ผลงานที่ได้รับรางวัล

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
Advertisements

เปรียบเทียบครุศาสตร์อุตสาหกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  
วงจรการประยุกต์ความรู้
บุคลากรของหน่วยบริการการศึกษา
การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของระบบบัณฑิตศึกษา 14 กุมภาพันธ์ 2550.
พบประธานกรรมการประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
“ โครงงานแบ่งปันความสุข ”
การปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา
กลุ่มปลาดาว.
พลังชีวิต พิชิตความทุกข์ คุณกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ
NAVY PILLOW 2012 (หมอนน้ำ ).
NAVY WATER BED 2012.
นโยบายการบริหารจัดการ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
รายงานประจำปี การประเมินคุณภาพ 2551 ปีการศึกษา/ปีงบประมาณ
QA patient safety ภาควิชาจักษุวิทยา.
Workshop process management
ชื่อ เด็กหญิง รัตนา ศรีรัตน์ ชั้นม.3/2 เลขที่4
มูลเหตจูงใจในการทำงาน เต็มใจสนับสนุนให้งานซึ่งเราศรัทธาประสบความสำเร็จ
พลเมืองดีตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย
“คุณธรรม” และ “จริยธรรม”
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3 พฤษภาคม 2554.
นายภมร ดรุณ นักศึกษาปริญญาเอก สารสนเทศศาสตร์ มสธ. รุ่นที่ 2
ความเห็นจากครูแพทย์ (เก่า) คนหนึ่ง
การประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 9/2551 วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2551 เวลา น. ณ ห้องประชุม 801 อาคารเรียนรวมราชนครินทร์
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นโยบายด้านการบริการวิชาการ
สถาบันวิชาชีพครู และองค์กรวิชาชีพครู
จริยธรรมองค์กร.
การนำนโยบายจรรยาบรรณ ลงสู่การปฏิบัติในระดับคณะ/หน่วยงาน
การประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย/คณะ
รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์....มสธ
ผลงานที่ไม่เคยเก็บตัวชี้วัด
กรณีตัวอย่าง.
แนวทางการเสริมพลังใจ บุคลากรสาธารณสุข
ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Company LOGO หลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา ที่เปิดรับสมัคร ปี การศึกษา 2551 คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชารังสีวิทยาช่องปากและใบหน้า.
เคล็ดลับในการฝึกงาน ให้ประสบความสำเร็จ!!!
กลุ่มที่ 5 : บุคคลที่มีการเรียนรู้ผิดปกติ
ผมมี..ภรรยา 4 คน.
KM ประจำเดือนตุลาคม 2550 สวัสดีค่ะ...พบกับข้อมูลข่าวสาร KM ของกองการเจ้าหน้าที่ ได้ที่นี่กันเป็นประจำ นะคะ ... และสำหรับการต้อนรับปีงบประมาณใหม่ ปี 2551.
แนวทางการดำเนินงานและการสนับสนุนส่วนภูมิภาค ประจำปี 2550 แนวทางการดำเนินงานและการสนับสนุนส่วนภูมิภาค กรมการแพทย์
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
รู้และเข้าใจเรื่องของชีวิต
เล่าสู่กันฟัง ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน
