งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิวัฒนาการ วิวัฒนาการของมนุษย์....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิวัฒนาการ วิวัฒนาการของมนุษย์...."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิวัฒนาการ วิวัฒนาการของมนุษย์...

2 บรรพบุรุษของมนุษย์คือลิงจริงหรือ?
มนุษย์มีสายวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate) ซึ่งถือเป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพัฒนาการสูงที่สุด สืบเชื้อสายมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก อาศัยและห้อยโหนอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะสำคัญคือ สมองเจริญดีและมีขนาดใหญ่ มีขากรรไกรสั้นทำให้หน้าแบน ระบบสายตาใช้งานได้ดีโดยมองไปข้างหน้า ระบบการดมกลิ่นไม่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น มีเล็บแบนทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า มีพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน สัตว์ในกลุ่มไพรเมต ได้แก่ กระแต ลิงลม ลิง ชะนี อุรังอุตัง กอริลล่า ชิมแพนซีและมนุษย์

3 สัตว์ในกลุ่มไพรเมตมีวิวัฒนาการแยกออกเป็นสองสาย ได้แก่ โพรซิเมียน (prosimian) ดังแสดงด้วยเส้นสีฟ้า ซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตกลุ่มแรกๆที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ได้แก่ นางอายหรือลิงลม และลิงทาร์ซิเออร์ (tarsier monkey) ไพรเมตอีกสายหนึ่งคือ แอนโทรพอยด์ (anthropoid) ดังแสดงด้วยเส้นสีเทา ได้แก่ ลิงมีหาง ลิงไม่มีหางและมนุษย์

4 ลิงมีหาง สามารถแยกเป็นลิงโลกใหม่และลิงโลกเก่าซึ่งแตกต่างกันในการใช้หางเพื่อห้อยโหน ลิงโลกใหม่เป็น กลุ่มที่ใช้หางในการห้อยโหนได้ เช่น ลิงสไปเดอร์ (spider monkey) ลิงทาร์มาริน (tarmarins) เป็นต้น ส่วนลิงโลกเก่านั้นไม่สามารถใช้หางในการห้อยโหนได้ เช่น ลิงกัง ลิงแสม ลิงบาบูน เป็นต้น

5 ลิงไม่มีหางหรือเอพ (ape) มีสายวิวัฒนาการมาจากลิงโลกเก่า แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ชะนี อุรังอุตัง กอริลล่า และชิมแพนซี จากการศึกษาสารพันธุกรรมทำให้เราทราบว่า เอพแอฟริกา ได้แก่ กอริลล่าและชิมแพนซีนั้นมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากกว่าเอพเอเชีย ซึ่งได้แก่ ชะนีและอุรังอุตัง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 48 อัน ในขณะที่มนุษย์มี 46 อัน โดยเฉพาะชิมแพนซีนั้น มีหมู่เลือด ABO เช่นเดียวกับมนุษย์ และจากหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลพบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์มีความคล้ายกันกับชิมแพนซีถึง 98.4% นอกจากนี้หลักฐานดังกล่าวยังทำให้สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ ล้านปีที่ผ่านมา

6 จากการศึกษาและเปรียบเทียบจีโนมของสิ่งมีชีวิต ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณหาระยะเวลาโดยประมาณที่สัตว์ในกลุ่มไพรเมตมีวิวัฒนาการแยกออกจากกัน ดังแสดงในภาพ

7 ในช่วงปลายสมัยไมโอซีนมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลให้สภาพ แวดล้อมในธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป เช่น ป่าไม้ลดลงจนบางแห่งกลายเป็นทุ่งหญ้า ทำให้ที่อยู่อาศัยและปริมาณอาหารเปลี่ยนแปลงไป เกิดการแก่งแย่งกันของสิ่งมีชีวิต ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสายวิวัฒนาการของเอพไปสู่บรรพบุรุษของมนุษย์ที่สามารถยืนตัวตรงได้ มีการลดขนาดเขี้ยวและขยายขนาดฟันกราม

