ลำดับพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน 1. ในช่วงเวลาราว 37,000-27,000 ปีมาแล้ว มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะทั้งประเภทเครื่องมือแกนหินและเครื่องมือสะเก็ดหิน
2. ในช่วงเวลาราว 9,000-7,500 ปีมาแล้ว มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะชนิดที่เรียกว่า"เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน"(Hoabinhian)
"เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน"(Hoabinhian) เป็นเครื่องมือหินกะเทาะประเภทแกนหินที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำ เครื่องมือหินกะเทาะชนิดนี้ พบครั้งแรกที่แหล่งโบราณคดีในแถบจังหวัดฮัวบินห์ ในประเทศเวียดนาม เนื่องจากในช่วงของการพบครั้งแรกนั้น นักโบราณคดีผู้พบเห็นว่าเป็นเครื่องมือหินแบบเฉพาะที่ยังไม่เคยมีผู้ใดพบมาก่อน เมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่สามารถจัดเป็นของ วัฒนธรรมใดๆอันเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว จึงตั้งชื่อใหม่เรียกเครื่องมือหินชนิดนี้ว่า "เครื่องมือหินฮัวบิเนียน" ซึ่งหมายความว่าเป็นเครื่องมือแบบของพื้นที่แถบจังหวัดฮัวบินห์นั่นเอง
เครื่องมือหินกะเทาะบางชนิดที่จัดเป็นประเภทเด่นแสดงถึงชุดเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียน ประกอบด้วย
1. เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว เหลือผิวหินเดิม(cortex) ไว้มากบ้าง น้อยบ้าง มีทั้งทรงรูปไข่ ทรงสามเหลี่ยม ทรงแผ่นกลมแบน เป็นต้น ส่วนแบบที่เป็นทรงรูปไข่ที่กะเทาะผิวหินเดิมด้านหนึ่งออกจนหมดนั้น เรียกว่า เครื่องมือหินแบบสุมาตราลิทธ์(sumatraliths)
2. เครื่องมือหินกะเทาะ 2 หน้า มีรูปทรงต่างๆแบบเดียวกับเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว
3. ขวานสั้น(shortaxes) ซึ่งหมายถึงเครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดแม่น้ำให้มีรูปร่างคล้ายหัวขวาน โดยการกะเทาะหน้าเดียวหรือสองหน้า และมีการกะเทาะแนวขวางให้ปลายด้านท้ายหักออกเพื่อให้เป็นด้านด้ามของเครื่องมือ
4. เครื่องมือหินกะเทาะขัดฝนเฉพาะส่วนคมใช้งาน(edge-ground tools) หรือเครื่องมือหินขัดรุ่นเก่า(proto-neoliths) ซึ่งหมายถึง เครื่องมือหินกะเทาะเป็นรูปหัวขวานที่มีการขัดฝนเฉพาะด้านคมของเครื่องมือ ยังไม่ขัดเรียบทั้งชิ้น
5. เครื่องมือหินกะเทาะแบบอื่นๆ รูปทรงหลากหลาย มีทั้งที่เป็นเครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือแกนหิน รวมทั้งฆ้อนหิน
3. - ในช่วงเวลาราว 6,000-4,000 ปีมาแล้ว เริ่มมีการใช้เครื่องมือหินขัด หรือขวานหินขัด นอกจากนี้ก็มีการใช้ภาชนะดินเผา
แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง 1. สมัยต้น ราว 4,300-3,000 ปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงสมัยต้น