ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่ การบริหารงาน ๘ ประเด็น ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์(SRM) สู่การ ปฏิบัติการในพื้นที่ นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) นักวิชาการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ(สธ.) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(สปสช.) โทร 081-8855365, 081-9518499 E-mail:Suttipong_va@hotmail.com
“ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความ ตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา” หัวใจของความสำเร็จคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.ปรับกระบวนทัศน์ก่อน ใช้ “นวัตกรรมสังคม” ที่ปลุกให้ประชาชนค้นพบศักยภาพของตนเองและชุมชนและพร้อมที่จะร่วมมือกันพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว สภาวะแวดล้อม และสังคม งานนี้อาจสอดแทรกไว้ในกระบวนการสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ขั้นตอนแรก คือ การวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้แผนที่ความคิด (Mind Map) เจ้าหน้าที่ก็ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการเป็นผู้หยิบยื่นให้เป็นผู้สนับสนุน ให้อำนาจแก่ประชาชนในการคิด ตัดสินใจ
2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน วางเส้นทางเดินของยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเร็วที่สุด (คือวาง Road Map ในแผนที่ฯ SLM ที่ กรมอนามัยและกรมควบคุมโรคได้ร่วมกันสร้างจุดหมายปลายทางพร้อมทั้งแผนที่ฯฉบับปฏิบัติการ(SLM) เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากจะเกิดการเสริมพลังกันระหว่างกรมทั้งสอง คัดเลือกกลยุทธ์ที่สำคัญในเส้นทางนั้นมาดำเนินการก่อน ได้แก่ (1) การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เฉพาะประเด็น(2) การใช้กลยุทธ์พัฒนาบทบาทที่เหมาะสมของประชาชน
3.กลยุทธ์การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ งานขั้นแรกคือ จังหวัด/อำเภอต่างๆ ต้องสร้างกระบวนการสื่อสาร-เจรจาแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ตามประเด็นของพื้นที่ เช่น ใช้วิธีประชุมเชิงปฏิบัติการ ควรใช้เวลา 1-2 วัน เพื่อให้อำเภอและตำบลเรียนรู้กระบวนการทำงานโดยใช้แผนที่ทางยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้น อำเภอและตำบลดำเนินการปฏิบัติและปรับปรุงแผนปฏิบัติการภายใต้การแนะนำจากทีมนิเทศ/วิทยากรอีกระยะหนึ่ง
อปท.มีการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ผังจุดหมายปลายทางการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บูรณาการระหว่างกรมอนามัยกับกรมควบคุมโรค ภายในปี 2553 (ระยะ 2 ปี) กำหนดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า) ประชาชนสามารถเฝ้าระวังและติดตามสภาวะการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสมกับบริบทและร่วมมือกันปฏิบัติการตามนั้น ประชาชนมีมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมตามแต่กรณี ประชาชนมีหน้าที่ควบคุมดูแลสภาวะแวดล้อมทั้งทางกายภาพและที่เป็นนามธรรมให้เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพที่ดี ระดับภาคี(มุมมองเชิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) อปท.มีการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง อสม./ผู้นำชุมชน/ประชาสังคมในพื้นที่สามารถพัฒนาชุมชนให้สามารถตัดสินใจและแสดงบทบาทการพัฒนาสุขภาพและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมได้ ภาคีเครือข่ายการพัฒนาทุกระดับ(ระดับกรม/เขต/สสจ./อปท.) สนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง
ระดับกระบวนการ(มุมมองเชิงกระบวนการภายใน) ผังจุดหมายปลายทางการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บูรณาการระหว่างกรมอนามัยกับกรมควบคุมโรค ภายในปี 2553 (ระยะ 2 ปี) กำหนดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ระดับกระบวนการ(มุมมองเชิงกระบวนการภายใน) มีการบริหารจัดการภาคีเครือข่ายทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบสนับสนุนการพัฒนาแบบบูรณาการ มีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการวางแผนงานโครงการพร้อมระบบกำกับติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการสื่อสารหลายรูปแบบที่เข้าถึงทุกครัวเรือน มีระบบการจัดการนวัตกรรมกระบวนการพัฒนาสุขภาพ ระดับพื้นฐานองค์กร(มุมมองเชิงการเรียนรู้และพัฒนา) องค์กรมีคุณลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ข้อมูลสุขภาพและสังคมมีคุณภาพและทันสมัย ชุมชน บุคลากรและองค์กรร่วมมีกระบวนทัศน์และสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง
SLM ร่วมของกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค แสดง Road Map (เส้นสีแดง) ประชาชนปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ประชาชน ชุมชน มีมาตรการทาง สังคม ชุมชนมีโครงการของชุมชนโดย ชุมชน ชุมชน มีระบบเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิภาพ อปท.ร่วมตัดสินใจ ขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง กลุ่ม องค์กรในและนอกพื้นที่มีบทบาท ภาคี หน่วยงานภาครัฐทุกระดับสนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง การจัดการนวัตกรรมที่ดี ระบบสื่อสารสารสนเทศมีประสิทธิภาพ กระบวนการ ระบบบริหารจัดการองค์กรและภาคีเครือข่ายมีประสิทธิภาพ องค์กรมีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน ระบบข้อมูลมีคุณภาพ พื้นฐาน บุคลากร แกนนำมีสมรรถนะที่เหมาะสม
ดำเนินกลยุทธ์และกิจกรรมสำคัญ 6 จุดของ Road Map (แสดงวันที่กิจกรรมสำคัญจะแล้วเสร็จตามที่คาดคะเนด้วย) ประชาชนปรับเปลี่ยน พฤติกรรม * อปท.มอบอำนาจและสนับสนุนให้คณะ อสม.เป็นผู้สร้างโครงการและดำเนินงาน * อปท.มอบอำนาจและสนับสนุนให้ กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้สร้างโครงการและดำเนินงาน ชุมชนมีโครงการของชุมชนโดยชุมชน ประชาชน ชุมชน มีมาตรการทาง สังคม ชุมชน มีระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ * มอบอำนาจการควบคุมจัดการให้ท้องถิ่น จัดทำข้อตกลงร่วม (MOU) กับ อปท. พร้อมเงื่อนไขการมอบอำนาจและการสนับสนุน อปท.ร่วมตัดสินใจ ขับเคลื่อนและสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง กลุ่ม องค์กรในและนอกพื้นที่มีบทบาท ภาคี หน่วยงานภาครัฐทุกระดับสนับสนุนและประสานงานอย่างเข้มแข็ง *ส่งเสริมการจัดทำแผนงาน/โครงการร่วมกับท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรชุมชน - ปรับแผนตำบลให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการไข้หวัดใหญ่ *กำหนดแผนปฏิบัติการไข้หวัดใหญ่ฯ -สร้างกระบวนการติดตามและ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ระบบสื่อสารสารสนเทศมีประสิทธิภาพ การจัดการนวัตกรรมที่ดี กระบวนการ ระบบบริหารจัดการองค์กรและภาคีเครือข่ายมีประสิทธิภาพ *สร้างเสริมทักษะการใช้แผนทีฯยุทธศาสตร์ - ประชุมปฏิบัติการเรื่องแผนที่ฯยุทธศาสตร์ ปฏิบัติการ(SLM) เน้นประเด็นเฉพาะ องค์กรมีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน ระบบข้อมูลมีคุณภาพ พื้นฐาน สมรรถนะที่เหมาะสมของบุคลากรแกนนำ
กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์/พฤติกรรม ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการ ของท้องถิ่น/ตำบล เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์/พฤติกรรม CSF (หัวใจของความสำเร็จ) ดำเนินมาตรการทางสังคม (กิจกรรมสำคัญ) สร้างโครงการชุมชน (กิจกรรมสำคัญ) ใช้ข้อมูล /สื่อสาร/ ความรู้(กิจกรรมเสริม) ดำเนินงานคัดกรอง/ เฝ้าระวัง CSF (หัวใจของความสำเร็จ) ประชาชน องค์กรใน / นอกพื้นที่มีบทบาท ภาคี อปท.ขับเคลื่อน สาธารณสุขสนับสนุนวิชาการ
4.ปรับจุดหมายปลายทางและแผนที่ฯฉบับปฏิบัติการ ร่วม ควรใช้แนวทางที่กำหนดไว้แล้วในจุดหมายปลายทางและ SLM ร่วม แต่อาจปรับตามความเหมาะสมได้ นิยามกล่องบนสุดของแผนที่ฯ SLM (ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)ให้ชัดเจน โดยพิจารณาว่า “ประชาชน” หมายถึงใคร (เช่นกลุ่มต่างๆ) และ “พฤติกรรม” ที่ต้องการให้ประพฤติหรือเปลี่ยนแปลงคืออะไร สร้างตาราง 11 ช่อง และแผนปฏิบัติการ ระยะแรกนี้ ให้สร้างเฉพาะเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่กำหนดโดย Road Map ก่อน เพื่อให้งานเดินหน้าไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นเป้าประสงค์สุดท้ายของแผนที่ฯโดยเร็วที่สุด
5.การดำเนินการตาม Road Map คือ กลยุทธ์ที่สำคัญเร่งด่วน จัดตั้งคณะผู้จัดการนวัตกรรม ที่มีสมาชิกคละกันหลายระดับตั้งแต่จังหวัดไปจนถึงระดับท้องถิ่น นพ.สสจ.เป็นประธาน ทำข้อตกลงระหว่างสาธารณสุขกับท้องถิ่น มอบอำนาจให้ดำเนินการโดยระบุอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในแผนที่ฯ SLM ให้คณะ อสม. ในท้องถิ่นเป็นผู้จัดตั้งโครงการและดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามและเฝ้าระวังฯ ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน วางโครงการดำเนินมาตรการทางสังคม โครงการทั้งหมดนำเข้าสู่เวทีประชาคมเพื่อให้การรับรองและกำหนดเป็นแผนตำบลในโอกาสต่อไป
6.ใช้กลยุทธ์พัฒนาบทบาทประชาชน ใช้กระบวนการนี้ทันทีที่มีการสร้างแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น/ ตำบล แล้วเสร็จ ทบทวนแผนงานโครงการของตำบล แล้วปรับปรุงให้เข้ากับแผนปฏิบัติการที่ได้สร้างขึ้น ให้ความสำคัญกับการดำเนินมาตรการทางวิชาการที่กำหนดโดยส่วนกลางให้ควบคู่ไปกับมาตรการทางสังคม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกันคิดสร้างมาตรการทางสังคมด้วย เพื่อความถูกต้องตามหลักวิชาการ ควรปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันระหว่างประชาชน ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก่อนใช้
7.พัฒนาองค์ประกอบของแผนที่ฯSLM ส่วนที่อยู่นอก Road Map เมื่อเริ่มงานไปแล้ว ให้หันกลับมาพัฒนาส่วนอื่นๆของแผนที่ฯต่อไป การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของประชาชน หากจะให้ยั่งยืน ย่อมต้องการยุทธศาสตร์มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ให้พิจารณาใช้ประโยชน์จากโครงการเฝ้าระวังที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยคณะ อสม. รวมทั้งโครงการเกี่ยวกับมาตรการทางสังคมด้วย ระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่นำไปสู่ความสำเร็จของเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์อื่นๆอีกหลายข้อ
8.สำหรับองค์ประกอบอื่นๆของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นอกเหนือจากระดับประชาชน และระดับภาคี แล้วเช่น ในกระบวนการหรือพื้นฐาน ควรให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้แล้วในแผนที่ฯฉบับปฏิบัติการ (SLM) ที่เป็นต้นแบบ
สวัสดี นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) นักวิชาการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ(สธ.) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(สปสช.) โทร 081-8855365, 081-9518499 E-mail:Suttipong_va@hotmail.com