แนวทาง การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ แนวทาง การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กลุ่มบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรม อนามัย http://laws.anamai.moph.go.th
ข้อกำหนดของท้องถิ่น ความหมาย หลักการ กฎหมายที่องค์กรปกครองท้องถิ่นตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติ) หลักการ 1. ต้องยึดหลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิดและไม่มีโทษ” 2. ต้องมีกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ 3. ต้องไม่เกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ 4. ต้องออกตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมาย(จัดตั้ง อปท.)กำหนดไว้
ปัจจัยสำคัญในการยกร่างข้อบัญญัติ อปท. 1. ต้องเข้าใจบทบัญญัติของกฎหมายแม่บท 2. ต้องเข้าใจปัญหาตามข้อเท็จจริงของท้องถิ่น 3. ต้องเข้าใจหลักวิชาการและเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา(มาตรการ) 4. ต้องมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ข้อแนะนำในการดำเนินงานยกร่างฯ 1. สำรวจข้อมูลพื้นที่ & ประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 2. ชี้แจงทำความเข้าใจ/สำรวจความเห็นของประชาชน 3. เสนอเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ความเห็นชอบในการใช้มาตรการด้านกฎหมาย 4. ควรมีคณะทำงานยกร่างฯ ประกอบด้วย - บุคลากรด้านกฎหมาย - บุคลากรด้านวิชาการ - ผู้แทนภาคผู้ประกอบกิจการ - ผู้แทนภาคประชาชน - อื่นๆ ตามความเหมาะสม
ขั้นตอนการยกร่างฯ 5. ควรมีการทำประชาพิจารณ์ร่างข้อบัญญัติ 6. เสนอต่อสภาท้องถิ่นพิจารณาและดำเนินตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง อปท. ต่อไป
การวางแบบร่างข้อกำหนดของท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) ชื่อ 2) บทนำ (การอ้างอิงอำนาจแห่งกฎหมาย) 3) บทนิยามศัพท์ (ขอบเขตความหมาย) 4) บทบังคับ 5) บทกำหนดโทษ (ต้องตามแม่บท) 6) บทเฉพาะกาล 7) บทท้าย 8) ส่วนแนบท้าย
Website : http://laws.anamai.moph.go.th
กลุ่มบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-4175 โทรสาร 0-2591-8180 e-mail : laws.anamai.mail.go.th Website : http://laws.anamai.moph.go.th