สรุปผลการติดตามกิจกรรมของโครงการ R3 ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส วันที่ 11 กย.2554 ตำบลตันหยงมัส และตำบลโคกเคียน
กิจกรรมที่ติดตามอยู่ในแผนงาน 6.33 สนับสนุนอาชีพ คำถามที่ต้องการทราบ วางแผนงานอาชีพของตนเองจากงบนี้ ผลการดำเนินการเป็น การติดตามจาก R3 ครอบครัวดีขึ้นหรือไม่ ดีขึ้นเพราะเงิน งบประมาณ หรือคำแนะนำการหนุนเสริมจากโครงการฯ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง จนท.โครงการ R3 คือ นางสาวฮาลีเมาะ มะดือเระ และนางสาวรอกีเยาะ สาเมาะ เป็นผู้ประสานและนำไปพบผู้รับทุนในพื้นที่ ผู้นำกลุ่มที่ทำกิจกรรมคือ นางฮาซานี ยานามานิง เป็นผู้ประสานงานอาสาในพื้นที่ และเป็นผู้ประสานผู้รับผลกระทบอีก 36 รายมา และโครงการ R3 ได้ดำเนินการประชุมคัดกรองที่ รร.แหลมทองวิทยา ตันหยงมัส ผ่านมารับทุนได้ จำนวน 18 คนและได้รับทุนไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554
ผลการดำเนินการจากพื้นที่ รายที่ 1 นางฮาซานี ยานามานิง อายุ 37 ปี เป็นหญิงยากไร้ หม้ายลูก 4 คน รับเงิน 5000 บาทในปี 2554 โดยเงินทุนที่ได้รับมีการแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้ทำน้ำยาล้างจานขาย ส่วนที่ 2 เป็นทุนซื้อผ้าคุมและเสื้อผ้ามาขายผ่อนแก่คนในหมู่บ้าน ได้ทำงานที่อำเภอระแงะโครงการ 4500 เป็นแกนนำกลุ่มออมทรัพย์สัจจะ ปัจจุบันมีสมาชิก จน. 104 คน แต่ละคนต้องออมเงินร่วมกัน 100 บาท/เดือน ในกลุ่มยังมีกิจกรรมการทำน้ำยาล้างจานขายอีกด้วย การทำน้ำยาล้างจานเรียนรู้จาก นางสม โกศัยกานนทร์ ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดยะลา ครอบครัวดีขึ้นมาก เมื่อเข้าร่วมโครงการนี้
ผลการดำเนินการจากพื้นที่ รายที่ 2 นางนูรีซัน เปาะแมลีซอ อายุ 35 ปี มีสามี และมีลูก 2 คน รับทุน 5000 บาทมาเพื่อขายส้มตำในหมู่บ้าน มีรายได้ 150 บาท/วัน แต่ช่วงเดือนบวชที่ผ่านมาได้หยุดขายมาจนถึงวันนี้ ตอนนี้ได้ไปช่วยน้าขายตุ๊กตาที่ตลาดตันหยงมัส และตนเองได้นำตุ๊กตาไปขายในร้านของน้า ทำให้มีรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง กิจกรรมอาชีพที่รับทุนหยุดดำเนินการไปชั่วคราว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการดำเนินการต่อไปในอนาคต
ผลการดำเนินการจากพื้นที่ รายที่ 3 นางซูซีลา หะยีมะเย็ง อายุ 31 ปี ลูก 2 คน แฟนเคยถูกยิงจากเหตุการณ์ความไม่สงบ บ้านอยู่ ตำบลกาลีซา รับทุน 5000 บาท มาทำน้ำยาล้างจานขายทำงานที่อำเภอ โครงการ 4500 บาทด้วย สามารถดำเนินกิจกรรมอาชีพได้ค่อนข้างดีมากเนื่องจากได้รับการหนุนเสริมจากทางราชการ เช่นการนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในที่ต่างๆ เป็นสมาชิกในเครือข่ายผู้ได้ความสูญเสียของจังหวัดนราธิวาสด้วย
