณาโดยส่งให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาก่อน (ส.ค. 54) คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ (ก.ย. 54) ทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ร่างกรอบวิสัยทัศน์ 2570 และแนวคิดทิศทางแผนฯ 11 (ก.ค.52) จัดประชุมประจำปี 2553 ”ทิศทางของแผน 11” (6 สิงหาคม 2553) ลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (1 ตุลาคม 2554) จัดประชุมประจำปี 2554 “ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11” (มิ.ย. 54) เสนอทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนฯ 11 ต่อ ค.ร.ม. (ก.ย. 53)

..กรอบทิศทางของแผนฯ 11.. เป็น"แผนยุทธศาสตร์“ ยึดวิสัยทัศน์ปี 2570 น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ นำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันในอีก 5 ปี ข้างหน้า ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งในการสร้าง ความเข้าใจร่วมกัน การร่วมคิด และร่วมขับเคลื่อนแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ กรอบทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เป็น "แผนยุทธศาสตร์" ที่ยึดวิสัยทัศน์ประเทศไทยปี 2570 น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง ประเด็นการพัฒนามาจากการวิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งความเสี่ยงที่ต้องเผชิญที่นำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศใน 5 ปี ข้างหน้า การจัดทำแผนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน การร่วมคิดและร่วมขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

ทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 5 ความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงภายนอก 1. การบริหารภาครัฐที่อ่อนแอ 2. โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน 3. โครงสร้างประชากรไม่สมดุล 4. ค่านิยมที่ดีงามของไทยเสื่อมถอย 5. ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงกฎ กติกาโลก แนวโน้มการพัฒนาไปสู่ความเป็นโลก หลายศูนย์กลาง “ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ภาวะโลกร้อน ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน 6 ภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี 1. ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ 3. การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4. สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม 5. ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ 6. ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีความเป็นเอกราช เป็นมิตรกับนานาประเทศ การเปลี่ยนแปลงภายใน การเงินเข้มแข็ง การคลังขาดสมดุล เกษตร ต้นทุนสูง พื้นที่/แรงงานจำกัด อุตสาหกรรมพึ่ง ต่างประเทศ บริการ/ท่องเที่ยวมีโอกาส ประเด็นการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ประเทศต้องเผชิญ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนถึงประเด็นการพัฒนาประเทศที่ควรพิจารณา ได้ดังนี้ เร่งสร้างสังคมให้สงบสุข โดยเทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวมศรัทธาความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมมือกันฝ่าวิกฤติและสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เร่งขยายผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นค่านิยมร่วมทั้งสังคม ทำให้รากฐานสังคมและเศรษฐกิจแข็งแกร่ง พร้อมทั้งเสริมสร้างภาคราชการ การเมือง และประชาสังคมให้เข้มแข็งภายใต้วัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ถูกต้องเหมาะสม มีธรรมาภิบาล เป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมไทยในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งด้านสติปัญญาและจิตใจให้พร้อมรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้ และร่วมพัฒนาฐานรากของสังคมไทยให้เข้มแข็งในทุกมิติการพัฒนา สามารถสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปภายใต้สังคมคาร์บอนต่ำ รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ พัฒนาภาคเกษตรให้คงอยู่กับสังคมไทยและสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้ทุกคน จากสภาพภูมิประเทศและที่ตั้งของประเทศไทยที่เอื้ออำนวย ทำให้การทำเกษตรมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้เกษตรกรมีศักยภาพ และความพร้อมในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพในปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงดูคนในประเทศ และส่งเป็นสินค้าออกสนองความต้องการของประเทศต่างๆ สามารถเป็นผู้นำการผลิตและการค้าในเวทีโลก รักษาความโดดเด่นของสินค้าอาหารที่ต่างประเทศชื่นชอบ ปรับปรุงการบริหารจัดการของภาครัฐให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นอุปสรรคต่อการก้าวต่อไปในอนาคตทั้งโครงสร้างสังคม โครงสร้างเศรษฐกิจ และโครงสร้างอำนาจ การแก้ปัญหาดังกล่าว ต้องให้ความสำคัญกับภาครัฐที่มีอำนาจในการบริหารจัดการประเทศให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา ทำให้การพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในช่วงแผนฯ ๑๑ ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลและมีประสิทธิภาพ สังคมเปลี่ยนเป็นสังคมปัจเจก วัฒนธรรมไทย เชื่อมโยงกับต่างชาติ การศึกษา/สุขภาพดีขึ้น แต่ IQ EQ ของเด็ก ผลิตภาพแรงงาน การดูแล ผู้สูงอายุเป็นปัญหา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โลกร้อนกระทบภาคเกษตร ปัญหายากจน/ย้าย ถิ่น บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น พึ่งพลังงานจาก ต่างประเทศ

ประเด็นการพัฒนา เร่งสร้างสังคมให้สงบสุข มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพ พร้อมสู่สังคมฐานความรู้ พัฒนาภาคเกษตรให้คงอยู่กับสังคมไทย สร้างความ มั่นคงด้านอาหาร ปรับปรุงการบริหารจัดการของภาครัฐให้เอื้อต่อการ พัฒนาประเทศ เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้าง การมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา

ทิศทางของแผนฯ 11.. “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและ พลังงาน ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างปัจจัย แวดล้อม ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม มุ่งสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน ทรัพยากร การประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย ช่วยเหลือกลุ่มคนยากจน คนด้อยโอกาส แรงงานนอกระบบ/ต่างด้าว ชนกลุ่มน้อยให้เข้าถึงบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ภาคีพัฒนามีส่วนร่วมแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาทุกคนในสังคมไทยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ มีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญา มีจิตสำนึกวัฒนธรรมที่ดีงาม และรู้คุณค่าความเป็นไทย มีโอกาสและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน สร้างฐานภาคเกษตรให้เข้มแข็ง สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับผู้บริโภคทุกคนภายในประเทศ เป็นฐานการผลิตที่ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร สร้างความสมดุลในการใช้ผลิตผลการเกษตรเป็นอาหารและพลังงาน ตลอดจนจัดหาพลังงานให้มีความมั่นคงเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างปัจจัยแวดล้อม สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาคบนฐานปัญญา นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะกลางและระยะยาวอย่างสมดุล สร้างระบบประกันและบริหารจัดการความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการผลิต การค้า และการลงทุน รวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ สร้างเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ภายในประเทศที่เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค และพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นำไปใช้ในการยกระดับห่วงโซ่การผลิตและการให้บริการ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ที่เตรียมความพร้อมและปรับตัวเข้าสู่บริบทโลกและภูมิภาค รวมถึงประชาคมอาเซียน และสร้างความเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุนกับขั้วเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงและประเทศเพื่อนบ้าน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากศักยภาพของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศให้เด่นชัด รวมทั้งบรรเทาผลกระทบเชิงลบและประเด็นปัญหาร่วมระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ ขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศไปสู่การเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

แนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคม เสริมสร้างพลังทางสังคมให้ทุกคนสามารถแสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนให้จัดการปัญหาต่างๆ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นพลังร่วมในการพัฒนาสังคมไทย เสริมสร้างระบบบริหารราชการให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้เป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วน การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิพึงมีพึงได้ สร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจฐานราก ปรับระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต สนับสนุนการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ในการสร้าง ค่านิยมใหม่ พัฒนาความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมให้เข้มแข็ง อนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมที่ดีงาม เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองที่มีธรรมาภิบาล สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม สร้างโอกาสให้กลุ่มด้อยโอกาสเข้าถึงบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เสริมสร้างความมั่นคงให้คนยากจนมีความพร้อมรับผลกระทบจากวิกฤตต่างๆ เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจกและสร้างการ มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ เพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและสร้างการ มีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี คุณภาพสังคม (Social Quality)

แนวทางการพัฒนาคนสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ส่งเสริมคนไทยให้มีการเกิดที่มีคุณภาพและกระจายตัวเหมาะสมกับพื้นที่ พัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมไทยทีดี พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มี IQ EQ MQ 2) พัฒนาด้านวิชาการแก่เด็กวัยเรียน ทั้งมาตรฐานการศึกษา คุณภาพครู และพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสม 3) จัดให้มีกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา 4) พัฒนาสมรรถนะกำลังแรงงาน: ภาคเกษตร กำลังคนระดับกลาง กำลังคนด้าน S&T 5) พัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงด้านรายได้ นำความรู้มาใช้พัฒนาประเทศ 6) พัฒนาคนให้มีการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการ ที่ประกอบอาชีพได้หลากหลาย ควบคู่กับเสริมสร้างทักษะให้มี จิตสาธารณะ 5 ด้าน 1) สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของ คนไทยทุกคน 2) เสริมสร้างและพัฒนา แหล่งเรียนรู้ในรูปแบบ ที่หลากหลายและ สอดคล้องกับภูมิสังคม ควบคู่กับการใช้ ประโยชน์จากแหล่ง เรียนรู้ทั่วไป 3) สร้างปัจจัยสนับสนุนให้ เกิดการเรียนรู้ตลอด ชีวิต โดยพัฒนาองค์ ความรู้ของท้องถิ่น และ ปรับปรุงกฎระเบียบ 4) จัดระบบความสัมพันธ์ของสวัสดิการทางสังคมให้เชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ควบคู่กับกระจายอำนาจให้ชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพและรักษาระดับอัตราเจริญพันธุ์ให้เหมาะสม 2) มุ่งพัฒนานโยบาย สาธารณะที่เอื้อต่อ สุขภาพอย่างมีส่วนร่วม ควบคู่กับส่งเสริมให้ ชุมชนท้องถิ่นมีความ เข้มแข็งในการ ดำเนินการด้านสุขภาพ 3) ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายตัวของประชากรให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และฐานข้อมูลของการย้ายถิ่น 1) เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี และวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักของสังคมมีบทบาทหลักในการ หล่อหลอม บ่มเพาะเด็ก/เยาวชน และปลูกจิตสำนึกกลุ่มคนต่างๆ ให้มีวัฒนธรรมและค่านิยม ที่ดีงาม 3) ส่งเสริมองค์กรธุรกิจในการดำเนินงาน ที่รับผิดชอบต่อสังคม

การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน แนวทางการพัฒนา 1 พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน 2 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและสร้างมูลค่า 3 สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร 4 สร้างความมั่นคงด้านอาหารและหลังงานในระดับครัวเรือน และชุมชน 5 สร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็งภาคเกษตร 6 ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความสมดุลด้านอาหารและพลังงาน

ขอบคุณ www.nesdb.go.th