หน้าที่ ของผู้จัดและผู้ให้การศึกษานั้น กล่าว อย่างสั้นที่สุดก็คือการให้คนได้เรียนดี เพื่อที่จะ สามารถทำการงานสร้างตัวและดำรงตัวให้เป็นหลัก เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้
ทำดีไม่ขึ้น ทำให้มากขึ้น
บันทึกช่วยจำของ “เหลียงจี้จาง” (คุ้มค่าสำหรับการอ่านบทความนี้)
จรรยาบรรณ เรื่องส่งเสริมเสรีภาพในวิชาชีพ
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
เรารักในหลวง เรารักในหลวง.
โดย นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
การแก้ไขปัญหาในงานสหกิจศึกษา
แนวทางการบันทึก และตรวจประเมินคุณภาพ การบันทึกเวชระเบียน ผู้ป่วยนอก
นายวิเชียร มีสม 1 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งเสพติดให้โทษ เรื่อง สิ่งเสพติดให้โทษ.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหา
สมาชิก นายธนากร กุจิรพันธ์ ม. 4/6 เลขที่3 นายภูวพงษ์ ภุมราพันธุ์ ม
นโยบายกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554
คุณธรรมนักปกครอง กับค่านิยมหลักของคนไทย นายประดิษฐ์ ยมานันท์
ศัลยกรรมเสริม หน้าอก. สารบัญ  ลักษณะของถุงเต้านมเทียม  รูปทรงของถุงเต้านม  ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมหน้าอก  การดูแลหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก.
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียน ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด ดังนั้นในการจัดการ เรียนรู้และการดูแลช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนที่
Mission Statement ฉันจะอุทิศเวลา แรงกายและแรงใจ เพื่อทำ ให้ครอบครัวของฉันเข้มแข็งและเป็นสุข ซึ่งจะ เป็นแรงผลักดันให้ฉันทำหน้าที่ ของลูกผู้ชาย คนหนึ่งให้ดีให้ได้
ความเป็นครู.
แนวทางการจัดทำแผน ยุทธศาสตร์ การพัฒนาบุคลากร สถาบัน ธัญญารักษ์ และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ภูมิภาค 17 – 18 มกราคม 2549 ห้องประชุม 2 / 2 สถาบันธัญญารักษ์
โดย นางสาวพอใจ สาธุการ
อุดมการณ์ และจิตวิญญาณ ของความเป็นครู.
แผนการดำเนินงาน หน่วยงานการพยาบาลวิสัญญี
พุทธปรัชญา ความเป็นมา พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
หน้าที่ 1 วิสัยทัศน์ สถาบันอุดมศึกษาด้าน สุขภาพชั้นนำของอาเซียน ที่เน้นชุมชน แผนกลยุทธ์สถาบันพระบรมราชชนก ประจำปี 2553.
เศรษฐกิจพอเพียง.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ผลงานที่ได้รับรางวัล มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2551 ศาสตราจารย์นายแพทย์สุชาย สุนทราภา สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปี พ.ศ.2543 ได้รับรางวัลในฐานะ “แพทย์ที่บริการเป็นเลิศ ของโรงพยาบาล ศิริราช ประจำปี พ.ศ.2543” ได้รับคัดเลือกเป็น “อาจารย์แพทย์ดีเด่นทางคลินิก ของ สภาอาจารย์ศิริราช ประจำปี พ.ศ.2543” ปี พ.ศ.2544 ได้รับคัดเลือกเป็น “อาจารย์ตัวอย่าง ของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ.2544”