8 บรรพบุรุษของมนุษย์เริ่มปรากฏครั้งแรกในสมัยไมโอซีน ในราวประมาณ 4
บรรพบุรุษของมนุษย์เริ่มปรากฏครั้งแรกในสมัยไมโอซีน ในราวประมาณ 4.3 ล้านปีก่อน บรรพบุรุษที่มีความคล้ายมนุษย์มากที่สุดคือ ออสทราโลพิเทคัส (Australopithecus) ในปี พ.ศ.2518 นักบรรพชีวินได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสมบูรณ์ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ในเอทิโอเปีย และได้ตั้งชื่อตามบริเวณที่พบคือ Afar Triangle ว่า Australopithecus afarensis คาดว่า A. afarensis มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ล้านปีก่อน จากหลักฐานของลักษณะรอยเท้าที่ปรากฏในเถ้าภูเขาไฟ จากกระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกเชิงกรานทำให้สันนิษฐานได้ว่า A. afarensis มีแขนยาวจึงน่าสามารถดำรงชีวิตบางส่วนอยู่บนต้นไม้และสามารถเดินสองขาบนพื้นดินได้ดีแต่ก็ยังไม่เหมือนมนุษย์ มีความจุสมองประมาณ ลูกบาศก์เซนติเมตร มีฟันเขี้ยวที่ลดรูปลง ปัจจุบันเชื่อว่า A. afarensis เป็นบรรพบุรุษของออสทราโลพิเทคัสสปีชีส์อื่นๆ และมนุษย์จีนัสโฮโมด้วย

9 ภาพสันนิษฐานลักษณะของ A. afarensis
จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์รอยเท้าที่ปรากฏในเถ้าภูเขาไฟ

10 ซากดึกดำบรรพ์ของ A. afarensis พบที่เอธิโอเปีย หรือที่นักบรรพชีวินเรียกว่า ลูซี สูงประมาณ 1 เมตร

11 ซากดึกดำบรรพ์กระดูกกะโหลกศีรษะของ Australopithecus

12 วิวัฒนาการของมนุษย์จีนัสโฮโม
มนุษย์จีนัสโฮโมมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมา ซากดึกดำบรรพ์ของจีนัสโฮโมที่พบว่ามีอายุมากที่สุดคือ Homo habilis ในชั้นหินอายุ 1.8 ล้านปีทางตอนใต้ของแอฟริกา มีความจุสมองประมาณ 750 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร มีกระดูกนิ้วมือที่คล้ายมนุษย์ปัจจุบันมากจึงน่าจะช่วยให้สามารถหยิบจับหรือใช้เครื่องมือได้ดี ซึ่งจากหลักฐานที่พบในบริเวณเดียวกับซากดึกดำบรรพ์โครงร่างกระดูก เช่น เครื่องมือหินและร่องรอยการอยู่อาศัย ทำให้สันนิษฐานได้ว่า H. habilis อาจเป็นพวกแรกที่รู้จักการประดิษฐ์ขวาน สิ่ว มีดจากหินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตก็เป็นได้

13 H. habilis เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักใช้เครื่องมืออย่างง่ายที่ทำมาจากหิน

14 ซากดึกดำบรรพ์กระดูกกะโหลกศีรษะของ H. habilis

15 Homo erectus เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่อพยพมาจากแอฟริกาไปยังเอเชียและยุโรป พบซากดึกดำบรรพ์โครงกระดูกมากในแถบเอเชียรวมทั้งหมู่เกาะอินโดนีเชีย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหมู่เกาะชวา และรู้จักกันในวงกว้างจะเรียกว่า มนุษย์ชวา (Java man) และที่พบในปักกิ่ง ซึ่งเป็น สปีชีส์เดียวกัน เรียกว่า มนุษย์ปักกิ่ง (Beijing man หรือ Peking man) H. erectus มีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีถึง 500,000 ปีที่ผ่านมา มีความจุสมองประมาณ 1,100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีความสูงประมาณ เมตร ผู้ชายมีขนาดใหญ่กว่าผู้หญิง เดินตัวตรงเหมือนมนุษย์มากขึ้น สามารถประดิษฐ์และใช้เครื่องมือที่เฉพาะงาน และเริ่มรู้จักใช้ไฟ คาดว่ามนุษย์กลุ่มนี้น่าจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีสังคม วัฒนธรรมและภาษาเกิดขึ้น

16 H. erectus เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักใช้ไฟ

17 ซากดึกดำบรรพ์กระดูกกะโหลกศีรษะของ H. erectus

18 H. habilis และ H. erectus มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน แต่มนุษย์ปัจจุบันนั้นมีวิวัฒนาการมาจาก H. erectus H. erectus ในแอฟริกาถือเป็นบรรพบุรุษของ Homo sapiens หรือมนุษย์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามพบว่ามีมนุษย์ลักษณะกึ่งกลางระหว่าง H. erectus และ H. sapiens เกิดขึ้นเมื่อ 200, ,000 ปีที่แล้วด้วยซึ่งก็คือ มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal man) มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลนั้นมีสมองขนาดใหญ่เท่ากับหรือมากกว่ามนุษย์ปัจจุบัน โครงร่างมีลักษณะเตี้ยล่ำแข็งแรง จมูกแบน รูจมูกกว้าง หน้าผากลาดแคบ มีสันคิ้วหนา คางแคบหดไปด้านหลัง มีการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ใช้ไฟและมีเครื่องนุ่งห่ม มีร่องรอยของอารยธรรมในกลุ่ม เช่น การบูชาเทพเจ้าและมีพิธีฝังศพ เป็นต้น นักมานุษยวิทยาได้จัดให้มุษย์นีแอนเดอร์ทัลอยู่ในสปีชีส์เดียวกันกับมนุษย์ปัจจุบัน (Homo sapiens sapiens) แต่แยกกันในระดับซับสปีชีส์ เป็น Homo sapiens neanderthalensis เชื่อว่าทั้ง H. s. sapiens และ H. s. neanderthalensis มีชีวิตอยู่ร่วมกันมาหลายพันปีและยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามนุษย์ทั้งสองกลุ่มมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน และเมื่อ H. s. sapiens สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า ในที่สุด H. s. neanderthalensis ก็สูญพันธุ์ไป

19 จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่ขุดพบอย่างมากแถบบริเวณตะวันตกของทวีปยุโรป ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกระจายตัวอยู่มากในบริเวณนี้ ในปัจจุบันจากการศึกษาทางชีววิทยาระดับโมเลกุล การสกัด DNA จากกระดูกมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นีแอนเดอร์ทัลบางส่วนอาจมีผมสีแดงและมีผิวซีด (ข้อมูลจาก

20 ภาพวาดลักษณะของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ปัจจุบัน (ซ้าย)
เปรียบเทียบกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (ขวา)

21 กำเนิดของมนุษย์ปัจจุบันนั้นมาจากไหน?
สมมติฐานแรก เชื่อว่ามนุษย์ปัจจุบันที่อยู่ในต่างทวีปนั้นมีวิวัฒนาการมาจาก H. erectus ที่แพร่กระจายจากแอฟริกาไปอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ยุโรป เอเชียและออสเตรเลีย เมื่อประมาณเกือบสองล้านปีที่ผ่านมา จากนั้นจึงวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ปัจจุบันที่อาศัยอยู่ตามแต่ละที่ทั่วโลก และการที่มนุษย์เชื้อชาติต่างๆไม่เกิดความแตกต่างกันในระดับสปีชีส์จนเกิดสปีชีส์ใหม่เพราะมนุษย์ในแต่ละที่ยังคงมีการผสมผสานทางเผ่าพันธุ์มาโดยตลอด สมมติฐานที่สอง เชื่อว่ามนุษย์ปัจจุบันที่อยู่ในต่างทวีปนั้นมีวิวัฒนาการมาจาก H. erectus ในแอฟริกา จากนั้น H. erectus ได้แพร่กระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆทั่วโลกแต่ในที่สุดก็สูญพันธุ์ไปจนหมด เหลือเพียงกลุ่ม H. erectus ในแอฟริกากลุ่มเดียวเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อ 100,000 ปีที่ผ่านมานี้เอง H. erectus ในแอฟริกา กลุ่มที่มีสายวิวัฒนาการต่อเนื่องมานี้จึงแพร่กระจายออกไปยังสถานที่ต่างๆโดยไม่มีการผสมผสานทางเผ่าพันธุ์กับมนุษย์โบราณที่อพยพมาก่อนหน้านั้น

22 ในปัจจุบัน จากผลการศึกษาความหลากหลายของ mitochondria DNA ในตัวอย่างคนพื้นเมืองจากภูมิภาคต่างๆ ทำให้พบข้อมูลเกี่ยวกับกำเนิดของมนุษย์ปัจจุบันโดยผลการศึกษาสนับสนุนแนวสมมติฐานที่ว่ามนุษย์ปัจจุบันนั้นถือกำเนิดขึ้นมาจากแอฟริกา และมีการแพร่กระจายออกสู่สถานที่ต่างๆเมื่อราวแสนปีที่ผ่านมานี่เอง

23 สมมติฐานของกำเนิดมนุษย์ในปัจจุบัน
สมมติฐานที่หนึ่ง สมมติฐานที่สอง สมมติฐานของกำเนิดมนุษย์ในปัจจุบัน

24 โดย. นางสาวปภัสรา เสียงเจริญ เลขที่ 12 ก
โดย นางสาวปภัสรา เสียงเจริญ เลขที่ 12 ก นางสาวดุษฎี แสงทอง เลขที่ 13 ก นางสาวนุสรา พิสิฐสุข เลขที่ 20 ก นางสาวอภิรดี เดชพิทักษ์ เลขที่ 21 ก นางสาวพรพิมล นฤภัย เลขที่ 11ข ชั้นมัธมศึกษาปีที่ 6/3


ดาวน์โหลด ppt วิวัฒนาการ วิวัฒนาการของมนุษย์....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google