บทที่ 5 นโยบายต่างประเทศ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย ดุลแห่งอำนาจ วิธีที่รัฐสร้างนโยบาย วิธีใช้นโยบายของรัฐ เครื่องมือที่รัฐใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบบนานาชาติ หรือระบบโลก ปัจจัยสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จัดทำโดย จ.ส.ต.หญิงชญา ยุวารี ลำดับที่ 75
นโยบายระหว่างประเทศ นโยบายระหว่างประเทศ หมายถึง นโยบายของรัฐใดรัฐหนึ่งที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมระหว่างประเทศของตนเอง ข้อสำคัญคือ การดำเนินนโยบายจะต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและปฏิบัติตามพันธสัญญาที่มีต่อกัน
2.ระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ 1.ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 5. กำลังทหาร 3. ทรัพยากรธรรมชาติ 2.ระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ 4.จำนวนพลเมืองและความสำนึกในชาตินิยม
ที่ตั้งภูมิศาสตร์ ประเทศที่เป็นเกาะ จะมุ่งการเสริมสร้างกลังทางเรือและอากาศ หรือประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะจะมีความปลอดภัยจากการรุกรานของต่างชาติมากกว่าประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับรัฐอื่น
ระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ประเทศกสิกรรม จะมีวัตถุดิบและสินค้าการเกษตร จึงทำให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศจะผูกพันกับประเทศอุตสาหกรรม 2.ประเทศอุตสาหกรรม จะขาดแคลนวัตถุดิบ จะดำเนินนโยบายการผูกมิตไว้กับประเทศกสิกรรม และอาศัยเป็นแหล่งระบายสินค้าของตน
ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากหรือน้อยมีนโยบายต่างประเทศต่างกัน จะวางนโยบายการควบคุมการสั่งเข้าหรือส่งออกช่วงสงคราม ทำการแข่งขันเพื่อรักษาทรัพยากร ประเทศยากจนหันไปขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นหรือไม่ก็ดำเนินนโยบายเป็นกลาง
จำนวนพลเมือง ประเทศที่มีทรัพยากรน้อยแต่มีพลเมืองมาก จะดิ้นรนหาดินแดนเพิ่ม เพื่อระบายพลเมือง ส่วนประเทศที่มีประชากรน้อยและด้อยพัฒนามักจะชวนให้ต่างประเทศมาลงทุนในประเทศของตน
กำลังทหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความมั่นคงและเกียรติภูมิ บางประเทศพยายามสร้างแสนยากนุภาพและดำเนินการรวยกลุ่มทหารเพื่อป้องกันตนเองและความั่นคง นโยบายต่างประเทศที่เป็นแนวปฏิบัติองรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐอื่น จะมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
การดำเนินนโยบาย การกระทำที่รัฐได้กระทำลงไปตามที่ได้ตัดสินใจโดยผู้มีอำนาจ โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายที่รัฐวางไว้ และมีเครื่องมือทางเศรษฐกิจ การทหาร สังคม การเมือง การทูต กฎหมาย การโฆษณาชวนเชื่อและอื่นๆ
การกำหนดนโยบายต่างประเทศของแต่ละรัฐต้องให้สอดคล้องกับความต้องการภายในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เมื่อพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ฝ่ายรัฐบาลต้องดำเนินการแถลงนโยบายของตน นโยบายภายในและต่างประเทศ ผ่านขบวนการรัฐสภา
ระดับทั่วไปของหลักผลประโยชน์ รักษาความดำรงอยู่ของรัฐ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม คุ้มครองพลเมืองของคนที่อยู่ในต่างประเทศและรักษาสิทธิความคุ้มกันทางการทูตของชาติตน รักษาดุลอำนาจ
ดุลอำนาจ (Balance of Power) ดุลอำนาจเป็นสิ่งจำเป็นในอันที่จะรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การมีอำนาจคือการสร้างความปลอดภัยของชาติหนึ่ง หรือการสร้างอำนาจของชาติหนึ่ง ย่อมไม่เกิดความปลอดภัยอีกชาติหนึ่ง
วิธีการสร้างดุลอำนาจ
สะสมกำลังอาวุธ เป็นการเสริมอำนาจให้กับประเทศพร้อมด้วยปริมาณและคุณภาพ