ปี พ.ศ.2545 ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ประจำปี พ.ศ.2545” ในโครงการคัดเลือกอาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณธรรม มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาคุณธรรมและ จริยธรรมของนิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ได้รับคัดเลือกเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติของ ปอมท. ประจำปี พ.ศ.2545 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ” อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีความรู้ ความสามารถ ในเชิงวิชาการ มีงานวิจัยที่ดีเด่น มีความสามารถในการถ่ายทอด ความรู้ มีจริยธรรม และอุทิศตนเพื่อส่วนรวมเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ

ปี พ.ศ.2550 ได้รับคัดเลือกเป็น “อาจารย์ดีเด่น ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล ประจำปีการศึกษา 2550” เงินทุนเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เป็นอาจารย์ผู้ตั้งใจสอน ค้นคว้าวิจัย หาวิธีสอน เพื่อประโยชน์และการเรียนรู้ของนักศึกษาและ กระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี อันจะสร้างเสริมเจตคติในวิชาชีพแก่ศิษย์ (เงินรางวัล 50,000 บาท ได้แบ่งเป็นเงินทุนสำหรับนักศึกษาแพทย์, นักเรียนพยาบาล, นักเรียนผู้ช่วยพยาบาล) ได้รับคัดเลือกเป็น “บุคลากรดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2550 ของคณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล” ในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางด้าน การแพทย์ของคณาจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือลูกจ้าง ที่สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปี พ.ศ.2551 ได้รับรางวัล “มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู ประจำปี การศึกษา 2551 ของมหาวิทยาลัยมหิดล” ( เงินรางวัล 200,000 บาท ได้จัดสรรเป็นเงินทุนสำหรับนักศึกษาแพทย์, นักเรียนพยาบาลนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล, สมทบทุน อ.โชติ พานิชกุล สำหรับแพทย์ประจำบ้านที่มีคะแนนการเขียนรายงานสูงสุด )

แนวคิดในวัยเด็ก “ตอนเด็กๆ นั่งรถเมล์ไปไหนก็เห็นคนเจ็บไข้ได้ป่วย ได้เห็น กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรือขอทานที่ไม่สบาย รวมทั้งได้เห็นญาติ ที่ป่วยแล้วขาดการดูแล ซึ่งเห็นแล้วสงสาร จึงมีความคิดว่าจะ เรียนแพทย์ เพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่เจ็บไข้ ได้ป่วย ให้หายจากโรคภัยที่เขาเป็นอยู่”

ตอนแรกที่จบมาก็อยากจะเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่ไหนก็ได้ ที่ขาดแคลนศัลยแพทย์ เพราะศัลยแพทย์สามารถทำได้ทุกอย่าง ทั้งการรักษาโรคพื้นฐาน การผ่าตัดรักษาโรคทางสูตินรีเวช รักษาโรคทางอายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ แต่เนื่องจาก อาจารย์ทองอวบ อุตรวิเชียร หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นในขณะนั้น ต้องการ ศัลยแพทย์ไปร่วมงาน จึงไปช่วยงานอยู่ที่นั่น 5 ปี

ตอนที่อยู่มหาวิทยาลัยขอนแก่นสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3, 4, 5 และ 6 แต่ละวันจะเริ่มงานตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าถึงห้าโมงเย็น ทั้งสอน ผ่าตัด บริการผู้ป่วยและทำวิจัย และต้องอยู่เวรด้วย ซึ่งตอนนั้นที่โรงพยาบาลของ มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังไม่มีแผนกฉุกเฉิน วันไหนอยู่เวร ต้องไปอยู่ที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งหมายถึงวันนั้นจะไม่ได้พักเลยทั้งคืน เพราะ โรงพยาบาลขอนแก่นเป็นโรงพยาบาลศูนย์ของภูมิภาค ผู้ป่วยจึงเยอะมาก ประกอบกับขอนแก่นเป็นชุมทางของรถที่จะผ่านไปจังหวัดเลย อุดรธานี นครราชสีมา หนองคาย อุบัติเหตุก็เยอะ ก็เลยต้องใช้บริการศัลยแพทย์กัน มากหน่อย หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้ 5 ปี ช่วงกลางปี พ.ศ.2525 ได้กลับมาเป็นอาจารย์ ประจำ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เนื่องจากบิดา ไม่สบาย

หลักการสอน มีข้อเตือนใจของท่านมหาตมะคานธี ซึ่งศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองอวบ อุตรวิเชียร ได้นำมาสอนนักศึกษา แพทย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่า.. 1. อย่าโม้ โอ้อวด ทะนงตน 2. เป็นคนถ่อมตน 3. อย่าเกียจคร้าน 4. อย่าประพฤติชั่ว 5. อย่าหน้าเลือด 6. อย่าใจดำ 7. อย่าลังเลใจหากจะทำความดี 8. อย่าไร้ความจริงใจ