ผลการดำเนินการจากพื้นที่ รายที่ 4 นางพิกุล นพสุวรรณ อายุ 43 ปี ไม่มีลูก สามีแยกกันอยู่ รับทุน 5000 บาท ไปปลูกผักริมรั้วขาย เช่น ตะใคร้ ใบมะกรูด อาชีพอื่นๆ เป็นครูพี่เลี้ยงที่ รร.เจริญศึกษา 4000 บาท/เดือน รับจ้างซักรีดเสื้อผ้า 2 ราย เดือนละ 1000 บาทและ ขายมีสทีนด้วยมีรายได้ 2000 บาท/เดือน กิจกรรมอาชีพที่ได้การหนุนเสริมทุนจากโครงการ ยังขาดการพัฒนาอย่างจริงจัง เนื่องจากผู้รับทุนประกอบอาชีพหลายอย่าง สมควรแนะนำให้ผู้รับทุนพัฒนางานที่ประกอบอาชีพด้วย
ผลการดำเนินการจากพื้นที่ รายที่ 5 นางเจ๊ะเปาะ กาเจ อายุ 48 ปี ลูก 10 คน สามีเสียชีวิตแล้ว รับทุนปี 2553 เพื่อขายของหวาน กิจกรรมอาชีพตามที่ขอทุนไว้หยุดดำเนินการแล้ว แต่ไปทำงานอื่น เช่น ไปรับจ้างบริษัทที่มาปรับปรุงสนามบิน บ้านทอน การขายของหวานพบว่าเมื่อขายในร้านกาแฟทั่วไป มักจะเหลือ และเกิดการขาดทุน ไม่จูงใจให้ผู้รับทุนสนใจที่จะดำเนินการต่อไปมากนัก R3 อาจต้องเข้าให้คำปรึกษาเพิ่มมากขึ้น และแนะนำให้ผู้รับทุนนำเงินทุนไปประกอบกิจกรรมอาชีพอื่นๆแทน
ผลการดำเนินการจากพื้นที่ รายที่ 6 นางรอบียะห์ ยูโซ๊ะ อายุ 48 ปี มีลูก 6 คน รับทุน 5000 บาท เพื่อขายก๊วยเตี๋ยว ตั้งแต่ ปี 2553 แต่กิจกรรมอาชีพเลิกไปแล้ว เนื่องจากที่ รร.หน้าบ้านนั้นจัดระบบให้นักเรียนกินอาหารใน รร. ห้ามออกนอกโรงเรียน จึงไม่สามารถขายอาหารได้ ผู้รับทุนไปประกอบอาชีพอื่น เช่น ไปทำงานปรับปรุงสนามบินบ้านทอน ทำงานคัดปลาที่สะพานปลา นราธิวาส ยังไม่มีผลชัดเจนว่าเงินทุนที่ได้รับมีส่วนช่วยปรับปรุงครอบครัวให้ดีขึ้นหรือไม่ R3 อาจต้องเข้าให้คำปรึกษาเพิ่มมากขึ้น และแนะนำให้ผู้รับทุนนำเงินทุนไปประกอบกิจกรรมอาชีพอื่นๆแทน
ข้อเสนอแนะกิจกรรม ควรเพิ่มกิจกรรมการติดตามผู้รับทุนทุกรายในลักษณะการให้คำปรึกษามากขึ้น ซึ่งคิดว่าเงินทุนคงมีส่วนช่วยการประกอบอาชีพของผู้รับทุนบ้างแต่การให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่องน่าจะสำคัญกว่า การติดตามอาจใช้โทรศัพท์ด้วย ควรเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้รับทุนเชิงลึกในระบบฐานข้อมูลด้วย และควรนำมาวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการสนับสนุนและแนะนำแนวทางที่ดีแก่ผู้รับทุน กรณีที่ผู้รับทุนไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมที่ขอทุนไว้ R3 ควรเข้าชี้แนะแนวทางในการเปลี่ยนแปลงอาชีพไปสู่อาชีพที่เหมาะสมกว่า ไม่ควรปล่อยไว้
ฮาซานี ยานามานิง นูรีซัน เปาะแมลีซอ ซูซีลา หะยีมะเย็ง พิกุล นพสุวรรณ
เจ๊ะเปาะ กาเจ รอบียะห์ ยูโซ๊ะ