วรรณวิจิตร ไพเราะในร้อยกรอง
วรรณวิจิตร ร้อยกรองไพเราะโดย จังหวะการแบ่งคำในแต่ละวรรค การใช้สัมผัสใน เล่นสัมผัสสระ สัมผัสอักษร หลีกเลี่ยงสัมผัสต้องห้าม เสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค การเลือกใช้ถ้อยคำ เล่นคำ สำนวนโวหาร
จังหวะการแบ่งคำในวรรค ใน “วรรค” มี “ตอน” กาพย์ยานี ๒/๓ ๓/๓ กลอนแปด ๓/๒/๓
โลกนี้/และโลกหน้า ปรารถนา/อย่าพบเห็น อย่าอยู่/และอย่าเป็น อย่างของเล่น/ของใครใคร พบหมาย/ทั้งชายหญิง อย่ากลอกกลิ้ง/ให้จริงใจ แค้นเข็ญ/หรือเช่นไร ไม่มุ่งร้าย/ทำลายกัน
ชีวิตไม่/ได้ราบ/กุหลาบโรย ต้องโอดโอย/ปวดช้ำ/จากหนามไหน่ แต่เท้าที่/ย่างก้าว/ได้ยาวไกล คือเท้าที่/กล้าให้/หนามไหน่แทง
“สัมผัสใน” คือ สัมผัสระหว่าง “ตอน” ในวรรค
กาพย์ยานี วรรคหน้า คำที่ ๑ ๒ / ๓ ๔ ๕ สัมผัสสระ คำที่ ๒ กับ ๓ หรือ ๔ สัมผัสสระ คำที่ ๒ กับ ๓ หรือ ๔ สัมผัสอักษร คำที่ ๒ กับ ๓ หรือ ๔ หรือ ๕ วรรคหลัง คำที่ ๑ ๒ ๓ / ๔ ๕ ๖ สัมผัสสระ คำที่ ๓ กับ ๔ หรือ ๕ สัมผัสอักษร คำที่ ๓ กับ ๔ หรือ ๕ หรือ ๖
โลกนี้/และโลกหน้า ปรารถนา/อย่าพบเห็น อย่าอยู่/และอย่าเป็น อย่างของเล่น/ของใครใคร พบหมาย/ทั้งชายหญิง อย่ากลอกกลิ้ง/ให้จริงใจ แค้นเข็ญ/หรือเช่นไร ไม่มุ่งร้าย/ทำลายกัน
กลอนแปด ๘ คำ ๑ ๒ ๓ / ๔ ๕ / ๖ ๗ ๘ สัมผัสสระ คำที่ ๓ กับ ๔ ห้าม ๕ คำที่ ๕ กับ ๖ หรือ ๗ ห้าม ๘ สัมผัสอักษร คำที่ ๓ กับ ๔ หรือ ๕ คำที่ ๕ กับ ๖ หรือ ๗ หรือ ๘
เมื่อสังคม / บ่มเพาะ / ด้วยภัยพิษ จึงชีวิต / อันตราย / อยู่รอบด้าน เป็นวิถี / โสมม / จมภัยพาล ทุกทางผ่าน / จึงอยู่เยี่ยง / คนเสี่ยงภัย