ความก้าวหน้าของการจัดการ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประเด็นยุทธศาสตร์ : การควบคุมและป้องกันมลพิษ โดย นางสาวจงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16
ประเด็นยุทธศาสตร์ : การควบคุมมลพิษ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตและอุปโภคที่ส่งผลกระทบทางลบ ต่อระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในลุ่มน้ำ
มาตรการ 1. ลดการปล่อยสารอาหารจากชุมชน อุตสาหกรรม ฟาร์มสุกร และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา 2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบบำบัดน้ำเสีย และหรือปรับปรุงเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม 3. รณรงค์และประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักในปัญหามลพิษ 4. บริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง 5. ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและแหล่งกำเนิดมลพิษ 6. ปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชนในริมคลอง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัดแผนแม่บทประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การควบคุมและป้องกันมลพิษ พื้นที่แหล่งน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีคุณภาพน้ำไม่ต่ำกว่าประเภทที่ 3 (พอใช้) ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน ระยะสั้น (1 ปี : พ.ศ.2549) ค่าเป้าหมาย : 50% ระยะกลาง (5 ปี : พ.ศ. 2553) ค่าเป้าหมาย : 85% ระยะยาว (10 ปี : พ.ศ. 2558) ค่าเป้าหมาย : 100%
จุดติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
กราฟแสดงคุณภาพน้ำ ปี 2541-2549 85% 50%
ความก้าวหน้า ลดการปล่อยสารอาหารจากชุมชน อุตสาหกรรม ฟาร์มสุกรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา การกำกับติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ระบายน้ำทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ ในการลดมลพิษโดยเทคโนโลยีสะอาด และจัดโครงการนำร่องในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม
2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบบำบัดน้ำเสีย และ/หรือปรับปรุงเทคโนโลยีการบำบัดนำเสียที่เหมาะสม จัดทำระบบบำบัดน้ำเสียนำร่อง ถ่ายทอดเทคโนโยลีการจัดการน้ำเสียชุมชน การประเมินปริมาณน้ำเสียและปริมาณความสกปรก จากชุมชน ลงสู่แหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และลำปำ การบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อการฟื้นฟูคุณภาพน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำคาบสมุทรสทิงพระ
3. รณรงค์และประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักในปัญหามลพิษ เครือข่ายติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์ ฯลฯ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสารเม็ดทราย การจัดนิทรรศการเนื่องในวันสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม และในโอกาสต่างๆ 4. บริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง การเพิ่มขีดความสามารถระบบกำจัดที่ถูกสุขลักษณะที่มีอยู่เดิม การส่งเสริมและสนับสนุนให้ อปท.มีการลดและคัดแยกขยะไปใช้ ประโยชน์
5. การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและแหล่งกำเนิดมลพิษ การจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษ การศึกษาและประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษ (Carrying Capacity)ของแหล่งน้ำใน ทะเลสาบสงขลา (คลองอู่ตะเภา)
ปัญหาและอุปสรรค ยังคงมีการปล่อยสารอาหารลงสู่แหล่งน้ำ ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังอยู่ในวงจำกัด การบูรณาการยังไม่เป็นรูปธรรม จิตสำนึกของผู้เกี่ยวข้องและประชาชนยังมีน้อย
กลยุทธ์ในการดำเนินการต่อไป เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุก อปท. โดยใช้กลไกของแผนปฎิบัติการในแต่ละท้องถิ่น ดำเนินการบูรณาการในระดับลุ่มน้ำสาขา และเชื่อมโยงกันเป็นลุ่มน้ำย่อย และลุ่มน้ำหลัก เป็นลำดับไป
ข้อมูลลำน้ำ ข้อมูลคุณภาพน้ำ ข้อมูลปริมาณน้ำเสีย และปริมาณความสกปรกที่ลงสู่แหล่งน้ำ บริหารจัดการ ตัดสินใจ มีส่วนร่วมและบูรณาการในทุก อปท. วางแผนปฏิบัติ ดำเนินการ
จุดเก็บตัวอย่างน้ำของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
คุณภาพน้ำของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ปี 2550
The end