Participation : Road to Success บทบาทการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย ของ สนย. Participation : Road to Success โดย… นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 30 มีนาคม 2549
แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ต้องการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ที่สำคัญขององค์กรที่เป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างคนและองค์กร เกิดความเป็นเจ้าของ คนที่ใกล้ชิดปัญหามากที่สุด คือผู้ที่ตัดสินใจในการแก้ปัญหา ดีที่สุด การนำเอาศักยภาพของผู้ปฏิบัติมาใช้
ความเกี่ยวข้องผูกพัน ข้อผูกพัน ข้อตกลง เป้าหมาย หรือพันธกิจ ขององค์กร ความเกี่ยวข้องผูกพัน กระบวนการมีส่วนร่วม
(Learning Organization) การมีส่วนร่วม : ยุทธศาสตร์นำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) 1. การรวมพลังของทุกคนในองค์กร (Synergy) 2. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ จะสร้างสัญญาผูกพัน (Commitment) 3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน สามารถพัฒนา ศักยภาพให้กับคนในองค์กร (Competence)
การมีส่วนร่วมหัวใจ ของการบริหารงาน การมีส่วนร่วมหัวใจ ของการบริหารงาน ร่วมติดตามผล 8 ร่วมรับประโยชน์ 5 ร่วมคิด 1 การบริหาร แบบมีส่วนร่วม ร่วมรับผิดชอบ4 ร่วมวางแผน 2 ร่วมทำ 3
เทคนิคและวิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. การประชุมระดมความต้องการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมปรึกษาหารือ 2. การบริหารแบบยึดวัตถุประสงค์ (MBO) 3. การจัดเวทีประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคน ภายในองค์กรหรือระหว่างองค์กร 4. การใช้ระบบข้อมูล เพื่อการตัดสินใจและการวางแผน 5. การจัดระบบการสื่อสารที่ดี แสดงความชัดเจนทั่วถึง เข้าใจง่าย เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง
ความคุ้มค่าด้านงาน 1. ได้รับทราบข้อเท็จจริงของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดเริ่มต้นจึงสามารถ หาแนวทาง/หรือตัดสินใจเลือกดำเนินการต่างๆ ได้ตรงกับสถานการณ์ และทันเวลา 2. เกิดความคิดหรือข้อเสนอใหม่ๆ ได้มากขึ้น นำไปสู่การเพิ่มคุณภาพของ การตัดสินใจทางการบริหารเพิ่มมากขึ้น 3. เกิดการต่อต้านน้อยลง กรณีมีการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญหายเกิดขึ้น 4. การสื่อสาร 2 ทาง จะช่วยลดการสูญเสีย และช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการบริหาร 5. เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงาน
ความคุ้มค่าด้านคน 1. เกิดการพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรให้สามารถปลดปล่อยสมรรถนะ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ๆ 2. เกิดความพึงพอใจในงาน สร้างแรงจูงใจและข้อผูกพันระหว่างคน และองค์กรมากขึ้น รวมไปถึงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น 3. เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร เพราะมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร พลังการทำงาน จึงพร้อมยอมมอบให้องค์กรชนิดที่เรียกว่าให้หัวจิต หัวใจกันเลย
ข้อจำกัดที่ไม่เอื้อให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. ทัศนคติของนักบริหารและผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ยอมรับการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพราะผู้บริหารกลัวสูญเสียอำนาจ 2. กระบวนการมีส่วนร่วม มีขั้นตอน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาก ทำให้ต้องใช้เวลา อาจล่าช้าไม่ทันสถานการณ์ 3. สังคมไทยทั่วไปมุ่งเน้นความเคารพนับถือผู้อาวุโส นักบริหาร ที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิสูงกว่าของคนในองค์กร ผู้ที่อ่อนอาวุโสกว่า จึงแสดงความเกรงใจ ไม่กล้า
เงื่อนไขความสำเร็จของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 1. มีมุมมองและยอมรับว่าทรัพยากรมนุษย์มีคุณค่า มนุษย์ทุกคนต่างก็เป็นคนดี มุ่งที่จะทำความดี หากได้มีการ จูงใจที่ถูกต้อง มนุษย์ทุกคนต่างมีความคิดริเริ่มที่ดี ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ หากได้ให้โอกาส หากผู้บริหารได้ให้โอกาสเรียนรู้ และพัฒนาตนเองกับผู้ปฏิบัติและผู้ปฏิบัติจะเติบโต และมีแรงจูงใจพร้อมรับผิดชอบ
เงื่อนไขความสำเร็จของการบริหารแบบมีส่วนร่วม (ต่อ) 2. สิ่งที่องค์กรต้องสร้างให้เกิด มุ่งพัฒนาองค์กรมากกว่านำองค์กร พัฒนาคน พัฒนางาน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความอดทน รอคอยความเจริญงอกงาม จัดเวทีการแสดงความคิดเห็นในการกำหนดนโยบาย มาตรการต่างๆ อย่างกว้างขวาง สร้างบรรยากาศการทำงาน และพัฒนาทีมงานมากกว่ารายบุคคล เปิดยอมรับฟังความคิดเห็น รับฟังคำวิพากษ์ วิจารณ์ ยึดหลักการทำงานอย่างเป็นกระบวนการมิได้มุ่งเน้นแต่ปริมาณงาน หรือผลงานเป็นหลัก บริหารงานแบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง
ความร่วมแรง ร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สรุป ความร่วมแรง ร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตลอดจนความมุ่งมั่นของทุกคน ใน สนย. จะเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จขององค์กร Road to Success For ALL
Thank you Thank you & Thank you