ตลอดเวลาที่เป็นอาจารย์แพทย์ สิ่งที่ทำให้ประทับใจคือ ได้สอนนักศึกษาแพทย์ให้มีความรู้ และสอนคุณธรรม จริยธรรม โดยเน้นศีล 5 พรหมวิหาร 4 และได้สอดแทรกเรื่องของกตัญญู เข้าไปในงานสอนด้วย เพราะคิดว่าการเป็นคนต้องมีความกตัญญู เป็นหลัก หากกตัญญูสิ่งที่ดีงามต่างๆ ก็จะตามมา

การเป็นแพทย์ ทำให้ได้เห็นอริยสัจ 4 คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในโรงพยาบาลตลอดเวลา เห็นแล้วก็คิดว่านี่เป็นแหล่งสอน คุณธรรมและจริยธรรมที่ดีที่สุด เวลาตรวจคนไข้ก็จะยกตัวอย่าง จากคนไข้สอนลูกศิษย์ เช่น คนแก่มักจะมีลูกหลานพามาตรวจ ก็ สอนลูกศิษย์ว่าหากที่บ้านมีผู้ใหญ่หรือคนแก่มาตรวจที่ โรงพยาบาลก็ควรมาเป็นเพื่อน หรือคนไข้ที่มีถุงปัสสาวะก็ชี้ให้เขา ดูว่าอสุภะอยู่ที่ร่างกายเรา ฉี่ก็เหม็น อึก็เหม็น ตัวเราเหม็นทั้งนั้น ของทุกอย่างก่อนที่จะเข้าตัวเราก็หอม แต่พอออกจากตัวเราเหม็น ทุกอย่าง และชี้ให้เขาดูแผลของผู้ป่วยว่าน่าเกลียดไหม และสอน ให้เขาถือเป็นอสุภะกรรมฐานว่า “คนเราดูแล้วอาจจะสวย แต่ลึกๆ ลงไปแล้วก็ไม่มีอะไรสวย คือเป็นข้อเตือนสติว่าอย่าหลงแต่รูป”

หลักการรักษาคนไข้ “ดูแลเขาให้ดีที่สุด เหมือนญาติพี่น้องเรา จะจน รวย อย่าไป คิดถึง ให้รักษาโรคที่เขาเป็นก่อน” ในปัจจุบันมีหลายครั้งหากจะรักษาต้องทราบถึงค่ารักษาและ สิทธิต่างๆ ก่อน ซึ่งฟังดูแล้วก็รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ สำหรับตนเอง หากพบผู้ป่วยด้อยโอกาสก็อยากจะช่วย ก็เลยขอยาจากผู้ป่วยที่ ไม่ได้ใช้แล้ว ผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว ขอยาตัวอย่างหรือยาที่ใกล้ หมดอายุแต่ยังมีคุณภาพดีจากบริษัทยามาแจกจ่ายให้ผู้ป่วยที่ไม่มี ค่ารักษาพยาบาลด้วย

จากการปฏิบัติวิชาชีพอยู่ที่แผนกนี้มีโอกาสได้พบผู้ป่วย ระยะสุดท้ายบ่อย บางคนก็ทุรนทุราย บางคนไม่มีญาติพี่น้องมาดู บางคนทำใจไม่ได้ ไม่อยากตาย ซึ่งจากประสบการณ์ที่พบ รวมทั้งได้ปรึกษาพระและได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ และศึกษาจาก หนังสือหลายเล่ม ก็ได้นำมาเรียบเรียงเป็นหนังสือ “การดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย” เพื่อให้คนไข้และญาติไปอ่านว่าจะดูแลผู้ป่วยระยะ สุดท้ายอย่างไร ให้เขาตายดี โดยไม่ทุกข์ทรมานไม่เจ็บปวด ยอมรับความตาย ปล่อยวางและไม่มีห่วง

ผลงานวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น “สารสกัด Capsaicin จากพริกกระเหรี่ยง” นำมาใช้รักษาอาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และรับรู้ ไว เกิน และรักษาอาการปวดเรื้อรังในช่องเชิงกราน ซึ่งได้รับอนุสิทธิบัตรไป เมื่อปี พ.ศ.2549 จากการไปประชุมที่ American Urological Association ในปีพ.ศ. 2541 ในหัวข้อ ยาใหม่ที่ใช้รักษาคนไข้ที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน โดยนำพริกเม็กซิโกมาสกัด ก็เลยได้ความคิดว่าพริกที่ประเทศไทยเรามี หลากหลายชนิด ซึ่งพริกกระเหรี่ยงมีความเผ็ด (Capsaicin) มากที่สุด ก็ เลยนำพริกกระเหรี่ยงมาสกัด และใช้ในการรักษาคนไข้ที่กระเพาะปัสสาวะ บีบตัวไวเกินและรับรู้ไวเกิน และคนไข้ที่ปวดเรื้อรังใน ช่องเชิงกราน ซึ่งพบว่าได้ผลการรักษาดีการบริหารยา มีความปลอดภัย ผลแทรกซ้อนน้อยและยังมีราคาถูกกว่า ยาที่ใช้รักษาทั่วไป

ปัจจัยที่ทำให้ได้รับรางวัลต่างๆ เป็นไปตามพระราชปณิธาน ของสมเด็จพระราชบิดา คือ นึกถึงผู้ป่วยเป็นอันดับแรก ประโยชน์ ของเราอย่าไปนึกถึง ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ดูแลผู้ป่วยให้เหมือน ญาติของเรา ตั้งใจทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน อย่าไปตั้ง ความหวังอยากได้รางวัล เพียงแค่ทำให้ดีที่สุดแล้วสิ่งดีๆ ก็จะมาเอง ซึ่งรางวัลที่ได้มาก็เป็นการพิสูจน์ ให้ได้รู้ว่าหากเราทำดี ก็จะได้ ผลตอบแทนมาเอง และเก็บไว้สอนลูก สอนลูกศิษย์ว่าเราได้รางวัล มาเพราะอะไร

หลักในการทำงาน การยึดหลักของมหาวิทยาลัย และตามพระราชปณิธานของ พระราชบิดา ที่กล่าวไว้เป็นสิ่งสำคัญ อย่างแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย ก็มีโลโก้ของมหาวิทยาลัยที่ว่า“อัตตานัง อุปมังกาเร”หมายความว่า การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เวลาที่เราดูแลคนไข้หรือจะทำอะไรก็ตาม ก็ยึดหลักนี้ไว้ตลอด คือเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งโลโก้นี้มีไว้ทุกแห่ง และต่อไปพอเข้าห้องเรียน ก็มีปณิธานของพระราชบิดาคือว่า ขอให้ ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สองประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจ ที่หนึ่ง ลาภทรัพย์เกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะ แห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์ อันนี้ก็จำขึ้นใจไว้ตลอดเวลา คือเราดูคนไข้ เป็นอันดับหนึ่งก่อน ผลประโยชน์ อย่าไปคิด ให้เขาหายจากโรค ซึ่งเวลาที่สอนนักศึกษาก็สอนตามนี้

“I do not want you to be only a doctor, พระราชปณิธาน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาแห่งวงการแพทย์ไทย “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมมะแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์” “อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่อดตาย ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์ อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่นในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ ” “เมื่อใจของเราบริสุทธิ์แล้ว ธรรมะแห่งอาชีพของเราก็ย่อมบริสุทธิ์เช่นกัน” “I do not want you to be only a doctor, But I also want you to be a man” “ แพทย์มีหน้าที่อันเกี่ยวข้องต้องช่วยเหลือคนที่อ่อนกำลังกาย กำลังสติปัญญา หรือต้องเป็นเพื่อนยากกับคนที่อับจนกันดารได้ความทุกข์ร้อน เหตุฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องเป็นคนใจดีประกอบด้วย คุณธรรม 4 ประการ สำหรับเป็นเครื่องประเล้าประโลมใจ ให้คนที่อยู่ในความทุกข์ยากได้บรรเทาชื่นบาน คือ เมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ ”