นางสาวสุนันท์ อังเกิดโชค หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เอกสารประกอบการประชุม คณะทำงานบริหารศูนย์ข้อมูลอาเซียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤษภาคม เวลา ๐๙.๓๐ น. ห้องประชุม ๓ ชั้น ๔ อาคาร ๔ ชั้น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย นางสาวสุนันท์ อังเกิดโชค หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แนวคิดเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1. ยุทธศาสตร์ รู้ หมายถึง 1.1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจของ คนในองค์กร ทั้งภาครัฐ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ เอกชน
ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อม และปรับตัวในเชิงรุก ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ของอาเซียน “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตตลักษณ์ และหนึ่งประชาคม” “One Vision One Identity One Community” รูปธรรม คือ ภาษาเพื่อการสื่อสาร พัฒนามาตรฐาน เพื่อการร่วมมือเป็นประชาคมเดียวกัน
1.2) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอาเซียน รองรับการดำเนินการ ทั้ง 3 เสาหลัก (เสาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง ความมั่นคง)
2) ยุทธศาสตร์รับ หมายถึง การวางกรอบแนวทาง ยุทธศาสตร์ ของจังหวัด ให้สอดคล้องกับทิศทางของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 โดยจะต้องกำหนดบทบาทภารกิจที่ชัดเจนของหน่วยงาน บุคลากร ในการดำเนินการ และจัดทำโครงการ/กิจกรรมและงบประมาณดำเนินการ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3) ยุทธศาสตร์รุก หมายถึง ความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรของทุกภาคส่วนของจังหวัด ในการอยู่ร่วมกันและแข่งขันกับสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้ ซึ่งหน่วยงานและบุคลากรของทุกภาคส่วน ต้องรู้หรือคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดผลกระทบต่อจังหวัดในเรื่องใดบ้าง อาทิ
3.1 ผลกระทบต่อการผลิต ได้แก่ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม จะมีการเคลื่อนไหวของสินค้าในกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะได้รับผลกระทบทางด้านราคา และผู้บริโภค ซึ่งจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัด รวมทั้งการศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.2 ผลกระทบด้านการค้า การลงทุน และภาคบริการ ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ จากการเปิดตลาดของประชาคมอาเซียน จะมีการแลกเปลี่ยน การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว โดยมีการลงนามร่วมกันทางธุรกิจ การเคลื่อนตัวในการลงทุนอุตสาหกรรมระหว่างประเทศสมาชิก การเชื่อมโยงตลาด การท่องเที่ยว และภาคบริการอื่นๆ
3.3 ผลกระทบด้านแรงงาน อาชีพ และการจ้างงาน กิจการทั้งที่สงวน และเปิดเสรี 3.4 ผลกระทบด้านสังคม ชุมชน และวัฒนธรรมที่ร่วมหรือแตกต่าง 3.5 ผลกระทบด้านกฎระเบียบและสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร ดังนั้น จังหวัดจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทั้งความรู้ ในเชิงรับและรุกในการรับมือกับผลกระทบดังกล่าว โดย
1) การปรับปรุงพัฒนา ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ถนน น้ำ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
2) การพัฒนามาตรฐานการให้บริการด้านต่างๆ ได้แก่ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาฝีมือแรงงาน และภาคบริการอื่นๆ
3) การสร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ในการเชื่อมโยงสู่ประชาคมอาเซียนและอาเซียน + 6 ซึ่งจังหวัดจะต้องมีแผนงานรองรับ ทั้งการดำเนินการ ในพื้นที่จังหวัดและการไป Roadshow ที่ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
ตัวอย่าง แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ และกำหนดระยะเวลาการดำเนินการตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ รู้ รับ และรุก ของหน่วยงาน ที่สอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558
ขอบคุณ