กรณีศึกษา แนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างกันของสองบริษัท คือ Dell และ Hewlett – Packard ว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร ศรีประเสริฐ รหัสนักศึกษา 542132028 สาขาการจัดการความรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างกันของสองบริษัท คือ Dell และ Hewlett – Packard ปัจจัยแห่งความสำเร็จของทั้งสองบริษัท (Key Success factors) บริษัท Dell HP กลยุทธ์ การประกอบเครื่องพีซีตามความต้องการของลูกค้า การมีสัมพันธภาพที่ดี และมีการตกลงกันก่อนล่วงหน้า KM การใช้ความรู้ซ้ำๆ การแลกเปลี่ยนความรู้ไว้ในแบบบุคคลสู่บุคคล เป้าหมาย นำเสนอบริการตามความต้องการอย่างสุดกู่ สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือสร้างนวัตกรรมใหม่
แนวทางการปฏิบัติของบริษัท Dell กลยุทธ์การแข่งขันของเดลล์ก็คือ การประกอบเครื่องพีซีตามความต้องการที่ราคาไม่แพง และขายตรงสู่ลูกค้า ระบบการจัดการความรู้ที่ซับซ้อนเป็นปัจจัยสำคัญอยู่เบื้องหลังรูปแบบทางธุรกิจนี้ เดลล์ได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมากในเรื่องของคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่บรรจุรายการของ ส่วนประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ตลอดเวลา
แนวทางการปฏิบัติของบริษัท Dell เดลล์ต้องลงทุนลงแรงในการมีสัมพันธภาพที่ดี และมีการตกลงกันก่อนล่วงหน้า เพื่อตัดสินใจและกำหนดคุณสมบัติต่างๆ แต่การลงทุนนี้ก็ให้ผลคุ้มค่า จากการที่ได้มีการใช้ความรู้ซ้ำๆ นั่นเอง ในปี 1997 เดลล์ส่งเครื่องพีซีได้ถึง 11 ล้านเครื่อง ระบบเหล่านี้ประกอบจากคุณสมบัติที่ต่างกัน ถึง 40,000 แบบ (โดยที่คู่แข่งโดยทั่วไปเสนอลูกค้าได้เพียง 100 แบบ) ที่มาของรูปภาพ : http://www.dell.com/ และhttp://onairnetwork.net/main/dell-saler/
แนวทางการปฏิบัติของบริษัท Hewlett – Packard Hewlett – Packard (HP) ได้ใช้แนวทางแบบบุคคลต่อบุคคลในการสนับสนุนกลยุทธ์ธุรกิจสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่างๆ เพื่อให้กลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จ ความรู้ ทางเทคนิคต่างๆ จะต้องส่งผ่านไปยังทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ทันการ บริษัทจึงได้จัดช่องทางของการแลกเปลี่ยนความรู้ไว้ในแบบบุคคลสู่บุคคล
แนวทางการปฏิบัติของบริษัท Hewlett – Packard ตัวอย่างเช่น พวกวิศวกรที่มักจะใช้เครื่องบินเป็นประจำเพื่อไปเยี่ยมแผนกอื่นๆ และร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความเป็นไปได้โดยใช้แนวทางแบบบุคคลสู่บุคคลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการประชุมกับแผนกต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงการร่วมประชุมใหญ่ในระดับบริษัท
แนวทางการปฏิบัติของบริษัท Hewlett – Packard ทีมงานของ HP เพิ่งได้พัฒนาเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (Oscilloscope) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยใช้ระบบปฏิบัติการและระบบการเชื่อมต่อบน Windows ที่มารูป : http://www.metrologygauge.com/osilloscope.htmและ ww8.hp.com/th/en/home.html
สรุปกรณีศึกษา อย่าใช้กลยุทธ์ซ้อนกัน บริษัทต่างๆ ที่มีการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิผลมักจะใช้กลยุทธ์อันใดอันหนึ่งเป็นหลัก และใช้อีกกลยุทธ์หนึ่งเป็นตัวสนับสนุนกลยุทธ์แรก ซึ่งน่าจะอยู่ในสัดส่วน ในโดยประมาณ 80 – 20 กล่าวคือ 80% ของการแบ่งปันความรู้ควรสนับสนุนด้วยกลยุทธ์หนึ่ง ขณะที่ 20% นั้นควรใช้อีกกลยุทธ์หนึ่ง