ยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงพาณิชย์ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาผู้ประกอบการด้านสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Capacity Building) รณรงค์ สร้างความรู้ความเข้าใจ ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับตลาดแก่ผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้แปรรูป และผู้ส่งออก ประสานผลักดันให้มีความช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก สป./สนพ.
ยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงพาณิชย์ กลยุทธ์ที่ 2 การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในและต่างประเทศ (Market Expansion) สร้างความตระหนักและความเข้าใจในการหันมาบริโภคมากขึ้น (Awareness) สนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึกทั้งในและต่างประเทศ (Market Intelligence) จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Promotion) ส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน* ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น พัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ (Marketing Channel) ส่งเสริมนโยบายการจัดซื้อสินค้าโดยองค์กรของรัฐ / ภาคเอกชน(Public Green Procurement ) เช่น ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาล สป./สนพ. * เกษตรอินทรีย์ที่อยู่ในระยะการปรับเปลี่ยน หมายถึง สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ปลูกตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จนกระทั่งได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงพาณิชย์ กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ (Value Creation) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) ส่งเสริมการสร้างตราสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และยกระดับมาตรฐานสู่สากล โดยส่งเสริมให้มีการตรวจรับรองจากองค์กรของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ผลักดันและสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานที่ได้มาตรฐานสากล สป./สนพ.
ยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงพาณิชย์ กลยุทธ์ที่ 4 สนับสนุนการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ส่งเสริมเครือข่ายการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบต่างๆ ฝึกอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และ Supply Chain เพื่อลดต้นทุน และรักษาคุณภาพสินค้าจนถึงมือผู้บริโภค สป./สนพ.